ความรู้บัญชี

สรุปครบ CPD บัญชี คืออะไร? ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีต้องเก็บชั่วโมงแตกต่างกันไหม?

CPD บัญชี คืออะไร? ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ต่างกันไหม

ใครที่เป็นผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี (CPA) ชีวิตต้องวนเวียนอยู่กับคำว่า “CPD” อยู่เสมอค่ะ ทุกสิ้นปีพวกเราต้องคอยเช็คว่าชั่วโมง CPD ครบหรือไม่ แต่ทว่าทั้งผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีนั้นมีเงื่อนไขกับเก็บชั่วโมงพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง (CPD) ที่แตกต่างกันนะคะ ถ้าจำสับสนอาจทำให้เรางานเข้ามีปัญหาต้องมาแก้ไขในภายหลังได้ แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ ในวันนี้ CPD Academy สรุปมาให้ทั้งผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีครบจบในบทความนี้แล้วจ้า ถ้าพร้อมแล้วไปเช็คกันเลย CPD บัญชี คืออะไร? ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีต้องเก็บชั่วโมงต่างกันไหม?

1. เก็บชั่วโมง CPD บัญชี คืออะไร ?

“CPD” ย่อมาจากคำว่า “Continuing Professional Development” หมายถึง การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องสำหรับวิชาชีพบัญชี

ในประเทศไทยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 2 ประเภท คือ ผู้ทำบัญชี และ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) จะต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องตามที่กฎหมายกำหนดเป็นประจำทุกปีค่ะ

แต่ขอขยายความตรงนี้นิดนึง ว่าการเก็บชั่วโมง CPD นั้นบังคับสำหรับ

  • ผู้ทำบัญชี ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีเรียบร้อยแล้ว และมีหน้าที่เซนต์รับรองการจัดทำบัญชีของกิจการ
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ที่ขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพเรียบร้อยแล้ว

ฉะนั้น ถ้าเป็นนักบัญชีผู้ช่วยในสำนักงาน หรือว่าในบริษัท แต่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีก็อาจจะไม่ต้องเก็บชั่วโมง CPD เพื่อพัฒนาความรู้ต่อเนื่องก็ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้บังคับ หรือถ้าเป็นผู้ช่วยผู้สอบบัญชียังไม่ได้เป็น CPA เต็มตัวก็ยังไม่จำเป็นต้องเก็บชั่วโมง CPD เช่นกันค่ะ เว้นเสียแต่ว่าถ้าอยากหาความรู้เพิ่มเติมก็สามารถเข้าอบรมได้ ไม่มีข้อห้ามใดๆ ค่ะ

2. นักบัญชีกับผู้สอบบัญชีเก็บ CPD ต่างกันยังไงบ้าง?

แม้ว่านักบัญชีกับผู้สอบบัญชีนั้นเป็นผู้ร่วมชะตากรรมในการเก็บชั่วโมงพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง CPD ตามกฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ว่าการเก็บชั่วโมง CPD ของทั้ง 2 คนนั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างชัดเจนค่ะ 6 ข้อแตกต่างเรื่อง CPD ของ “นักบัญชี” และ “ผู้สอบบัญชี” มีอะไรบ้าง เราสรุปมาให้ในนี้แล้ว

2.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการเก็บชั่วโมง CPD ผู้ทำบัญชีและเก็บชั่วโมงผู้สอบบัญชีนั้นแตกต่างกันแบบนี้

ผู้ทำบัญชีผู้สอบบัญชี
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กําหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทําบัญชี พ.ศ. 2557
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการเข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมประชุมสัมมนาของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2559 
– ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการเข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมประชุมสัมมนาของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563
– ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการเข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมประชุมสัมมนาของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565

เราจะเห็นว่าสำหรับผู้ทำบัญชี หน่วยงานที่ออกกฎหมายและควบคุมดูแลนั้นเป็นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ส่วนผู้สอบบัญชีจะมีสภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้ออกกฎและควบคุมดูแลค่ะ

2.2 จำนวนชั่วโมง CPD

ถัดมาในเรื่องของจำนวนชั่วโมง CPD ที่ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีต้องเก็บในแต่ละปีก็มีความแตกต่างกันด้วย

