ความรู้บัญชี

4 ข้อควรรู้ก่อน ยื่นงบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

4 ข้อควรรู้ก่อน ยื่นงบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

การยื่นงบการเงินกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถือเป็นการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญภายในองค์กร ให้คนภายนอกรับรู้ซึ่งก่อนจะเปิดเผยต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ การที่เราเปิดเผยข้อมูลไปแล้ว ก็จะมีองค์กรอื่นๆที่จะนำข้อมูลของเราไปประโยชน์ต่อ เช่น การพิจารณาเกี่ยวกับการขอสินเชื่อ การวิเคราะห์งบการเงินโดยนักลงทุน เพราะฉะนั้นก่อนที่จะยื่นงบการเงิน เราต้องเช็คข้อมูลอื่นๆ ให้ถูกต้องตามจริงด้วย ข้อควรทราบ 4 ข้อก่อนยื่นงบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีอะไรที่ต้องเช็คบ้างไปดูกันค่ะ

1. ประกาศประชุมผู้ถือหุ้น & ประชุมผู้ถือหุ้น รับรองงบการเงิน

การประกาศประชุมผู้ถือหุ้น & ประชุมผู้ถือหุ้น รับรองงบการเงิน คือ

“คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัท ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษ ให้กระทำการดังว่านั้นก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน
คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากัน และในกรณีที่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมเพื่อลงมติเศษให้ระบุข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติด้วย”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175

โดยสรุป เมื่อเราทราบวาระการประชุม ที่จะรับรองงบการเงินแล้วและต้องจัดการลงประกาศบอกกล่าวเชิญประชุมผู้ถือหุ้น ต้องมีการลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

มติทั่วไป : ให้ลงประกาศล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน

บริษัทจะต้องจัดการประชุมภายใน 4 เดือน
ส่วนใหญ่แล้วบริษัทก็จะมีรอบบัญชีสิ้นสุด 31 ธ.ค. ต้องลงประกาศระหว่าง 1 ม.ค. – 22 เม.ย. ของทุกปีค่ะ และวันประชุมวันสุดท้าย คือ 30 เมษายน ค่ะ

2. มีผู้ทำบัญชีเพื่อรับรองการจัดทำบัญชีนิติบุคคล

งบการเงินของนิติบุคคลที่มีหน้าที่นำส่งงบการเงินให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามที่กฏหมายกำหนด และนอกเหนือจากที่กฏหมายกำหนดแล้ว การจัดทำบัญชีก็จะมีมาตรฐานที่เหล่านักบัญชีต้องปฏิบัติตาม เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกๆกิจการเพื่อข้อมูลก็สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ค่ะ เพราะฉะนั้นในทุกกิจการต้องมีผู้ทำบัญชีรับรองการทำบัญชีด้วยค่ะ

2.1 เช็คสถานะผู้ทำบัญชีแล้วได้อะไร

  • รู้ว่าข้อมูลครบถ้วน ถูกต้องตรงกัน ในแต่ละกิจการมีการแต่งตั้งผู้ทำบัญชี ว่าจะเลือกสำนักงานใด หรือเลือกชื่อบุคคลใดองค์กรที่มีคุณสมบัติทำบัญชีได้ ดังนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยการยื่นรายชื่อของผู้รับบริการให้ครบถ้วนด้วย ถึงเวลานำส่งงบการเงิน ข้อมูลก็จะถูกต้องตรงกันค่ะ
  • ป้องกันการถูกปฏิเสธรับงบการเงิน มีข้อมูลผิดพลาดในจุดใดจุดหนึ่ง จนต้องยื่นงบการเงินฉบับใหม่ หรือยื่นแก้ไขงบการเงินบกพร่อง ในข้อมูลที่ผิดพลาดนั้น ก็จะรวมถึง ข้อมูลผู้ทำบัญชี (ส.บช.3)

2.2 วิธีการเช็คสถานะผู้ทำบัญชี

เช็คสถานะผู้ทำบัญชี
ยื่นงบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า – เช็คสถานะผู้ทำบัญชี

