ความรู้บัญชี

Check List ตัวช่วยปิดงบการเงิน ทำตามนี้ไม่มีพลาด

Check List ตัวช่วยปิดงบการเงิน ทำตามนี้ไม่มีพลาด

เพื่อนๆนักบัญชี จะต้องมีการปิดงบการเงินเพื่อนำข้อมูลแสดงต่อผู้บริหาร หรือหน่วยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกิจการ ว่าจะกำหนดให้ปิดทุกเดือน ทุกสามเดือน หรือทุกครึ่งปี แต่เมื่อถึงสิ้นปีเวียนมาถึงเราเองก็ต้องปิดงบการเงินกันทุกกิจการแบบปฏิเสธไม่ได้ เพื่อนำส่งงบการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร หรือถ้าเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ก็ต้องนำส่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ด้วยเช่นกัน

แล้วการปิดงบการเงินที่ดีต้องเช็คเรื่องอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้หลงลืมหรือว่าปิดบัญชีไม่ทันการ CPD Academy รวบรวมเช็คลิส 4 เรื่องสำคัญที่จะพาทุกคนปิดงบการเงินได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ

Check List นี้จะช่วยเตือนเพื่อนๆว่า ถ้าเราทำตามนี้แล้วสามารถนำงบการเงินส่งผู้บริหาร หรือนำส่งออดิท ได้อย่างสบายใจเลยค่ะ

ติดกระดุมเม็ดแรก “ยอดยกมา กับ Audit Adjust ปีก่อน”

การติดกระดุมเม็ดแรกสำคัญที่สุด หากเราติดผิดไป กระดุมเม็ดต่อไปก็จะผิดไปด้วย
ถ้าเรากำลังจะปิดงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ยอดเริ่มต้น หรือ ยอดยกมา ต้องตรงกับงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 และต่อไปกลับไปดูรายการปรับปรุงปีก่อนที่ผู้สอบบัญชีมีการปรับปรุงให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด ว่าในปีปัจจุบันได้ทำการแก้ไขแล้วหรือไม่ เช่น

ค่าประกันภัย เป็นรอบระยะเวลาการคุ้มครอง 1 ธันวาคม 2563 – 1 ธันวาคม 2564 นักบัญชี บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน แต่ผู้สอบบัญชีมาปรับเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า 10 เดือน ค่าประกันภัย มักจะเป็นรอบระยะการคุ้มครองแบบเดิม เพราะฉะนั้นปีนี้ ก็ต้องมาสำรวจตัวเองว่าเราได้ทำการแก้ไขในรายการลักษณะแบบนี้หรือยัง

ถ้ายังก็ควรแก้ไขให้เรียบร้อยจะได้ไม่ต้องผิดแบบเดิมซ้ำๆ อีกค่ะ

ติดกระดุมเม็ดที่ 2 “บันทึกรายการปรับปรุงของปีปัจจุบัน”

รายการปรับปรุงประจำการปิดงบของเรา เช่น รายการค้างรับ รายการค้างจ่าย รายการจ่ายล่วงหน้า รายการรับล่วงหน้า ประมาณการต่างๆ  ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น

รายการเหล่านี้จะไม่เกิดปัญหาหากเราทำเป็นประจำทุกเดือน หรือสามเดือน แต่ถ้าหากปิดงบทุก 6 เดือน หรือปีละครั้ง เราก็อาจจะลืมได้ เพราะฉะนั้นต้องเอารายการปรับปรุงของปีที่แล้วมาตรวจเช็คอีกรอบ ว่าเราบันทึกรายการปรับปรุงเข้างบการเงินเรียบร้อยแล้ว

ติดกระดุมเม็ดที่ 3 “ทำรายละเอียดประกอบยอดคงเหลือ”

รายละเอียดประกอบยอดคงเหลือ จะมีเฉพาะบัญชีหมวดสินทรัพย์ และบัญชีหมวดหนี้สิน ข้อมูลที่ทำได้ออกมาสามารถนำไปวิเคราะห์ได้หลายอย่าง เช่น บัญชีเงินฝากธนาคาร จะทำให้รู้ว่ายอดคงเหลือทางบัญชีมีในแต่ละบัญชีย่อยเท่าไหร่ และตรงกับสมุดบัญชีธนาคาร ณ วันสิ้นรอบบัญชีหรือไม่ หากไม่ตรง ต้องมีงบกระทบยอดเงินฝากธนาคารแนบไว้ด้วย ก็จะทราบถึงสาเหตุที่ยอดเงินในบัญชีธนาคารไม่ตรงกับยอดในรายงานทางบัญชี

