ภาษี

วิธียื่นแบบ ภงด.51 ออนไลน์ในระบบสรรพากร

วิธียื่นแบบ ภงด.51 ออนไลน์ในระบบสรรพากร

เพื่อนๆบางท่านที่ยังไม่เคยยื่นแบบ ภงด.51 ออนไลน์หรือกิจการที่เพิ่งจะเริ่มต้นธุรกิจ อาจจะยังไม่เคยนำส่งแบบภาษี ภงด.51 หรือเพื่อนๆที่อยากจะเปลี่ยนจากยื่นแบบกระดาษมายื่นทางออนไลน์เพื่อความสะดวกและรวดเร็วขึ้น มาดูวิธียื่นแบบภงด.51 ออนไลน์ในระบบสรรพากรกันค่ะ

1. แบบ ภงด.51 คืออะไร

แบบภ.ง.ด.51 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
การคำนวณฐานภาษี มีให้เลือก 3 กรณี

  1. เสียภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ โดยคำนวณและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิซึ่งได้จากกิจการ
  2. เสียภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนแรก โดยคำนวณและชำระภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
  3. เสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย
ภงด51 คืออะไร
ภงด51 คืออะไร

เพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดแบบได้ตามลิงค์นี้ค่ะ แบบ ภงด.51

2. ต้องยื่นแบบ ภงด.51 เมื่อไหร่

การกำหนดเวลายื่นแบบ ให้ยื่นแบบภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

กำหนดการของปี 2565 เป็นไปตามวันที่ ดังนี้

  • ยื่นแบบกระดาษ ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2565
  • ยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 8 กันยายน 2565

เพื่อนๆสามารถดู ปฏิทินภาษีอากร เพื่อเป็นตัวช่วยไม่ได้เลยเดดไลน์ได้นะคะ

ต้องยื่น ภงด 51 ยื่นภายในเมื่อไร
ต้องยื่น ภงด 51 ยื่นภายในเมื่อไร

3. สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนยื่นแบบ

3.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องมีการสอบทานงบการเงิน ระยะเวลา 6 เดือน

  • บริษัทจำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารพาณิชย์
  • บริษัทเงินทุน
  • บริษัทหลักทรัพย์
  • บริษัทเครดิตฟองซิเออร์

จะต้องใช้วิธีคำนวณภาษีวิธีกำไรสุทธิจริงในครึ่งปีแรก
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องมีการสอบทานงบการเงิน ระยะเวลา 6 ดือน

กรณีคำนวณและชำระภาษีจากกำไรสุทธิเสียภาษีจากกำไรสุทธิจริงในครึ่งปีแรก  ต้องใส่ชื่อผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีด้วย

3.2 กลุ่มที่ 2 ใช้การคำนวณวิธีการประมาณการกําไรสุทธิ

  • บริษัทจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ประมาณการโดยการนำผลผลประกอบการจริง 6 เดือนแรก บวกกับประมาณการที่จะเกิดขึ้นอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยพิจารณาจาก

  • ด้านรายได้ จะเป็นบัญชีรายได้ รายได้อื่น
  • ด้านรายจ่าย จะเป็นบัญชีต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และต้องพิจารณาเรื่องรายจ่ายต้องห้าม เช่นเดียวเหมือนตอนที่จะยื่น ภงด.50 เลยค่ะ

4. สอนยื่นแบบในระบบสรรพากร

ปัจจุบันการยื่นแบบนั้นพัฒนาระบบไปเยอะมากค่ะ การยื่นแบบต่างๆก็แสนง่ายดาย กรมสรรพากรได้สร้างการยื่นแบบออนไลน์ E-FILING อีไฟล์ลิ่ง ยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์
เพื่อนๆสามารถคลิกตามได้ดังนี้เลยค่ะ

  • เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ของ กรมสรรพากร
  • คลิกยื่นแบบทุกประเภท
  • เข้าสู่ระบบ ของสรรพากร
  • ทำการ Log in ด้วย Username และ Password ของบริษัท
  • เมื่อ Log in เข้าได้แล้ว ให้เลือกยื่นแบบ ภงด.51 คลิก ยื่นแบบ
ช่องทางการยื่นแบบออนไลน์
ช่องทางการยื่นแบบออนไลน์

