ภาษี

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ต้องทำกี่ชุด ทำให้ใครบ้าง

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ต้องทำกี่ชุด ทำให้ใครบ้าง

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ถือเป็นภาษีหมวดใหญ่หมวดนึง ที่หลายคนมักคุ้นหน้าคุ้นตากัน ตอนที่มีการจ่ายเงิน ผู้รับเงินจะได้เงินไม่เต็มจำนวน เงินที่หายไปต้องมีหลักฐานที่ เรียกว่า หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ ที่หลายคนมักเรียกกัน 

แล้วหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายคืออะไรกันแน่ ใครต้องเป็นคนทำ ทำให้ใครบ้าง และทำกี่ชุด วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยไปพร้อมๆ กันค่ะ

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร

ก่อนจะไปถึงเรื่องหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร เราต้องมาทำความรู้จักกับ ภาษีเงินได้หักณที่จ่ายกันก่อน

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ผู้จ่ายเงิน ต้องหักเงินเอาไว้ จากยอดเงินได้ ของผู้รับเงิน เพื่อนำเงินที่หักไว้ ยื่นภาษีต่อกรมสรรพากร 

ซึ่งเงินที่ถูกหักและยื่นภาษีไป ผู้รับเงินสามารถนำไปใช้เครดิตภาษี ตอนยื่นภาษีสิ้นปีได้ คิดง่ายๆ ว่า เงินที่ถูกหักไป เป็นเงินที่จ่ายภาษีล่วงหน้า ทุกบาทที่โดนหักไป ไม่ได้หายไปไหนนะ (แม้ว่าจะทำใจไม่ค่อยได้ ตอนถูกหักเงินซักที T^T)

หากใครอยากศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับภาพรวมภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำนวณยังไง (โดยเฉพาะการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ออกแทน) ใช้แบบอะไรในการยื่น สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : สรุปภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ฉบับ 101

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย คือ หลักฐานสำคัญ ที่ช่วยยืนยันกับผู้รับเงินได้ว่า ผู้จ่ายเงิน ได้หักเงินเอาไว้ และนำไปยื่นภาษีจริงนั่นเอง

ลองคิดภาพตามนะ ผู้จ่ายเงิน บอกผู้รับเงินว่า หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเอาไว้ เพื่อยื่นภาษีต้นเดือนถัดไป 

แล้วสงสัยกันมั้ยคะว่า ผู้รับเงินจะรู้ได้ยังไงว่า ผู้จ่ายเงินหักเงิน และยื่นภาษีจริง เพราะเขาอาจจะเป็นมิจฉาชีพ หักเงินเอาไว้ใช้เองก็ได้นะ ใครจะไปรู้ ฮ่าๆ

เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ คนออกกฎหมายจึงคิดดีแล้วว่าต้องมี หนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) เป็นหลักฐาน เพื่อยืนยัน 2 เรื่องนี้ค่ะ

1.ยืนยันความบริสุทธิ์ใจ

หากผู้จ่ายเงิน ไม่ยอมยื่นภาษี แต่ผู้รับเงิน มีหลักฐานรับรองการหัก ณ ที่จ่ายแล้ว ยืนยันบริสุทธิ์ใจได้ว่า ตัวเองถูกหักเงินไปจริง เป็นผู้จ่ายเงินเองที่ไม่ยอมยื่นภาษี ต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว โทษฐานไม่ยื่นภาษี ทั้งทางแพ่ง และทางอาญา

แต่ในทางกลับกัน ถ้าผู้รับเงินไม่มีหลักฐาน รับรองการหัก ณ ที่จ่าย ก็อาจจะถูกมองได้ว่า ผู้รับเงินและผู้จ่ายเงิน มีความผิดร่วมกัน ไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี ได้เช่นกัน

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย

2.หลักฐานสำคัญ ที่ใช้เครดิตภาษีตอนสิ้นปี

อีกหนึ่งหน้าที่สำคัญของหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย คือ ใช้เป็นหลักฐาน ในการเครดิตภาษี

อย่างที่บอกว่า เงินที่ถูกหักไป ไม่ได้หายไปไหน แต่คือภาษีที่เราจ่ายล่วงหน้า ดังนั้น เมื่อถึงสิ้นปี หากเราคำนวณแล้ว ปีนี้ต้องจ่ายภาษีทั้งหมด 100 บาท แต่เราถูกหัก ณ ที่จ่ายในปีภาษีไปแล้ว  50 บาท เท่ากับว่า เราต้องจ่ายอีกแค่  50 บาทเท่านั้น