เพื่อนๆเข้าไปที่ www.dbd.go.th > บริการออนไลน์ > เมนู “ผู้ทำบัญชี (e-Account)” > ตรวจค้นข้อมูลผู้ทำบัญชีของนิติบุคคล
เพื่อนๆก็สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ทำบัญชีที่ขึ้นมาได้ ว่าถูกต้องตรงกันกับตอนที่เรายื่นงบการเงิน (ส.บช.3)  หรือไม่

3. รายงานผู้สอบบัญชีรับรองงบการเงิน

หลังจากที่นักบัญชีจัดทำบัญชีแล้ว ก็ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง ว่าเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีหรือไม่ และผู้ที่จะมารับรองความถูกต้องได้นั้น ก็คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตนั่นเอง

ในทุกๆงบการเงินของบริษัทจำกัด ก็ต้องมีผู้สอบบัญชีรับรองงบการเงินก่อนที่จะนำส่งข้อมูลให้ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ค่ะ เราก็ไปเช็คกันว่า ผู้สอบบัญชีที่เราติดต่อไว้ ไม่ได้ลืมยื่นรายชื่อกิจการที่ผู้สอบบัญชีจะรับรองงบการเงิน กิจการของเราใช่ไหม เราก็ไปเช็คกันเลยค่ะ

3.1 วิธีการเช็คสถานะผู้สอบบัญชี

เช็คสถานะผู้สอบบัญชี
ยื่นงบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า – เช็คสถานะผู้สอบบัญชี

เพื่อนๆเข้าไปที่ www.tfac.or.th > เลือก Online Service > ตรวจสอบสถานะสมาชิก
แล้วเลือกปีที่ลงลายมือชื่อ เป็นปีถัดไปของงบการเงินนะคะ เช่น งบการเงินประจำปี 2564 แต่ผู้สอบบัญชีที่ต้องลงลายมือชื่อในปีถัดไป อย่างเช่น ปี 2565 ให้นำ 2565 เป็นปีที่ผู้สอบลงลายมือไปค้นหาค่ะ
จากนั้นกรอกเลขนิติบุคคล กดค้นหา ก็จะขึ้นชื่อผู้สอบบัญชีของกิจการเราค่ะ

3.2 ประเภทหน้ารายงานผู้สอบบัญชี

หน้ารายงานผู้สอบบัญชีในงบการเงิน มีอยู่ 4 รูปแบบ ดังนี้

แบบที่ 1 ไม่มีเงื่อนไข

หน้ารายงานผู้สอบบัญชี – ไม่มีเงื่อนไข หมายถึง ผู้ตรวจสอบบัญชี ไม่พบข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญ เจอข้อความแบบนี้ไม่ต้องกังวล แบบนี้คือผ่านค่ะ

หน้ารายงานผู้สอบบัญชี - แบบไม่มีเงื่อนไข
หน้ารายงานผู้สอบบัญชี – แบบไม่มีเงื่อนไข

แบบที่ 2 มีเงื่อนไข

หน้ารายงานผู้สอบบัญชี – แบบมีเงื่อนไข หมายถึง มีลักษณะเหตุการณ์ทำให้การแสดงความเห็นของงบการเงินเปลี่ยนแปลง เช่น

งบแสดงข้อมูลข้อต่อข้อเท็จจริง

  • นโยบายไม่เหมาะสม
  • นำนโยบายไปใช้ผิด
  • เปิดเผยข้อมูลไม่เหมาะสมไม่เพียงพอ

หรือไม่สามารถหาหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอเพื่อการตรวจสอบได้ แต่ผลกระทบนั้น ยังเป็นเพียงบางบัญชี หรือบางเรื่อง ผลกระทบนั้นไม่ได้แผ่กระจายทั้งงบการเงิน

หน้ารายงานผู้สอบบัญชี - แบบมีเงื่อนไข
หน้ารายงานผู้สอบบัญชี – แบบมีเงื่อนไข

แบบที่ 3 งบการเงินไม่ถูกต้อง

หน้ารายงานของผู้สอบบัญชีที่ร้ายแรงอย่างมาก คือ งบการเงินไม่ถูกต้องค่ะ มีลักษณะยังไงไปดูกันค่ะ

