ความรู้บัญชี

CPD ผู้สอบบัญชี เก็บไม่ครบ ยื่นไม่ทัน แก้ไขอย่างไร?

ผู้สอบบัญชี เก็บ CPD ไม่ทันแก้ไขอย่างไร

อาชีพผู้สอบบัญชีเป็นอาชีพนึงที่ยุ่งสุดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายปี ไหนจะต้องนัดลูกค้า เตรียมส่งหนังสือยืนยันยอด ก็ยังจะต้องเจียดเวลาไปตรวจนับสต๊อกสินค้าปลายปีอีก จนทำให้ผู้สอบบัญชีหลายท่านลืมยื่นชั่วโมง CPD ไป หรือบางท่านก็อาจจะไม่ได้อบรมเก็บชั่วโมง CPD ประจำปีเลย ถ้าเราเก็บ CPD ผู้สอบบัญชีไม่ครบ ไม่ทัน ชีวิตจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง เราจะแก้ไขอย่างไร ถ้าใครกำลังเจอปัญหาแบบนี้อยู่อย่าเพิ่งกังวลใจไปค่ะ เดี๋ยว CPD Academy จะช่วยทุกท่านแก้ไขปัญหานี้เองค่ะ

CPD ผู้สอบบัญชีต้องยื่นปีละกี่ชั่วโมง?

ผู้สอบบัญชีต้องเก็บชั่วโมง CPD 40 ชั่วโมงต่อปี โดยแบ่งเป็น

  1. ชั่วโมง CPD ที่เป็นทางการ อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อปี แบ่งเป็นวิชาบัญชีหรือการสอบบัญชีไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง และเนื้อหาเกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง รวมทั้งเนื้อหาด้านอื่นตามประกาศของสภาวิชาชีพบัญชี
  2. ชั่วโมง CPD ที่ไม่เป็นทางการ อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อปี ทั้งนี้ ให้นับชั่วโมงส่วนที่เกินจาก 1. เป็นชั่วโมงตามข้อนี้ได้ด้วย

ถ้าอ่านแล้วยังงงๆ อยู่ แนะนำ Save ภาพสรุปนี้เก็บไว้เช็คตัวเองได้ค่ะ

เก็บชั่วโมงผู้สอบบัญชี CPD ล่าสุด
เก็บชั่วโมงผู้สอบบัญชี CPD ล่าสุด

ชั่วโมง CPD ที่ผู้สอบบัญชีอบรมพัฒนาความรู้ทั้งหมดภายในปี จะต้องยื่นชั่วโมงให้กับสภาวิชาชีพบัญชีภายในวันทำการสุดท้ายของปีปฏิทินนั้นๆ

ยกตัวอย่างเช่น วันที่ 29 ธันวาคม 2565 เป็นวันทำการสุดท้ายของปี 2565 (30 ธันวาคม 2565 เป็นวันหยุดราชการพิเศษ) ผู้สอบบัญชีก็ควรจะอบรม CPD ให้ครบแล้วแจ้งชั่วโมง CPD ให้ครบถ้วนภายในช่วงเวลานั้นค่ะ

บทลงโทษ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ถ้ายื่นชั่วโมงไม่ครบ

ด้วยความที่วัน Deadline ของการยื่นชั่วโมง CPD เป็นวันทำการสุดท้ายของปีพอดี ซึ่งผู้สอบบัญชีหลายท่านอาจจะเกิดเหตุฉุกเฉินอบรมไม่ทัน ยื่นชั่วโมงไม่ทัน ทุกคนเลยกลัวใช่ไหมคะว่าจะมีบทลงโทษอะไรบ้าง

การยื่นชั่วโมงไม่ครบไม่มีค่าปรับ แต่สภาวิชาชีพบัญชีอาจมีคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตและอาจกําหนดเงื่อนไขให้ผู้สอบบัญชีปฏิบัติเพิ่มเติม

ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการเข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมประชุมสัมมนา
ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2559 ข้อ 22

