ความรู้บัญชี

รหัสรายการทางบัญชี (Taxonomy) คืออะไร ทำไมต้องรู้ก่อนยื่นงบการเงิน

รหัสรายการทางบัญชี (Taxonomy) คืออะไร ทำไมต้องรู้ก่อนยื่นงบการเงิน

ช่วงนี้หลายท่านคงง่วนๆ กับการยื่นงบการเงินกันใช่ไหมคะ ทางเลือกในการงื่นงบการเงินที่ดีที่สุดตอนนี้คงหนีไม่พ้นการงื่นงบการเงินแบบ DBD e-filing ผ่านเว็บไซด์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้านั่นเองค่ะ

แต่ปัญหาที่กวนใจสำหรับหลายๆ ท่านสำหรับระบบนี้ก็น่าจะเป็นการเลือก Taxonomy สำหรับงบการเงินหรือเรียกอีกอย่างว่า “รหัสรายการทางบัญชี” รวมทั้งการเลือกรูปแบบงบกำไรขาดทุนนั่นเอง

จริงๆ แล้ว การเลือก Taxonomy นั้นมีความสำคัญเพราะ Taxonomy นั้นมีผลต่อรูปแบบงบการเงินที่ท่านกำลังจะกรอกข้อมูลลงไป บทความนี้เป็นบทความสั้นๆ ที่เรารวบรวม เทคนิคการเลือก Taxonomy และรูปแบบงบกำไรขาดทุน มาให้ทุกท่านได้ศึกษากันค่ะ

1.รหัสรายการทางบัญชี Taxonomy คืออะไร ?

รหัสรายการทางบัญชี ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของ XBRL ใช้ในการระบุข้อมูลรายตัว เช่น กำไรสุทธิ ซึ่งระบบสามารถเข้าใจตรงกันและสามารถนำไปประมวลผลได้ง่ายขึ้นและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

การทำงานของ Taxonomy

เป็น Dictionary ที่คอมพิวเตอร์ (ที่มี XBRL Software) สามารถอ่านและเข้าใจได้ดังนี้ความหมาย เช่น ตัวเลขทางการเงิน เปอร์เซ็นต์ หรือข้อความ ค่าของข้อมูล เช่น ค่าติดลบ ค่าบวก ความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่น ๆ เช่น ข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของการคำนวณ

2.ทำไมต้องเลือกรูปแบบงบการเงิน

การยื่นงบการเงินกับทาง DBD สามารถยื่นงบการเงินได้ 2 ช่องทาง คือ ยื่นงบการเงินแบบกระดาษ และยื่นงบการเงินออนไลน์ผ่านระบบ DBD E-Filing

แต่วิธีที่นิยมใช้และทาง DBD ก็ส่งเสริมให้ใช้มากที่สุดก็คือ การยื่นงบการเงินผ่านระบบ DBD E-filing ค่ะ ซึ่งทุกงบในประเทศไทยก็ควรจะยื่นโดยใช้รูปแบบที่เป็นมาตรฐาน เพราะสุดท้ายแล้วข้อมูลของงบการเงินจะถูกนำไปประมวลผลเพื่อการวิเคราะห์ในรูปแบบต่าง ๆหรือแม้แต่กระทั่งงบการเงินที่เราเห็นผ่าน DBD Datawarehouse ก็เอาข้อมูลจากการยื่น DBD E-filing ของเรานี่ล่ะค่ะ

3.เทคนิคการเลือกรูปแบบ Taxonomy ยังไง

การเลือกรูปแบบรหัสรายการทางบัญชีจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบ File งบการเงินที่ใช้ยื่นในระบบ DBD E-Filing  ซึ่งเราต้องพิจารณาจาก 3 หัวข้อต่อไปนี้

3.1 ประเภทมาตรฐานรายงานทางการเงิน

สำหรับกิจการที่เป็นธุรกิจทั่วไปให้พิจารณามาตรฐานการบัญชีที่กิจการเลือกใช้ในการจัดทำงบการเงินเนื่องจากกิจการที่เป็นนิติบุคคลที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนและอยู่ในธุรกิจทั่วไปสามารถเลือกใช้มาตรฐานการบัญชีในการจัดทำงบการเงินได้ 3 ทางเลือกคือ