งบแสดงข้อมูลข้อต่อข้อเท็จจริง

  • นโยบายไม่เหมาะสม
  • นำนโยบายไปใช้ผิด
  • เปิดเผยข้อมูลไม่เหมาะสมไม่เพียงพอ

แต่ว่าต่างจากแบบมีเงื่อนไขคือ ผลกระทบของการตรวจสอบที่เกิดขึ้น แผ่กระจายไปทั่วงบการเงินเลย

หน้ารายงานของผู้สอบบัญชี ก็จะบ่งบอกถึงสถานการณ์หรือความเสี่ยงหลายๆอย่างได้ค่ะ เช่น ถ้าหน้ารายงานออกมาแล้วมีเงื่อนไขหรือว่าไม่ถูกต้อง อาจทำให้ขาดความน่าเชื่อถือในงบการเงิน บางครั้งอาจขอสินเชื่อไม่ผ่าน หรือว่าขอเงินทุนไม่ผ่าน

หน้ารายงานผู้สอบบัญชี - งบการเงินไม่ถูกต้อง
หน้ารายงานผู้สอบบัญชี – งบการเงินไม่ถูกต้อง

แบบที่ 4 ไม่แสดงความเห็น

ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน หมายถึง มีลักษณะเหตุการณ์ ไม่สามารถหาหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอเพื่อการตรวจสอบได้

  • ข้อมูลอยู่เหนือการควบคุมของกิจการ
  • วิธีการตรวจสอบ เวลาเข้าตรวจสอบ
  • ถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบโดยผู้บริการหรือมีความไม่แน่นอนที่สำคัญหลายสถานการณ์ ส่งผลกระทบอันเป็นสาระสำคัญ และแผ่กระจายไปทั่วทุกงบการเงิน ผู้สอบบัญชีจะไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน
หน้ารายงานผู้สอบบัญชี - แบบไม่แสดงความเห็น
หน้ารายงานผู้สอบบัญชี – แบบไม่แสดงความเห็น

4. ยื่น บอจ.5

บอจ.5 หรือสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น คือ แบบแสดงรายละเอียดของผู้ถือหุ้น บอกถึง ใครถือหุ้นบ้าง แต่ละคนมีสัดส่วนความเป็นเจ้าของอยู่เท่าไหร่

  • นิติบุคคลไหนต้องยื่น บอจ.5 บ้าง
    บอจ.5 จะใช้แค่กับ “บริษัทจำกัด” เท่านั้นค่ะ และกฏหมายได้ระบุให้ “บริษัทจำกัด” ต้องนำงบการเงินเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่สามัญ โดยบริษัทจำกัดต้องนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นด้วย
  • บอจ. 5 ต้องยื่นเมื่อไร
    นำงบการเงินเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่สามัญ ภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดรอบปีบัญชี (ภายใน 30 เมษายน) โดยบริษัทจำกัดต้องนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่จัดประชุมใหญ่
    แต่ถ้ายื่นไม่ทันอาจโดนเปรียบเทียบปรับ 2,000 บาท ต่อกรรมการ 1 คน

เพื่อนๆสามารถดูวิธีการ ยื่น บอจ.5 คืออะไร ต้องทำยังไงบ้าง?

พอลองเช็คดูแล้ว เป็นยังไงบ้างคะเพื่อนๆ ผ่านไปได้ราบรื่นทุกข้อไหมคะ ที่ต้องเช็คก่อนเพราะว่า ข้อมูลทั้ง 4 ข้อเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการยื่นงบ ถ้าหาก 4 ข้อนี้ไม่ได้ปฏิบัติ ก็จะไม่สามารถยื่นงบกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลยนะคะ หรือหากเรายื่นไปแบบข้อมูลผิดๆ เราก็ต้องมาแก้ไขงบการเงินและข้อมูลอยู่ดีค่ะ ก่อนที่จะยื่นเราก็เตรียมข้อมูลให้ครบถ้วน ถูกต้อง และลองตรวจสอบในระบบซะก่อนเลย เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาในการยื่นแก้ไขงบนะคะ

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า