ภาษี

5 เทคนิค กรอกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ อย่างถูกต้อง

5 เทคนิค กรอกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ อย่างถูกต้อง

เมื่อถึงคราวต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ใครหนอจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ ให้บริษัทคู่ค้าได้บ้าง

ถ้าเจ้าของธุรกิจทำไม่เป็น งานนี้ก็คงหนีไม่พ้นนักบัญชีไงล่ะ (จะใครซะอีก ฮ่าๆ) สาเหตุเพราะว่าการออกหนัชสือรับรองนั้น ข้อมูลต้องสอดคล้องกับการนำส่งกรมสรรพากรด้วยนะ (แค่คิดก็เครียดแล้ว)

สำหรับนักบัญชีมือใหม่ วันนี้เรามาดู 5 เทคนิค การกรอกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ อย่างถูกต้อง จะเป็นยังไง ไปดูกัน

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ คืออะไร

คนที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย จะรู้ได้ยังไงว่าเขาโดนหัก ณ ที่จ่าย หรือเราจ่ายเงินให้เขาไม่ครบ?

ด้วยเหตุนี้ จึงมีเอกสารที่เรียกว่า “หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ” ซึ่งหลายคนเรียกสั้นๆว่า “ใบ 50 ทวิ”

โดยการออกหนังสือรับรองฯ จะแบ่งเป็น 2 ฉบับ สำหรับผู้ถูกหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งต้องมีข้อความตรงกันดังนี้

  1. ฉบับที่ 1 มีข้อความว่า “สําหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายใช้แนบพร้อมกับแบบแสดงรายการ”
  2. ฉบับที่ 2 มีข้อความว่า “สําหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐาน”

ส่วนผู้จ่ายเงินก็ต้องเก็บเอกสารของตัวเองไว้ด้วยเช่นกันนะคะ

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)

1. เลือกแบบภาษีให้ถูกต้อง

เรามาเริ่มกันที่ส่วนแรก คนที่หักภาษี และคนที่ถูกหักภาษี 

คนที่หักภาษีก็ไม่ต้องสงสัย ก็บริษัทเราเองนี่แหละ ที่เป็นคนหักภาษีเขาใช่ไหมล่ะ ฮ่าๆ หากใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติม เรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ สรุปภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ฉบับ 101

สำหรับคนที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย หลักๆ แล้วมีอยู่ 2 ประเภท 1)นิติบุคคล 2)บุคคลธรรมดา แต่!! ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เราต้องเลือกแบบฟอร์มภาษี ที่เรายื่นข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต่อกรมสรรพากรให้ถูกต้องด้วยนะ 

ซึ่งการเลือกแบบฟอร์ม มีวิธีการพิจารณาดังนี้

แบบฟอร์มประเภทเงินได้ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายประเภทแบบแสดงรายการหมายเหตุ
ภ.ง.ด.1ก 40(1)(2)บุคคลธรรมดายอดรายปี
ภ.ง.ด.1ก พิเศษ40(1)(2)บุคคลธรรมดายอดรายปีผู้มีหน้าที่ยื่นแบบเป็นส่วนราชการ
ภ.ง.ด.240(3)(4)บุคคลธรรมดา/นิติบุคคลยอดรายเดือน*
ภ.ง.ด.2ก40(3)(4)บุคคลธรรมดา/นิติบุคคลยอดรายปียื่นสรุปยอดรายปีจาก ภ.ง.ด.2 ที่เคยยื่นรายเดือน
ภ.ง.ด.340(5)-(8)บุคคลธรรมดายอดรายเดือน*
ภ.ง.ด.3ก40(5)-(8)บุคคลธรรมดายอดรายปีผู้มีหน้าที่ยื่นแบบเป็นส่วนราชการ
ภ.ง.ด.5340(5)-(8)นิติบุคคลยอดรายเดือน*

* การเลือกแบบฟอร์ม ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เราต้องรู้ตั้งแต่วันที่หักเงินคู่ค้าแล้วว่า เป็นเงินได้ประเภทไหน ยื่นแบบฟอร์มอะไร

