ความรู้บัญชี

นักบัญชีต้องรู้ งบกําไรขาดทุน ตัวอย่างตามกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน

นักบัญชีต้องรู้ งบกําไรขาดทุน ตัวอย่างตามประกาศฯ รายการย่อในงบการเงิน 2566

สำหรับการปิดงบการเงินที่มีวันเริ่มต้น 1 ม.ค. 2567 เป็นต้นไป ต้องเริ่มจัดทำงบรูปแบบใหม่ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน ฉบับล่าสุดกันแล้วนะคะ และเพื่อนๆ น่าจะทราบกันดีว่างบการเงินที่เราต้องจัดทำนั้น มีตั้งแต่งบฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน และงบการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้น

สำหรับงบที่เข้าใจง่ายที่สุดลำดับแรกน่าจะเป็นงบกำไรขาดทุน ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาดูกันในเรื่องงบกําไรขาดทุน ตัวอย่างตามกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบเป็นอย่างไร และมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้างค่ะ

เนื้อหา ซ่อน

ความเป็นมาของ รายการย่อในงบการเงิน ฉบับปี 2566

สำหรับรายการย่อในการจัดทำงบการเงินนั้น เพื่อนๆ ทุกคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นรูปแบบที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดไว้ เพื่อให้เราจัดทำงบการเงินอย่างมีมาตรฐานเดียวกันค่ะ ซึ่งถ้าย้อนกลับไปเมื่อปี 2554 – 2562

เรามีประกาศทั้งหมด 3 ฉบับ ได้แก่

  • ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 (ฉบับเดิม)
  • ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
  • ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562

แต่ ณ ปัจจุบัน ประกาศดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแล้วนะคะ เหตุที่ต้องยกเลิกทั้ง 3 ฉบับ ก็เพื่อปรับปรุงให้สอดรับกับ TFRS for NPAEs ฉบับใหม่ จึงทำให้ประกาศทั้ง 3 ฉบับนั้น ถูกยกเลิกใช้นั่นเองค่ะ

และในปัจจุบันปี 2567 กำหนดรายการย่อฉบับใหม่ พ.ศ. 2566 ก็ได้ถือปฏิบัติแล้ว สำหรับงบการเงินที่เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ในรายละเอียดของการถือปฏิบัติและตัวอย่างการเช็กงวดบัญชี เพื่อนๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ: นักบัญชีต้องรู้ รายการย่อในงบการเงิน 2566 เริ่มใช้เมื่อไหร่

และสำหรับบทความนี้ เราจะขอพาทุกท่านเจาะลึกไปที่ การเปลี่ยนแปลงของงบกำไรขาดทุนค่ะ ลองไปดูกันต่อในหัวข้อถัดไปได้เลย

ทำความเข้าใจ งบกำไรขาดทุนมีกี่ประเภท?

งบกำไรขาดทุนมีกี่ประเภท
งบกำไรขาดทุนมีกี่ประเภท

กรณีที่เป็นบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เราต้องจัดทำงบกำไรขาดทุน (กรณีไม่ได้เลือกทำงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ) ซึ่งเราเองก็มีสิทธิ์เลือกได้ว่าอยากจะจัดทำตามรูปแบบใด

เรามาทบทวนกันก่อนนิดนึงค่ะว่า งบกำไรขาดทุนนั้นมีกี่ประเภทกันนะ

งบกำไรขาดทุน มี 3 ประเภท ได้แก่

1. งบกำไรขาดทุน แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติของค่าใช้จ่าย

งบกำไรขาดทุนแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ คือ งบที่แยกค่าใช้จ่ายตามหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายหรือลักษณะของค่าใช้จ่ายที่มันเกิดขึ้นจริง ๆ ถ้าอ่านจากชื่อของบรรทัดนั้น จะทราบว่าเป็นบัญชีเกี่ยวกับอะไรบ้างนั่นเองค่ะ

งบนี้ถูกเปลี่ยนชื่อมาจาก งบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะ ที่เป็นชื่อเดิมที่เราใช้กันมาตั้งแต่ปี 2554

2. งบกำไรขาดทุน แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ แบบขั้นเดียว

งบกำไรขาดทุนแบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ คือ งบที่แยกประเภทค่าใช้จ่ายออกตามหมวดหมู่ ดังนี้ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

งบกำไรขาดทุนที่จำแนกหน้าที่แบบขั้นเดียว สังเกตุง่ายๆ คือ
รายได้ก็จะรวมเป็นรายได้ 1 กลุ่ม
ค่าใช้จ่ายก็จะรวมเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด 1 กลุ่ม