4.1 ขั้นตอนการกรอกแบบยื่น ภงด.51

  • เลือกรอบระยะเวลาบัญชี ให้เป็นรอบระยะบัญชีปัจจุบัน
  • เลือกวิธีการคำนวณ รูปแบบธุรกิจต้องเลือกการคำนวณแบบไหน

ถ้าหากเพื่อนๆยังไม่ทราบว่ากิจการของตนเอง ต้องใช้วิธีการคำนวณวิธีไหหนสามารดูเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ค่ะ วิธีคำนวณภาษีครึ่งปีนิติบุคคล ภงด.51 บริษัทต้องใช้วิธีไหน

ช่องทางยื่นภาษีออนไลน์
ช่องทางยื่นภาษีออนไลน์
  • เลือกลักษณะการยื่นแบบ
  • เลือกลำดับการยื่นแบบ
  • ใส่ข้อมูลผู้ทำบัญชี
ช่องทางยื่นภาษีออนไลน์
ช่องทางยื่นภาษีออนไลน์
  • กรอกตัวเลขที่คำนวณได้

ยกตัวอย่างการคำนวณภาษีครึ่งปี วิธีการประมาณการกำไรสุทธิ

  • รายรับหรือยอดขายก่อนหักค่าใช้จ่าย 6 เดือนแรก  จำนวน 500,000 บาท
  • รายรับหรือยอดขายก่อนหักค่าใช้จ่าย ประมาณการ  จำนวน 600,000 บาท
  • รายจ่าย 6 เดือนแรก จำนวน 100,000 บาท
  • รายจ่าย ประมาณการ จำนวน 150,000 บาท
  • ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบบัญชี จำนวน 50,000 บาท
  • ประมาณการกำไรสุทธิที่ได้รับยกเว้นตามกฏหมาย จำนวน 700,000 บาท
ช่องทางการยื่นภาษีออนไลน์
ช่องทางการยื่นภาษีออนไลน์

คำนวณได้ตามภาพดังนี้

ตัวอย่างการคำนวณภาษี
ตัวอย่างการคำนวณภาษี

และต่อไปเราจะนำตัวเลขไปกรอกในแบบยื่นกัน ส่วนนี้จะเป็นส่วนของ รายการที่ 1

ตัวอย่างการกรอกแบบ
ตัวอย่างการกรอกแบบ

ต่อไปเป็นรายการที่ 2

เลือกอัตราภาษีตามประเภทของกิจการ

  • นำตัวเลขจำนวนเงินที่ต้งเสียภาษีที่คำนวณได้จากรายการที่ 1 มาใส่
  • ระบบจะคำนวณภาษีที่ต้องชำระ ตรวจสอบว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่
ตัวอย่างการกรอกแบบ ภาษีที่ต้องชำระ
ตัวอย่างการกรอกแบบ ภาษีที่ต้องชำระ

5. ข้อควรระมัดระวังตอนยื่นแบบ

การประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิประจำปีนั้น หากเป็นเหตุอันสมควรตามที่กฎหมายกำหนดเราก็ไม่ต้องกังวลนะคะ ผ่านฉลุยจ้า และเหตุอันสมควรที่กฎหมายกำหนดนั้นมีอะไรกันบ้างเราลองมาดูกันค่ะ

ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.152/2558ฯ “ข้อ 1 กรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือวาเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร

(1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีครึ่งปี ไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว

(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำหรือ จะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว แต่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปี ไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วเนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี”

พอเป็นภาษากฏหมายก็ยิ่งงกันเข้าไปใหญ่เลยค่ะ สรุปง่ายๆคือ ใครที่กำลังจะกดยื่น ภงด.51 ลองมาเช็คสมการด้านล่างสองสมการกันเลย

สมการแรก เพื่อนๆลองเช็คดูค่ะว่าคำนวณภาษีเป็นไปตามสมการข้อนี้หรือไม่

  • ภาษีครึ่งปีปีปัจจุบัน (ภงด.51 ปีนี้) > กึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลปีก่อน (ภงด.50 ปีก่อน)

ถ้าภาษีครึ่งปีที่คำนวณไว้เป็นไปตามสมการข้างต้นแล้วก็สบายใจได้เลยค่ะ หมายความว่า เพื่อนๆไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดใดแล้วค่ะ แต่ถ้าไม่ผ่านสมการแรกก็อย่าเพิ่งเสียใจไปนะคะ ลองมาดูสมการที่สองต่อค่ะ

