ภาษี

ประเด็นสำคัญ ต้องรู้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร

ประเด็นสำคัญ ต้องรู้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร

ไม่มีอะไรแน่นอนบนโลกนี้ยกเว้น ความตายและภาษี

เบนจามิน แฟรงค์กิ้น

จากข้อความนี้แม้เบนจามินจะกล่าวไว้นานแล้ว แต่มันก็ยังเป็นความจริงอยู่เสมอ และภาษีชนิดหนึ่งที่เราหนียากมากกกก ก็คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มค่ะ เพราะฉะนั้นนักบัญชีและเจ้าของธุรกิจต้องทำใจยอมรับมันนะคะ ว่าเราจะต้องเรียนรู้และอยู่กับมันไปอีกนานเลยค่า

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร ทำไมเรายังหนีมันไม่พ้นสักที เนื่องจากว่าภาษีตัวนี้เป็นภาษีที่เกิดจากการบริโภค ผู้บริโภคคนสุดท้ายเป็นผู้จ่ายชำระ เช่น ตื่นเช้ามาซื้อข้าว ซื้อน้ำทาน ก็อาจจะต้องจ่ายภาษีนี้โดยไม่รู้ตัวค่ะ แล้วถ้ามีใกล้ตัวเราซะขนาดนี้ มีอะไรที่เราต้องเรียนรู้บ้าง ลองไปดูกันเลยค่ะ

1. ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax คือ การเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือบริการในทุกกระบวนการผลิต จำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ ทั้งภายในประเทศและรวมถึงการนำเข้าจากต่างประเทศด้วย แล้วผู้ขายนั้นจะต้องนำส่งภาษีให้สรรพากร

ทุกท่านอาจจะงง ว่าเอ้าไหนบอกว่าเป็นภาระของผู้บริโภคคนสุดท้าย แต่ทำไมผู้ประกอบการที่จด VAT ถึงเป็นผู้จ่ายชำระภาษีล่ะ คำตอบคือ ก็เพราะว่าทางผู้ประกอบการที่จด VAT เรียกเก็บ VAT แทนสรรพากรเพื่อนำส่งให้ผู้บริโภคนั่นไงล่ะ

เราเรียก VAT ที่เก็บจากผู้บริโภคว่าภาษีขาย และในทางกลับกันเราเองก็ต้องจ่าย VAT ให้ซัพพลายเออร์เช่นกัน จึงเรียกสั้นๆ ว่าภาษีซื้อ ทั้งภาษีขาย ภาษีซื้อสามารถนำมาหักลบกัน แล้วเกิดเป็นผลต่างเพื่อชำระภาษี อยู่ที่ว่า ภาษีขาย หรือภาษีซื้อจะมากกว่ากันค่ะ

ลองดูสรุปง่ายๆ จากตารางนี้ได้เลย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม=ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
ภาษีขาย > ภาษีซื้อ=ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ
ภาษีขาย < ภาษีซื้อ=ภาษีที่มีสิทธิขอคืนหรือขอเครดิตภาษี

2. ใครมีหน้าที่เสียภาษี

สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรือเป็นผู้จำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ ในรูปแบบของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วยจำกัด หรือนิติบุคคลใดๆ ที่มีรายรับจากการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ที่ต้องขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

แต่ถ้าหากรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทก็สามารถจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เช่นกันค่ะ แบบนี้เป็น option นะคะ

3. ใครบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี

ประเภทของกิจการที่ดำเนินการอยู่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง กฎหมายไม่ได้บังคับให้จด VAT นะ ซึ่งประกอบด้วย

  • ขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
  • ขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้น VAT ตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • ให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
  • ส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • ให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
  • ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

4. ต้องจด VAT เมื่อไหร่

ส่วนใหญ่แล้ว ที่เราพูดๆกันจนติดปาก ก็คือ ถ้ารายได้ถึง 1.8 ล้านบาทต้องจด VAT แล้วนะ แต่ว่าก็ยังมีข้อพิจารณาอื่นๆอีก
สามารถลองไปดูบทความที่น่าสนใจในเรื่องของ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตอนไหน? ต้องเตรียมอะไรบ้าง ซึ่งบทความนี้ก็จะตอบโจทย์ท่านผู้อ่านได้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้นค่ะ

เมื่อไหร่จด VAT
เมื่อไหร่จด VAT

แต่การจด VAT เสร็จไม่ได้แปลว่าชีวิตเราจบเท่านี้ เพราะว่าเรายังมีหน้าที่ที่ต้องทำตามกฎหมายหลายอย่างเลย : นักบัญชีต้องรู้ เมื่อจด VAT แล้วต้องทำอะไรบ้าง?

5. อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

พอมีใครทราบบ้างไหมคะ ว่า เดิมทีแล้วกว่าจะมาเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ประเทศของเรามีการกำหนด ภาษีมูลค่าเพิ่มเอาไว้ที่ 10% เลยนะ แต่ว่า 7% ก็แบ่งออกเป็น 2 ภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงแล้วเป็นเพียง 6.3% และอีก 0.7% เป็นในส่วนของท้องถิ่นนั่นเอง
พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม คือเท่าไหร่
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม คือเท่าไหร่

6. นำส่งภาษียังไง ใช้แบบอะไร

แบบภ.พ.30 คือ แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้มีหน้าที่ในการยื่น จะเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด คณะบุคคล หรืออื่นๆตามที่กฏหมายกำหนดรายละเอียดในการกรอก หลักๆจะมี 4 ส่วนค่ะ

ถ้ามองแบบนี้อาจจะมีไม่กี่ช่องในการกรอกอาจจะดูเหมือนง่ายนะคะ แต่ว่าไม่ง่ายเลย กว่าจะได้ข้อมูลมากรอกแต่ละช่อง ต้องจัดทำและตรวจสอบในแต่ละขั้นตอนมากมายเลยค่ะ อย่างเช่น ภาษีซื้อ ภาษีขายคืออะไร ต้องจัดทำอย่างไร และข้อมูลที่เราทำไปนั้น ถูกต้องหรือไม่นะ

เพื่อนๆ สามารถเรียนรู้ ยื่นแบบ ภ.พ.30 ต้องเช็คอะไรบ้าง ?

จด VAT ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30
จด VAT ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30

แต่เพื่อนๆอย่าลืมนะคะ การที่เป็นผู้ประกอบการจด VAT แล้วต้องเริ่มออกใบกำกับภาษีเมื่อกิจการสามารถขายสินค้าได้ แล้วใบกำกับภาษีนั้น ก็มีจุดที่ต้องมี หรือจุดสำคัญที่กฏหมายได้กำหนดเอาไว้ ลองไปศึกษาที่บทความนี้กันค่ะ จะได้ไม่ผิดพลาดแล้วมานั่งแก้ไขทีหลังนะคะ
ใบกำกับภาษี คืออะไร ทุกกิจการต้องมีไหม เช็คที่นี่
ใบกำกับภาษีสำคัญยังไง 8 จุดต้องเช็ค ถ้าอยากทำให้ถูกต้อง

แล้วทาง CPD Academy ก็รวบรวมเกี่ยวกับคำถามที่ถูกถามเข้ามาบ่อยเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อนๆลองเข้าไปอ่านได้นะคะ ว่าคำถามเหล่านี้อยู่ในใจเพื่อนๆบ้างหรือป่าว

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่มันอยู่ใกล้ตัวเรามากๆซะเหลือเกิน และเราก็ไม่สามารถจะหนีไปไหนพ้นได้ ดังนั้นก็เรียนรู้ที่จะอยู่กับมันไปเลยซิคะ เพราะในวันนึงเชื่อว่าภาษีมูลค่าเพิ่มอาจจะมาเกี่ยวข้องในชีวิตของผู้อ่านอย่างเป็นสาระสำคัญก็ได้ เช่น การเป็นผู้ประกอบการ หรือประกอบกิจการจนรายรับถึง 1.8 ล้านบาท เห็นไหมคะมันใกล้ตัวเรามากเลยนะ มาศึกษามันไว้เลยดีกว่า

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า