เพื่อนๆเห็นไหมคะ พอเราต้องทำรายละเอียดประกอบยอดคงเหลือ พอบัญชีมันมีอะไรที่ไม่ตรงกับรายงานจากองค์กรภายนอก เราก็จะต้องหาสาเหตุตามหน้าที่ของนักบัญชี เพื่อพิสูจน์ให้ได้ว่า ที่เราบันทึกบัญชีไปนั้น ถูกต้อง ตรงตามจริง หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น การทำรายละเอียดประกอบยอดคงเหลือ ก็ทำให้เรากลับไปแก้ไขได้ทันเวลา
รายละเอียดประกอบยอดคงเหลือ ที่สำคัญที่ต้องจัดทำอย่างสม่ำเสมอ

  • เงินสด เงินฝากธนาคาร
  • สินค้าคงเหลือ
  • ลูกหนี้การค้า
  • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
  • เจ้าหนี้การค้า
  • เงินกู้ยืม

แต่ถ้าหากเป็นไปได้ ก็ควรมีรายละเอียดประกอบงบการเงินทุกบัญชีนะคะเพื่อนๆ

ติดกระดุมเม็ดที่ 4 “คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล”

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น สำคัญที่เราต้องบันทึกค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้เข้าไปในงบการเงิน แล้วเป็นรายการที่แสดงแยกมาเป็น 1 บรรทัดในหน้างบการเงินเลยด้วย จึงต้องยกให้เป็นนางเอกของเรื่อง การคำนวณภาษีแนะนำเตรียมเอกสารดังนี้เพื่อมาเช็คตัวเลขที่จะคำนวณให้ถูกต้อง

  • ภงด.50 ของปีก่อน
  • ภงด.51 ของปีปัจจุบัน เพื่อดูว่าตอนยื่นภาษีครึ่งปี จ่ายภาษีจริงไปจำนวนเท่าไหร่
  • ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย คือ กิจการถูกหัก ภาษี ณ ที่จ่ายและได้รับหนังสือรับรองเพื่อเป็นเอกสารหลักฐานในการใช้สิทธิในปีปัจจุบัน

สิ่งที่เราควรเช็คใน ภงด.50 คือ

  • ผลขาดทุนสะสมย้อนหลัง 5 ปีสามารถนำมาใช้สิทธิได้
  • รายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร (อยู่หน้าที่ 5 รายการที่ 8 ของแบบ ภงด.50 )
  • รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้หรือรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น (อยู่หน้าที่ 8-9 ของแบบ ภงด.50)

รายการดังกล่าว ให้อ่านและลองพิจารณาบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายของเราว่าจะเข้าเงื่อนไขข้อไหนบ้าง และอย่าลืมปรับปรุงในปีปัจจุบัน

หากเพื่อนๆนักบัญชีสนใจเกี่ยวกับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลแนะนำคลิกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้เลยค่ะ

Check List ตัวช่วยปิดงบการเงิน
Check List ตัวช่วยปิดงบการเงิน


Check List ทั้ง 4 ข้อ กว่าจะทำเสร็จออกมาได้ ก็เล่นเอาเหงื่อตกเลยใช่ไหมคะเพื่อนๆ แต่ถ้าหากเพื่อนๆนักบัญชีทำได้นี้ งบการเงินของเพื่อนๆ ก็จะส่งให้ผู้บริหาร หรือผู้ตรวจสอบบัญชี เพื่อนำไปใช้งานต่อได้อย่างมั่นใจในข้อมูลที่เราได้นำเสนอไปค่ะ
ยิ่งข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน และแม่นยำเท่าไหร่ ก็จะส่งผลดีต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงินค่ะ

เรียนรู้วิธีปิดงบการเงินกับ CPD Academy แบบสดๆ วันศุกร์ 29 พฤศจิกายน 2567

รายละเอียดสถานที่ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ปิดงบการเงินสำหรับนักบัญชีมือใหม่ รุ่น 2
ปิดงบการเงินสำหรับนักบัญชีมือใหม่ รุ่น 2

จองสิทธิ์ราคาพิเศษ สอบถามได้ที่นี่

Line: @cpdacademy 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า