ผู้ทำบัญชีผู้สอบบัญชี
12 ชั่วโมงต่อปี
เนื้อหาบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
40 ชั่วโมงต่อปี แบ่งเป็น
1. ชั่วโมง CPD เป็นทางการ อย่างน้อย 20 ชั่วโมง
แบ่งเป็นวิชาบัญชีหรือการสอบบัญชีไม่น้อยกว่า 10 ชม. จรรยาบรรณไม่น้อยกว่า 1 ชม. และอื่นๆ ในส่วนที่เหลือ
2. ชั่วโมง CPD ไม่เป็นทางการ 20 ชั่วโมง

จากตารางนี้เราจะพบว่าความเข้มข้นของการเก็บชั่วโมง CPD ของผู้สอบบัญชีจะมีมากกว่าผู้ทำบัญชีเยอะเลย ทั้งในแง่ของจำนวนชั่วโมงและเนื้อหา แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือ การเก็บชั่วโมง CPD ต้องมีวิชาบัญชีอย่างน้อยครึ่งนึงของความรู้ทั้งหมด

และถ้าใครเป็นผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี ควบ 2 ตำแหน่งในเวลาเดียวกัน เราสามารถใช้ชั่วโมงอบรม CPD ร่วมกันได้ เช่น

นาย A เป็นผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี ในแต่ละปีเค้าต้องอบรม CPD สูงสุด 40 ชั่วโมง ไม่ใช่ 40+12 = 52 ชั่วโมงนะคะ

สำหรับนักบัญชีและผู้สอบบัญชีที่เพิ่งขึ้นทะเบียนในปีแรก เช็คว่าต้องอบรมไหม จำนวนเท่าใด จากภาพนี้ได้เลย

2.3 เนื้อหาการอบรม

ในส่วนเนื้อหาการอบรมของผู้ทำบัญชีจะง่ายๆ simple ไม่ต้องคิดเยอะเพราะทุกหลักสูตร CPD ต้องผ่านการอนุมัติจากสภาวิชาชีพบัญชีแล้วเท่านั้น แต่สำหรับผู้สอบบัญชีจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนซึ่งซับซ้อนกว่าค่ะ

ผู้ทำบัญชีผู้สอบบัญชี
หลักสูตรที่ผ่านการอนุมัติจากสภาวิชาชีพบัญชีเท่านั้น1. ชั่วโมง CPD เป็นทางการ
เป็นหลักสูตรที่ผ่านการอนุมัติจากสภาวิชาชีพบัญชี
ต้องมีวิชาจรรยาบรรณอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
2. ชั่วโมง CPD ไม่เป็นทางการ
เป็นหลักสูตรหรือกิจกรรมใดที่เกี่ยวกับวิชาชีพ ไม่จำเป็นต้องให้สภาอนุมัติก่อนจึงจะอบรมได้

ผู้สอบบัญชีจะมีการเก็บชั่วโมงที่เรียกว่าชั่วโมง CPD ไม่เป็นทางการเพิ่มขึ้นมาค่ะ ถ้าใครสงสัยว่าเก็บอย่างไรอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ชั่วโมง CPD ไม่เป็นทางการผู้สอบบัญชีคืออะไร? เก็บยังไง? ต่างจากชั่วโมงเป็นทางการไหม?

จริงๆ แล้วถ้าผู้สอบบัญชีอยากจะพัฒนาความรู้โดยเข้าอบรมในหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชีทั้งหมด (ที่เป็นทางการ) ก็ได้เช่นกันนะ

2.4 การแจ้งชั่วโมงอบรม

การแจ้งชั่วโมงอบรมอันนี้แนะนำว่าทุกคนควรทำความเข้าใจดีๆ เลยค่ะ เพราะถึงแม้ว่าระยะเวลาในการอบรมเก็บชั่วโมงต้องทำภายในปีปฏิทินนั้นๆ เหมือนกันแต่ว่าการแจ้งชั่วโมงอบรม Deadline นั้นแตกต่างกัน

ผู้ทำบัญชีผู้สอบบัญชี
ภายใน 30 วันของปีถัดไป (30 มกราคม ของปีถัดไป)
แจ้งผ่านเว็บไซด์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือสภาวิชาชีพบัญชีก็ได้
ภายในวันทำการสุดท้ายของปี
แจ้งผ่านเว็บไซด์สภาวิชาชีพบัญชีก็ได้