อย่าลืมนะว่า คนจ่ายเงินต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายให้คู่ค้า ตั้งแต่วันที่เขาถูกหักเงิน หรือวันที่เราจ่ายเงินนั่นเอง 

เลือกแบบภาษีให้ถูกต้อง
เลือกแบบภาษีให้ถูกต้อง

2. เลือกประเภทเงินได้ แบบไหน

สำหรับใครที่ผ่านข้อ 1 มาได้ ข้อ 2 ก็คงง่ายแล้วล่ะ เพราะข้อ 1 เป็นการเลือกแบบที่ใช้ยื่นภาษี ซึ่งเราต้องรู้ก่อนแล้วว่าเป็นเงินได้ประเภทไหน ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วว่าเป็นเงินได้ประเภทไหน เราก็จะใส่ประเภทเงินได้อย่างถูกต้อง

การกรอกประเภทเงินได้ในแบบ 50 ทวิ จะแบ่งออกเป็น 6 ข้อ ดังนี้ 

  1. 40(1) เงินเดือนและโบนัส และสวัสดิการพนักงานต่างๆ
  2. 40(2) ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า
  3. 40(3) ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตรต่างๆ
  4. 40(4) แบ่งเป็น 2 ประเภท (ก)ดอกเบี้ย (ข)เงินปันผล และส่วนแบ่งกำไร
  5. 40(5)-(8) เงินได้ตาม 3 เตรส เช่น ค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา ค่าเช่า ค่าขนส่ง ค่าบริการ ฯลฯ (หัก ณ ที่จ่ายส่วนใหญ่จะเลือกข้อนี้)
  6. อื่นๆ นอกจากข้อ 1 – 5 สามารถระบุเพิ่มเติมได้ 

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องเข้าใจก่อนกรอกข้อมูลก็คือ เราจ่ายเงินได้ประเภทอะไร ต้องเลือกกรอกในช่องเหล่านี้ให้ถูกจ้า

3. ใส่วันที่ยังไง

จากที่เกริ่นไปแล้วตอนข้อ 1 ว่า เราควรออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายตอนไหน 

คำตอบนี้ต้องแบ่งเป็น 2 แบบ

  1. การยื่นภาษีแบบรายปี จะแยกออกเป็น 2 อย่าง ดังนี้ 1)การยื่นแบบสรุปข้อมูล ที่เคยออกหนังสือรับรองไปแล้ว จะไม่ออกซ้ำ แต่หากเป็น 2)การยื่น ภงด.1ก จะใส่วันที่เป็นสรุปช่วงเวลาที่จ่ายเงิน และออกหนังสือรับรองภายใน 15 กุมภาพันธ์ ของปีภาษีถัดไป หรือ 1 เดือน นับจากวันลาออก
  2. การยื่นภาษีแบบรายเดือน อันนี้จะเจอบ่อยกว่ามากๆ โดยเราต้องออกหนังสือรับรอง ทันทีที่มีการจ่ายเงิน และหักภาษี ณ ที่จ่ายของผู้ถูกหัก ดังนั้น เราต้องใส่วันที่จ่ายเงิน วันที่ออกหนังสือรับรอง เป็นวันเดียวกับวันที่จ่ายเงินจริง 

4. จำนวนเงินเท่าไหร่ดี (วิธีคำนวณ) 

สำหรับช่องจำนวนเงินที่จ่าย และภาษีที่นำส่ง เป็นช่องที่หลายคนสับสนว่า ควรเอาตัวเลขไหนมาใส่ดีนะ เราลองมาดูตัวอย่างง่ายๆ ตามนี้กันค่ะ 

สมมติ ค่าเช่ากล้องถ่ายภาพ 1,000 บาท Vat 7% รวมเป็น 1,070 บาท 

หัก ณ ที่จ่าย 5% (50 บาท) จ่ายจริง 1,020 บาท

การใส่ยอดจำนวนเงินที่จ่าย ในหนังสือรับรองฯ ต้องใช้ยอด 1,000 บาท (ยอดค่าใช้จ่ายไม่รวม Vat)