  • มาตรฐานการบัญชีฉบับเต็ม (TFRS)
  • มาตรฐานการบัญชีฉบับสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะและเลือกใช้บางฉบับจากฉบับเต็มเพิ่ม (NPAEs + เลือกใช้ TFRS บางฉบับ)
  • มาตรฐานการบัญชีฉบับสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs)

3.2 ประเภทกิจการ

ประเภทนิติบุคคลของกิจการ ซึ่งระบบจะพิจารณาอัติโนมัติจากเลขทะเบียนนิติบุคคลมีอยู่ด้วยกัน 4 กลุ่มหลักๆคือ

  • PRT : ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
  • COM : บริษัทจำกัด
  • FLE : นิติบุคคลต่างประเทศที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในไทย
  • JV : กิจการร่วมค้า

** โดยส่วนใหญ่แล้วประเทศไทยจะเป็นกิจการแบบ PRT หรือไม่ก็ COM เป็นหลักค่ะ

ลักษณะของธุรกิจ
ลักษณะของธุรกิจ

3.3 ลักษณะของธุรกิจ

พิจารณาประเภทธุรกิจเนื่องจากหากกิจการอยู่ในประเภทธุรกิจที่มีหน่วยงานกำกับดูแลเฉพาะ กิจการต้องเลือกรูปแบบงบการเงินให้ตรงกับประเภทธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย

  • OTH สำหรับธุรกิจทั่วไป
  • FNI สถาบันการเงิน
  • INS บริษัทประกันภัยหรือ
  • SEC บริษัทหลักทรัพย์

หากเลือกทั้งสามขั้นตอนถูกต้องแล้ว ระบบก็จะสร้างรูปแบบงบการเงินขึ้นมาให้ หน้าตาก็จะคล้ายๆ กับที่ท่านมีอยู่ แต่หากหน้าตางบการเงินแตกต่างไปจากที่มีล่ะก็ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเลยนะคะว่าท่านอาจจะเลือก Taxonomy ผิดก็เป็นได้ค่ะ

4.เทคนิคการเลือกประเภทของงบกำไรขาดทุน

ประเด็นถัดมาที่มักพบปัญหาบ่อยๆ ก็คือ การเลือกรูปแบบงบกำไรขาดทุน หลายท่านสับสนว่า งบกำไรขาดทุนของเราเป็นแบบตามลักษณะหรือหน้าที่กันนะ แล้วมันเป็นแบบขั้นเดียวหรือหลายขั้นกันแน่ ลองมาทำความเข้าใจกันเลยค่ะ

ทำความเข้าใจกันก่อน

เบื้องต้น เราต้องทำความเข้าใจรูปแบบกิจการกันก่อนว่างบที่ท่านกำลังจะยื่นเป็นของกิจการลักษณะใด เช่น บริษัทมหาชนจำกัด หรือกิจการประเภทอื่น ๆ เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด กิจการร่วมค้า ก็จะมีข้อกำหนดในการจัดทำงบกำไรขาดทุนที่แตกต่างกันไป ก็คือ งบกำไรขาดทุนแบบเบ็ดเสร็จ หรือ งบกำไรขาดทุนแบบปกติ จากนั้นงบกำไรขาดทุนก็จะจำแนกประเภทตามค่าใช้จ่าย ดังที่เห็นในตารางนี้ค่ะ

รูปแบบกิจการ
รูปแบบกิจการ

สำหรับท่านไหนที่ยังไม่เข้าใจว่างบกำไรขาดทุนในรูปแบบทั้ง 2 มันแตกต่างกันอย่างไรเดี๋ยวเราไปดูตัวอย่างกันค่ะ