โดยสรุปแล้วบทลงโทษที่ผู้สอบบัญชีจะได้รับมี 2 เรื่อง

  1. สั่งพักใช้ใบอนุญาต หมายถึง ผู้สอบบัญชีไม่สามารถเซนต์รับรองงบการเงินได้จนกว่าจะแก้ไขปัญหานี้ให้เรียบร้อย
  2. ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด

จริงๆ แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างหน้ากังวลสำหรับผู้สอบบัญชีที่รับรองงบการเงินไปในระหว่างที่ยังไม่ได้อบรมเก็บชั่วโมง CPD ไม่ครบถ้วน ฉะนั้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องนี้ต้องระมัดระวังและรีบแก้ไขโดยเร่งด่วนเลยค่ะ

วิธีการแก้ไขถ้าเก็บ CPD ไม่ครบ

ดูขั้นตอนในคลิปนี้ได้เลย

กรณีผู้สอบบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ไม่ครบ วิธีการแก้ไขมี 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

1.รีบอบรมชดเชยในปีถัดไปให้ครบถ้วน

เมื่อเรารู้ตัวว่าอบรมไม่ครบ ให้เช็คจำนวนชั่วโมงที่ขาดไป แล้วรีบอบรมให้ครบถ้วนอย่างเร็วที่สุด จากนั้นแจ้งชั่วโมง CPD แก่สภาวิชาชีพบัญชีให้เรียบร้อย

ข้อสังเกตอีกนิดนึงสำหรับการแจ้งชั่วโมงชดเชย หากเป็นการอบรมชดเชยในปีถัดไป การแจ้งชั่วโมงในระบบสภาวิชาชีพบัญชีก็จะต้องแจ้งในปีถัดไป

เช่น ถ้าอบรมในปี 2565 ไม่ครบถ้วน ปี 2566 เราอบรมชดเชยแล้ว ก็จะต้องแจ้งชั่วโมงในปี 2566 ตามที่หน้าหนังสือรับรองระบุ

2.ยื่นหนังสือชี้แจงเหตุพฤติการณ์ที่จำเป็น

นอกจากจะต้องอบรมให้ครบโดยเร็วที่สุดแล้ว ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีกำหนดไว้ว่าผู้สอบบัญชีต้องยื่นหนังสือชี้แจ้งเหตุพฤติการณ์จำเป็นแก่สภาวิชาชีพบัญชีภายในหนึ่งเดือนนับจากวันที่พฤติการณ์จำเป็นนั้นได้สิ้นสุดลง

กดดาวน์โหลดเอกสารและดูตัวอย่างประกอบตามนี้

ตัวอย่างหนังสือแจ้งพฤติการณ์ที่จำเป็น
ตัวอย่างหนังสือแจ้งพฤติการณ์ที่จำเป็น
  • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้สอบบัญชีและรับรองสำเนาถูกต้อง
หนังสือมอบอำนาจ-สภาวิชาชีพบัญชี
หนังสือมอบอำนาจ-สภาวิชาชีพบัญชี
หนังสือยินยอมให้เปิดเผยข้อมูล
หนังสือยินยอมให้เปิดเผยข้อมูล

เมื่อเตรียมเอกสารทุกอย่างครบถ้วนแล้ว ให้นำส่งแก่สภาวิชาชีพได้เลยจ้า

สรุปวิธีการแก้ไขทั้งหมด

สรุปวิธีการแก้ไข CPD ผู้สอบบัญชียื่นไม่ครบ
สรุปวิธีการแก้ไข CPD ผู้สอบบัญชียื่นไม่ครบ

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการแก้ไขกรณีที่ผู้สอบบัญชีพลาดยื่นชั่วโมงอบรมไม่ครบถ้วน หรือไม่ได้อบรม CPD ให้เรียบร้อยในระหว่างปี แม้ไม่มีค่าปรับแต่ว่าต้องชี้แจงเพิ่มเติม และมีเอกสารเยอะเลยค่ะ ทางที่ดีแนะนำผู้สอบบัญชีให้รักษาสถานะตัวเองไว้ในแต่ละปีให้ครบถ้วนว ทั้งเรื่องของการจ่ายค่าธรรมเนียมและอบรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง CPD นะคะ จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาในการแก้ปัญหาในภายหลังค่ะ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า