ข้อดีของงบตัวนี้ คือ ทำได้ง่าย เพราะเรากรอกข้อมูลแค่ไม่กี่บรรทัดก็ได้คำตอบแล้วว่ากำไรสุทธิเป็นเท่าไรค่ะ

3. งบกำไรขาดทุน แบบจำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ แบบหลายขั้น

งบกำไรขาดทุนที่จำแนกตามหน้าที่แบบหลายขั้น มีส่วนที่แตกต่างจากขั้นเดียวอย่างชัดเจนคือ เราจะทราบ กำไรขาดทุนขั้นต้น
กำไรขาดทุนขั้นต้นเกิดจาก การแยกรายได้หลัก หักด้วย ต้นทุนขายหรือต้นทุนการให้บริการ

ถัดมาถ้ามีรายได้อื่นก็บวกเข้าไปจะเป็นกำไรขาดทุนก่อนค่าใช้จ่าย

ขั้นถัดมาก็เอาค่าใช้จ่ายมาใส่ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหารและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เราก็จะได้ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้วก็จะสามารถคำนวณกำไรขาดทุนทางการเงินได้

เดี๋ยวเราไปดูตัวอย่างงบกำไรขาดทุนแต่ละชนิดกันได้ในหัวข้อ งบกําไรขาดทุน ตัวอย่างแบบใหม่ตามประกาศ รายการย่อในงบการเงินล่าสุดกันค่ะ

งบกำไรขาดทุน มีการเปลี่ยนอะไรบ้าง?

1. เปลี่ยนชื่องบกำไรขาดทุน

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเลยคือ เปลี่ยนชื่อเรียกของประเภทงบกำไรขาดทุน จากเดิม งบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย เปลี่ยนใหม่เป็น งบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติของค่าใช้จ่าย เพื่อให้สอดคล้องกับการนำเสนองบการเงิน TAS 1 นั่นเองค่ะ

งบกำไรขาดทุน มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
งบกำไรขาดทุน มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

2. เปลี่ยนแปลงรายการในงบการเงิน

สำหรับการเปลี่ยนแปลงภายในงบกำไรขาดทุนนั้น เราขอยกตัวอย่างแบบเปรียบเทียบมาให้เพื่อนๆ ดูสองรูปแบบ ดังนี้ค่ะ

งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ

งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ Update รายการย่อ1
งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ Update รายการย่อ1

ชื่อเรียกของประเภทงบกำไรขาดทุน เดิม ชื่อ “งบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย” เปลี่ยนชื่องบการเงินเป็น ชื่อ “งบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติของค่าใช้จ่าย”

งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ Update รายการย่อ2
งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ Update รายการย่อ2

รายการย่อเดิม ชื่อ “การเปลี่ยนแปลงของสินค้าสำเร็จรูปและงานระหว่างทำ” เปลี่ยนแปลงเป็น “การเปลี่ยนแปลงในสินค้าสำเร็จรูปและงานระหว่างทำ”
รายการย่อเดิม ชื่อ “งานที่ทำโดยกิจการและการบันทึกเป็นสินทรัพย์” เปลี่ยนแปลงเป็น “งานที่ทำโดยกิจการและการบันทึกเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน”

งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ Update รายการย่อ3
งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ Update รายการย่อ3

เพิ่มเติมรายการย่อให้ชัดเจนมากขึ้น กรณีที่กิจการพิจารณาการปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ลดลง ชื่อ “ผลขาดทุน (กลับรายการ) จากการลดลงของมูลค่าสินทรัพย์”

เพิ่มเติมรายการย่อ สำหรับกิจการที่มีเงินลงทุนในบริษัทย่อยการร่วมค้า และบริษัทร่วม ที่บันทึกเงินลงทุนโดยใช้วิธีส่วนได้เสีย

งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ Update รายการย่อ4
งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ Update รายการย่อ4

รายการย่อเดิม ชื่อ “ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้” เปลี่ยนแปลงเป็น “ภาษีเงินได้”
รายการย่อเดิม ชื่อ “กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้” เปลี่ยนแปลงเป็น “กำไร (ขาดทุน) ก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้”
รายการย่อเดิม ชื่อ “กำไร (ขาดทุน) ก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้” เปลี่ยนแปลงเป็น “กำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้”
การเปลี่ยนแปลงนี้ ปรับปรุงให้สอดรับกับ TFRS for NPAEs ฉบับใหม่นั่นเอง

งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่

งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ Update รายการย่อ1
งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ Update รายการย่อ1
งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ Update รายการย่อ2
งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ Update รายการย่อ2
งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ Update รายการย่อ3
งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ Update รายการย่อ3
งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ Update รายการย่อ4
งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ Update รายการย่อ4

งบกําไรขาดทุน ตัวอย่างตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า รายการย่อในงบการเงิน 2566

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงบรูปแบบเก่ากับใหม่มาพอสมควรแล้ว เราลองมาดูหน้าตาของงบการเงินรูปแบบใหม่แบบเต็มๆ เทียบกัน 2 ปีดีกว่าค่ะ

งบกําไรขาดทุน ตัวอย่างตามประกาศกรมฯ
งบกําไรขาดทุน ตัวอย่างตามประกาศกรมฯ

1. งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติของค่าใช้จ่าย

ให้สังเกตรูปด้านล่างตรงที่เราทำสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมเอาไว้นะคะ ค่าใช้จ่ายจะจำแนกตามหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายหรือธรรมชาติของค่าใช้จ่ายที่มันเกิดขึ้นจริง ๆ และนําเสนอรายการย่อตามค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงในงานสําเร็จรูป งานระหว่างทําและถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน วัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย เงินเดือนและค่าแรง เป็นต้น

ตัวอย่าง งบกําไรขาดทุน
ตัวอย่าง งบกําไรขาดทุน

2. งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบขั้นเดียว

ประเภทนี้ จะนําเสนอบัญชีค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ ตัวอย่างเช่น ต้นทุนขาย ต้นทุนการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

จะเห็นว่าความแตกต่างจากงบกำไรขาดทุนตามหน้าที่นี้ จะไม่มีบัญชีที่เป็นการแสดงการเปลี่ยนแปลงของสินค้า ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน จะจัดหมวดหมู่เป็นรายการย่อกลุ่มใหญ่ๆ ตามหน้าที่ของแต่ค่าใช้จ่ายนั่นเอง คือ หน้าที่เป็นต้นทุน หน้าที่ขาย หน้าที่บริหาร เป็นต้น

ตัวอย่าง งบกําไรขาดทุน
ตัวอย่าง งบกําไรขาดทุน

3. งบกำไรขาดทุน จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบหลายขั้น

งบกำไรขาดทุนประเภทนี้จะนําเสนอบัญชีค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ ตัวอย่างเช่น ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร แยกตามหน้าที่เหมือนรูปแบบขั้นเดียวค่ะ แต่เป็นการนําเสนอโดยที่เราจะรู้กำไร(ขาดทุน)ขั้นต้น ที่แตกต่างจากงบกำไรขาดทุนแบบขั้นเดียวนั่นเอง

ถ้าหากเพื่อนๆ เจอว่างบกำไรขาดทุนใด มีคำว่า “กำไร(ขาดทุน)ขั้นต้น” ที่หน้างบ ก็ตอบได้ทันทีเลยค่ะ ว่าเป็นงบกำไรขาดทุน จำแนกตามหน้าที่ – แบบหลายขั้น

จุดต้องระวังในงบกำไรขาดทุนแบบใหม่

จุดระวัง ในงบกำไรขาดทุน
จุดระวัง ในงบกำไรขาดทุน

ในส่วนของการจัดทำงบกำไรขาดทุน ถ้าทำความเข้าใจดีๆ เราจะพบว่ารูปแบบไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากมายนัก แต่เพียงแค่เราต้องรู้ว่า กิจการของเราเลือกใช้งบกำไรขาดทุนประเภทไหน และปรับงบให้ตรงตามตัวอย่างรูปแบบตามประกาศ และเมื่อถึงตอนที่ต้องยื่นงบการเงินผ่านช่องทาง DBD E-Filing จะมีขั้นตอนที่เราต้องดาวน์โหลดรูปแบบงบการเงินออกมากรอกข้อมูลให้ถูกต้องด้วยค่ะ

สำหรับคนที่อยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเตรียมตัวทำงบปี 2567 สามารถอ่านต่อได้ที่ เตรียมตัวทำงบปี 2567 อย่างไรบ้าง สำหรับรายการย่อในงบการเงินแบบใหม่

สุดท้ายนี้ เราขอแนะนำคอร์ส CPD ใหม่ล่าสุดคอร์สนี้ เพื่อทำความเข้าใจกำหนดรายการย่อในงบให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นค่ะ

Update รายการย่อที่ต้องมีในงบ และวิธีจัดทำงบการเงิน
Update รายการย่อที่ต้องมีในงบ และวิธีจัดทำงบการเงิน

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า