วิธีการแจ้งชั่วโมงอบรมของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีขั้นตอนคล้ายๆ กัน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ : สรุปวิธีแจ้งชั่วโมงผู้ทำบัญชี CPD ต้องทำเมื่อไร และทำยังไงบ้าง

2.5 บทลงโทษถ้ายื่นชั่วโมงไม่ครบ

ถ้ายื่นชั่วโมง CPD ไม่ครบ หรือไม่อบรม CPD ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีจะมีผลกระทบอะไรบ้าง เราเปรียบเทียบไว้ให้ในนี้

ผู้ทำบัญชีผู้สอบบัญชี
อาจถูกปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทอาจมีคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตและอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้สอบบัญชีปฏิบัติเพิ่มเติม

กรณีผู้ทำบัญชีเราอาจได้รับจดหมายเพื่อให้ไปจ่ายค่าปรับ แต่สำหรับผู้สอบบัญชีไม่มีค่าปรับแต่การพักคำสั่งใช้ใบอนุญาตอาจทำให้เราขาดรายได้นะคะ แต่แม้ว่าจะยื่นชั่วโมงไม่ครบเราก็ยังมีวิธีแก้ไขความผิดพลาดนี้ ลองดูข้อถัดไปเลย

2.6 วิธีแก้ไขปัญหาถ้ายื่นชั่วโมงไม่ครบ

วิธีการแก้ปัญหาสำหรับผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี ถ้ารู้ตัวว่ายื่นชั่วโมงไม่ครบให้ทำตามขั้นตอนนี้

ผู้ทำบัญชีผู้สอบบัญชี
รีบอบรมให้ครบ และ
ยื่นชั่วโมงชดเชยในส่วนที่ขาดไป
รีบอบรมให้ครบ และ
ยื่นหนังสือชี้แจงเหตุพฤติการณ์ที่จำเป็น

สำหรับรายละเอียดแบบเจาะลึกสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

3. ข้อดีของการเก็บชั่วโมง CPD

ข้อดีของการเก็บชั่วโมง CPD บัญชี คืออะไร? จริงๆ แล้วการเก็บชั่วโมง CPD นั้นมีข้อดีหลายอย่าง เช่น

สำหรับนักบัญชี

  • นักบัญชีใช้หนังสือรับรอง CPD ในการสมัครงานตำแหน่งใหม่ๆ ที่ยังไม่มีประสบการณ์
  • ช่วยพัฒนาความรู้ด้านการทำบัญชีในสายงานที่เกี่ยวข้อง
  • อัปเดตความรู้ใหม่ๆ ในแวดวงบัญชี-ภาษี
  • อัปเกรดเงินเดือนกรณีที่สามารถปิดบัญชีด้วยตัวเองได้

สำหรับผู้สอบบัญชี

  • อัปเดตความรู้เกี่ยวกับบัญชีธุรกิจที่ตรวจสอบ
  • อัปเดตวิธีการตรวจสอบบัญชี ภาษีใหม่ๆ
  • อัปเดตมาตรฐานบัญชีที่ใช้ในปัจจุบัน

ทั้งหมดที่เล่ามาถ้าใครกลัวจะพลาดจำไม่ได้ ทำไม่ถูก ให้ทุกคน Save รูปนี้เก็บไว้เตือนตัวเองได้เลยจ้า

สรุปข้อแตกต่าง CPD บัญชี ผู้สอบบัญชี ผู้ทำบัญชี
สรุปข้อแตกต่าง CPD บัญชี ผู้สอบบัญชี ผู้ทำบัญชี

โดยสรุปแล้ว CPD บัญชี คือ การเก็บชั่วโมงพัฒนาความรู้ต่อเนื่องที่ทั้งนักบัญชีและผู้สอบบัญชีละเลยไม่ได้โดยเด็ดขาด ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทั้ง 2 ต้องทำความเข้าใจให้แม่นๆ และทำตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างครบถ้วน เพื่อให้เราประกอบอาชีพนี้ได้ตราบนานเท่านานค่ะ ที่สำคัญการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอไม่เคยทำร้ายใคร ถ้าอยากเก่งก็ยิ่งต้องพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ นะคะ

ไม่อยากพลาดบทความดีๆ ด้านบัญชี-ภาษี และโปรโมชั่นพิเศษ กดสมัครรับข่าวสารที่นี่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า