แต่ถ้าจะยอมให้เครดิตดื้อๆ มันก็ง่ายเกินไปน่ะสิ เพราะพี่สรรพากรต้องถามหาหลักฐาน การถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย!! อยู่ดี

ดังนั้น ใครได้เจ้าหนังสือตัวนี้มา อย่าลืมเก็บไว้ให้ดีจนกระทั่งถึงสิ้นปี จะได้ไม่มีปัญหาถ้าขอคืนภาษีนะคะ

หลักฐาน ในการเครดิตภาษี (1)
หลักฐาน ในการเครดิตภาษี (1)
หลักฐาน ในการเครดิตภาษี (2)
หลักฐาน ในการเครดิตภาษี (2)

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ต้องทำไว้กี่ชุด ทำให้ใครบ้าง

ตาม “ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 62) เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย” กำหนดให้ ผู้จ่ายเงินออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ให้ผู้ถูกหักภาษี  2 ฉบับ ซึ่งต้องมีรายละเอียดตรงกันดังนี้

  1. ฉบับที่ 1  มีข้อความว่า สำหรับผู้ถูกหักภาษีณที่จ่าย ใช้แนบพร้อมกับแสดงรายการ (ส่งสรรพากร)
  2. ฉบับที่ 2  มีข้อความว่า สำหรับผู้ถูกหักภาษีณที่จ่าย เก็บไว้เป็นหลักฐาน (เก็บไว้เอง)

สำหรับผู้จ่ายเงินเอง สรรพากรกำหนดไว้ว่า ต้องจัดทำสำเนาคู่ฉบับไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐาน สำหรับออกใบแทน กรณีที่หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้กับผู้รับเงินไปแล้ว ชำรุด สูญหาย ให้ออกใบแทน โดยการถ่ายเอกสาร หรือพิมพ์จากระบบคอมพิวเตอร์

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ต้องทำไว้กี่ชุด ทำให้ใครบ้าง
หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ต้องทำไว้กี่ชุด ทำให้ใครบ้าง

หนังสือรับรองฯ ต้องมีเล่มที่ เลขที่ เอกสารไหม?

ตามประกาศของสรรพากร กำหนดไว้ว่า ถ้าทำหนังสือรับรองฯ แบบเป็นเล่ม ต้องมีการกำหนดหมายเลขลำดับของหนังสือรับรองด้วย แต่หากพิมพ์จากระบบคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ ซึ่งทุกวันนี้ไม่น่ามีใครเก็บเอกสารเป็นเล่มๆ แบบในสมัยก่อนแล้วนะ

หนังสือรับรองฯ ต้องมีเล่มที่ เลขที่ เอกสารไหม?
หนังสือรับรองฯ ต้องมีเล่มที่ เลขที่ เอกสารไหม?

สรุป

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย คือ เอกสารที่สำคัญมาก สำหรับผู้รับเงิน หรือผู้ถูกหัก ณ ที่จ่าย เพื่อรับรองว่าถูกหัก ณ ที่จ่ายจริงและใช้เป็นหลักฐานในการเครดิตภาษีได้

ผู้จ่ายเงิน – ต้องออกหนังสือรับรอง ที่ถูกต้อง และครบถ้วน ตามหลักของสรรพากรด้วยนะ

ส่วนผู้รับเงิน – อย่าลืมทวงถามถ้าไม่ได้รับเอกสาร เมื่อรับเอกสารมาแล้ว อย่าลืมเก็บเอาไว้ดีๆ อย่าให้หายไปกับสายลม และแสงแดดนะคะ ไม่งั้นบอกไว้ก่อนเลยว่า งานงอกแน่นอนจ้า

สำหรับใครที่ อยากรู้เทคนิคการออกหนังสือรับรองการเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ : 5 เทคนิค กรอกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ อย่างถูกต้อง

และสำหรับใครที่อยากเข้าใจเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายมากขึ้นกว่าเดิม เพิ่มเติมเก็บ CPD ได้ด้วย แนะนำลงเรียนคอร์สนี้ได้เลยค่า: ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคำนวณและบันทึกบัญชีอย่างไร ?

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy

อ้างอิง

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า