4.1 การจำแนกประเภทค่าใช้จ่ายของงบกำไรขาดทุน

  • จำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะ

ให้สังเกตรูปด้านล่างตรงที่เราทำสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมเอาไว้นะคะ ค่าใช้จ่ายจะจำแนกตามหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายหรือลักษณะของค่าใช้จ่ายที่มันเกิดขึ้นจริง ๆ ยกตัวอย่างเช่น งบตัวนี้มันจะมีการเปลี่ยนแปลงของสินค้าสำเร็จรูปและงานระหว่างทำแล้วก็งานที่ทำโดยกิจการและบันทึกเป็นสินทรัพย์พวกวัตถุดิบสิ้นเปลืองต่าง ๆ ค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าเสื่อมราคา ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งมันก็จะคล้ายๆกับที่แสดงในชื่อบัญชีหรือรหัสบัญชีที่ท่านมีอยู่นะคะว่ามันเป็นบัญชีเกี่ยวกับอะไรบ้างท่านก็จำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่ายนั้น ๆ ไปนะคะ

  • จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่

คำว่าตามหน้าที่ ก็คือ  ค่าใช้จ่ายแต่ละบัญชีมีหน้าที่อย่างไรบ้างก็จะถูกจัดเป็นหมวดหมู่ เช่น เป็นต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ เป็นค่าใช้จ่ายในการขายหรือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารนั่นเอง จริง ๆการจำแนกหน้าที่มีแค่ไม่กี่หน้าที่เองก็คือ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหารและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

ดังนั้นการจัดทำงบกำไรขาดทุนที่จำแนกตามหน้าที่จะง่ายกว่า สำหรับงบกำไรขาดทุนที่จำแนกตามหน้าที่แบ่งเป็น 2 แบบคือ แบบขั้นเดียว และแบบหลายขั้น

2 - CPD Academy

แบบขั้นเดียว

งบกำไรขาดทุนที่จำแนกหน้าที่แบบขั้นเดียว สังเกตได้จากรายได้ก็จะรวมเป็นรายได้ 1 กลุ่มค่าใช้จ่ายก็จะรวมเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด 1 กลุ่มตามด้านล่างข้อดีของงบตัวนี้คือทำได้ง่ายคุณกรอกข้อมูลแค่ไม่กี่บรรทัดก็ได้คำตอบแล้วว่ากำไรสุทธิเป็นเท่าไร

3 - CPD Academy

แบบหลายขั้น

งบกำไรขาดทุนที่จำแนกตามหน้าที่แบบหลายขั้น จะมีการคำนวณกำไรขาดทุนขั้นต้นก่อน
กำไรขาดทุนขั้นต้นเกิดจากการที่รายได้หลักหักด้วยต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ เราจะทราบกำไรขาดทุนขั้นต้น
ถัดมาถ้ามีรายได้อื่นก็บวกเข้าไปจะเป็นกำไรขาดทุนก่อนค่าใช้จ่ายขั้นถัดมาก็เอาค่าใช้จ่ายมาใส่ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหารและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เราก็จะได้ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้วก็จะสามารถคำนวณกำไรขาดทุนทางการเงินได้

ตั้งแต่บรรทัดรายได้จากการขายสินค้า จนถึง บรรทัดรวมค่าใช้จ่าย วิธีการจัดเรียงรายการมันก็จะสลับกับงบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่แบบขั้นเดียวสำหรับงบกำไรขาดทุนแบบหลายขั้น ข้อดี คือ สามารถคำนวณในส่วนของกำไรขั้นต้นเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของกิจการได้

4 - CPD Academy

เป็นยังไงกันบ้างคะ พอจะรู้เกี่ยวกับตัวงบกำไรขาดทุนทั้ง 2 แบบกันแล้วนะคะท่านก็สามารถเลือกรูปแบบตัวงบกำไรขาดทุนที่ท่านกำลังจัดทำได้ซึ่งก็จะทำให้ขั้นตอนการจัดเตรียมไฟล์ในการยื่นงบการเงินแบบ E-Filing สำหรับท่านน่าจะง่ายขึ้นกันทีเดียวเลยค่ะ

และสำหรับนักบัญชีคนไหนที่กำลังเตรียมตัวยื่นงบอยู่ มีเรื่องใดต้องเช็คบ้าง อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย: 4 ข้อควรรู้ก่อน ยื่นงบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า