และต้องใส่ยอด ภาษีที่หัก และนำส่งไว้ เท่ากับ  50 บาท (คำนวณจาก 5% ของ 1,000 บาท)

วิธีกรอกหนังสือรับรอง 50 ทวิ
วิธีกรอกหนังสือรับรอง 50 ทวิ

5. หัก ณ ที่จ่าย/ออกให้ตลอดไป/ออกให้ครั้งเดียว

มาถึงเรื่องที่หลายคนสงสัย การออกหัก ณ ที่จ่ายแทน เอ๊ะ! หัก ณ ที่จ่ายนี้ออกแทนกันได้ด้วยหรือ? การออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนคืออะไรกันนะ?

การออกหัก ณ ที่จ่ายแทน คือ เราต้องการจ่ายเงินออก  1,000 บาท แต่กฎหมายกำหนดให้เราหักเงิน ณ ที่จ่าย เราจึงต้องเพิ่มจำนวนค่าใช้จ่ายตามสัญญาที่ตกลงกัน ให้เกินกว่า 1,000 บาท เพื่อรับเงิน จะได้รับเงิน 1,000 บาท ตามที่ตกลงกันไว้

ซึ่งจะมี 3 ช่องให้เราติ๊ก ดังนี้ 

  1. ช่องหัก ณ ที่จ่าย คือ ไม่มีการออกทางหน้าที่จ่ายแทน (ส่วนใหญ่จะติ๊กช่องนี้)
  2. ช่องออกให้ตลอดไป คือ คำนวณหัก ณ ที่จ่ายส่วนต่างให้ทั้งหมด
  3. ช่องออกให้ครั้งเดียว คือ คำนวณหัก ณ ที่จ่ายส่วนต่างให้แค่ 1 ครั้ง

โดยส่วนใหญ่แล้ว จะเลือกออกแทนให้ทั้งหมดเลย(ออกให้ตลอดไป) หรือไม่อย่างนั้น ก็จะไม่ออกให้เลย(ช่องหัก ณ ที่จ่าย)

ตามตัวอย่างข้อที่ 4 จะคิดสูตรการคำนวณหัก ณ ที่จ่ายออกตลอดไป ดังนี้

= จำนวนเงินได้ที่จ่าย x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย / (100 – อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

= 1,000*5/95

= 52.63 (ใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น/ค่าภาษีที่ออกแทน)

ดังนั้น ค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามสัญญาหากมีการออกแทนจะเท่ากับ 1,000+52.63 = 1,052.63 บาท

เมื่อนำไปคำนวณหัก ณ ที่จ่าย เท่ากับ 1,052.63*5% =  52.63 บาท

และเงินที่จ่ายจริงให้กับคู่ค้าจะเท่ากับ 1,052.63-52.63 = 1,000 บาท (ยอดที่ต้องการจ่าย)

ผู้จ่ายเงินออกแทนหรือไม่
ผู้จ่ายเงินออกแทนหรือไม่

สรุป

การออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับผู้หัก ณ ที่จ่าย เพราะกฎหมายกำหนดว่าต้องออกหนังสือรับรองฯ เมื่อมีการจ่ายเงิน ไม่งั้นก็จะมีความผิดตามกฎหมาย และสำคัญมากสำหรับผู้ถูกหัก ณ ที่จ่าย เพราะต้องใช้เป็นหลักฐาน ในการยื่นเครดิตภาษีประจำปี ดังนั้น นักบัญชีรุ่นใหม่ อย่าลืมใส่ใจเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่ายกันด้วยนะคะ

และสำหรับใครที่อยากเข้าใจเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายมากขึ้นกว่าเดิม เพิ่มเติมเก็บ CPD ได้ด้วย แนะนำลงเรียนคอร์สนี้ได้เลยค่า: ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคำนวณและบันทึกบัญชีอย่างไร ?

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy

อ้างอิง

คำแนะนำในการออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย

หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย มาตรา 50 ทวิ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า