สมการสอง หากคุณไม่ผ่านสำหรับสมการแรกแล้ว สองเช็คสมการที่สองนี้ดูว่าคุณผ่านหรือเปล่า

  • ประมาณการกำไรสุทธิปีปัจจุบัน (ภงด.51 ปีนี้) > กำไรสุทธิปีก่อน (ภงด.50 ปีก่อน)

เพราะในบางปีที่มีการยกเว้นหรือลดอัตราภาษีประมาณการภาษีครึ่งปีอาจจะต่ำ แต่อย่างน้อยหากท่านประมาณการกำไรในปีนั้นไว้มากกว่ากำไรสุทธิของปีก่อนแล้วก็เข้าข่ายว่าการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิประจำปีเป็นเหตุอันสมควรตามที่กฎหมายกำหนด ถือว่าอยู่รอดปลอดภัยนะคะ

หากเพื่อนๆกังวลว่าจะทำยังไง จะประมาณการกำไรสุทธิอย่างไรไม่ให้ขาดเกิน 25% เพื่อนๆสามารถอ่านที่บทความนี้เพิ่มเติมได้นะคะ ภาษีครึ่งปี (ภงด.51) คำนวณอย่างไร ให้ปลอดภัยสุด หรือ ประมาณการภาษีครึ่งปีนิติบุคคลขาดเกิน25%แก้ไขอย่างไร?

ข้อระวัง ภงด51
ข้อระวัง ภงด51

6. ไม่ยื่นแบบแล้วเจอค่าปรับเท่าไร

ภงด.51 อัตราค่าปรับและเงินเพิ่ม

ค่าปรับจะเป็นในส่วนของการยื่นล่าช้า
นิติบุคคลที่มีหน้าที่ในการยื่นแบบภงด.51 มีระยะเวลากำหนดในการยื่น และถ้าหากเกินกำหนดจะต้องเสียค่าปรับเป็นไปตามนี้เลยค่ะ

  • หากยื่นเกิน 1- 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ เสียค่าปรับ 1,000 บาท
  • หากยื่นเกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ เสียค่าปรับ 2,000 บาท

และก็มีในส่วนของถ้าหากยื่นตามกำหนด แต่ยอดไม่ถูกต้องจะมีวิธีคิดอีก 3 รูปแบบ

1. ยื่นแบบภงด.51 ด้วยประมาณการกำไรสุทธิจริง ด้วยยอดที่ไม่ถูกต้อง

ถ้าหากมีจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายชำระ ต้องบวกเงินเพิ่ม 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ

ตามแบบ ภ.ง.ด 51 อีกด้วยนะคะ 

2. ยื่นแบบภงด.51 ด้วยประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิจริงทั้งปี

ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

3. ไม่ยื่นแบบภงด.51 หรือไม่ยื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด และมีภาษีที่ต้องเสียอีกด้วย ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

เบี้ยปรับเงินเพิ่มภงด51
เบี้ยปรับเงินเพิ่มภงด51

7. ยื่นแบบเพิ่มเติมทำยังไง เจอค่าปรับไหม?

การยื่นแบบเพิ่มเติมนั้น จะเป็นกรณีที่หลังจากที่เราได้ยื่นแบบภ.ง.ด.51 ไปแล้ว
แต่พอเวลาผ่านไปได้ซักประมาณ 3 – 4 เดือน กิจการรู้ยอดกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงแล้ว ปรากฏว่า ยอดกำไรสุทธิที่ประมาณการในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ไว้ ขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิที่จะเกิดขึ้นจริงแน่ๆ ก็สามารถยื่นแบบภ.ง.ด.51 เพิ่มเติม แต่ก็จะมีเสียเงินเพิ่มในอีก 20% ของเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ขาดไปค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ วิธียื่นแบบ ภงด.51 ออนไลน์ในระบบสรรพากร ไม่ได้อย่างที่คิดใช่ไหมคะ แต่เพียงแค่เราต้องเตรียมข้อมูลที่ถูกต้องไว้ให้พร้อมเท่านั้นเอง ก็สามารถนำส่งภาษีได้ทันเวลา แต่ว่าค่าปรับส่วนใหญ่น่าจะไปลุ้นเอาตอนพอถึงปลายปี ยอดการคำนวณแบบประมาณนั้นจะต้องทำให้เสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มเพิ่มเติมอีกไหมนะ

#cpdacademy

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน
สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า