ความรู้บัญชี

เงินทุนหมุนเวียนคืออะไร ควรจะบริหารอย่างไร

เงินทุนหมุนเวียนคืออะไร ควรจะบริหารอย่างไร

เงินทุนหมุนเวียนในกิจการ อีกหนึ่งสิ่งที่นักบัญชีไม่ควรมองข้าม เพราะว่าเจ้าเงินทุนนี่แหละค่ะ ที่จะแสดงถึงความสามารถว่ากิจการของเรา ควรถึงเวลาในการจัดหาเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพในการดำเนินงานต่อไปหรือไม่ จะต้องมีเงินทุนอยู่ที่ระดับไหนและโดยปกติแล้วระดับเงินหมุนเวียนที่เราควรจะมีจะต้องเป็นเท่าไร วิธีจัดหาเงินทุนและเทคนิคเป็นแบบไหนบ้าง ทาง CPD Academy ได้รวบรวมความรู้เงินทุนหมุนเวียนคืออะไร มาไว้ที่นี่แล้ว มาเรียนรู้กันในบทความนี้กันค่ะ

เนื้อหา ซ่อน

เงินทุนหมุนเวียนคืออะไร ?

  • เงินทุนหมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียนหลังจากหักหนี้สินระยะสั้นแล้ว
  • การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนให้เหมาะสม กับจำนวนหนี้สินระยะสั้น โดยคำนึงถึงคุณภาพของสินทรัพย์หมุนเวียน ตลอดจนระยะเวลาครบกำหนดชำระของหนี้สินระยะสั้นด้วย
เงินทุนหมุนเวียนคืออะไร?
เงินทุนหมุนเวียนคืออะไร?

ทุกๆ กิจการจะต้องรู้จักการบริหารเงินทุน หลายคนคงเคยได้ยินค่ะว่า กำไรดีแต่ไม่มีเงินพอ กำไรดีแต่เจ๊ง (ขนลุกเลย) เนื่องจากว่าเรายังขาดการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ดี ทำให้บางทีมีกำไร แต่ก็ยังเจ๊งได้

ระดับที่เหมาะสมของเงินทุนหมุนเวียน

จริงๆ แล้ว ธุรกิจจะต้องมีเงินหมุนเวียนอยู่ที่ระดับไหน มาดูกันค่ะว่าทุกคนควรมีวิธีคิดอย่างไรบ้าง

  • การบริหารระดับสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินระยะสั้น เป็นการบริหารระหว่างผลตอบแทน (Return) กับความเสี่ยง (Risk) ที่กิจการยอมรับได้
  • การพิจารณาระดับที่เหมาะสมของการลงทุนในสินทรัพย์ระยะสั้นจึงเป็นการเปรียบเทียบ (Trade-off) ระหว่างกำไร (Profitability) กับความคล่องตัว (Liquidity) ที่เกิดจากการลงทุนนั้นให้มีกำไรพอสมควร ในขณะเดียวกับที่มีสภาพคล่องพอด้วย
  • การจัดหาเงินทุนซึ่งกล่าวโดยกว้างๆมีแหล่งของการจัดหา 2 แหล่ง คือจากเจ้าหนี้และจากเจ้าของ
  • จากเจ้าหนี้มีทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นการพิจารณาแยกแหล่งการจัดหาเงินทุนโดยคำนึงถึงระยะเวลาจึงมี 2 แหล่งคือ แหล่งระยะสั้น และ ระยะยาว

เราจะโฟกัสไปเรื่องของการบริหารนะคะ เงินหมุนเวียนเราจะต้องมีสินทรัพย์ที่เพียงพอ โดยที่เราอาจจะต้องจัดหาแหล่งเงินทุนให้มันเหมาะสมกับสินทรัพย์เหล่านั้นด้วยเช่นเดียวกัน

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการที่จะมีสินทรัพย์ในธุรกิจเพื่อที่จะให้มีการดำเนินงานตามปกติ คือ มีของขายพอ มีวัตถุดิบพอ เพื่อส่งต่อให้ลูกค้า ต้องคิดต่อว่าจำนวนเงินเป็นเท่าไร อยู่หมวดไหนบ้างในงบ และต่อไปจึงจะตัดสินใจได้ว่าต้องไปหาแหล่งเงินทุนจากไหน หนี้ระยะยาวเท่าใด และหนี้ระยะสั้นเท่าใด

วิธีจัดหาเงินทุนแบบ Hedging

การจัดหาเงินทุนเพื่อสินทรัพย์หมุนเวียนอาจใช้วิธี Hedging โดยหลักของ Hedging กำหนดไว้ว่า จำนวนเงินที่จะนำมาลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทควรจัดหาจากแหล่งเงินทุนด้วยจำนวนเงินและระยะเวลาที่สอดคล้องกัน

การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน พิจารณาจากลักษณะการลงทุนแล้วสามารถแบ่งได้เป็น  2 ประเภท                

  1. สินทรัพย์หมุนเวียนที่มีความต้องการผันแปรไปตามฤดู
  2. สินทรัพย์หมุนเวียนที่มีความต้องการคงที่

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาสำหรับ Hedging Approach

ความจำเป็นที่เราจะจัดหาเงินทุนแบบวิธี Hedging ก็คือการจับคู่กันระหว่างสินทรัพย์กับหนี้สิน โดยดูจาก

1. ความจำเป็นในการจัดหาเงินไว้เพื่อความปลอดภัย (Margin of Safety)

การคาดคะเนการไหลของเงินสดสุทธิในอนาคตเพื่อการจ่ายชำระหนี้อาจอยู่ภายใต้สถานการณ์ของความไม่แน่นอน (Uncertainty) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ (Technical Insolvency) กิจการควรมีส่วนเกินเพื่อความปลอดภัย (Margin of Safety) ในการชำระหนี้

2. ระดับของการใช้สินทรัพย์หมุนเวียน (Level of Current)

ถ้ากำหนดให้ระดับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรคงที่ และกำหนดให้การบริหารลูกหนี้ การบริหารสินค้าคงเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสม่ำเสมอตลอดช่วงการผลิตนั้นๆ หรือทุกระดับการผลิตการลงทุนในลูกหนี้และสินค้าคงเหลือมีการคาดคะเนไว้ล่วงหน้าแล้ว

ประเภทของเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital)

สามารถจัดประเภทเงินทุนได้ได้ 2 ประเภทคือ

1. ถาวรหรือประจำ (Permanent Working Capital)  

สินทรัพย์หมุนเวียนที่ธุรกิจต้องสำรองไว้ตลอดปี เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ เช่น เงินสดขั้นต่ำ สินค้าคงเหลือขั้นต่ำ เป็นต้น

2. ผันแปรหรือชั่วคราว (Temporary Working Capital)

สินทรัพย์หมุนเวียนที่กิจการต้องถือไว้หรือลงทุนเป็นครั้งคราว นอกเหนือจากสินทรัพย์หมุนเวียนถาวร

การจัดหาเงินทุนสำหรับสินทรัพย์หมุนเวียน

สำหรับประเภทของแหล่งเงินทุน เรามาดูในฝั่งของหนี้สินและส่วนของเจ้าของบ้าง แหล่งเงินทุนแบ่งออกเป็น

1. แหล่งเงินทุนระยะสั้น

เช่น ตั๋วเงินจ่าย เงินกู้ระยะสั้น เงินเบิกเกินบัญชีควรนำไปลงทุนสินทรัพย์หมุนเวียน หรือสินทรัพย์หมุนเวียนผันแปร

2. แหล่งเงินทุนระยะยาว

เช่น เงินกู้ที่มีระยะเวลาชำระคืนเกิน 1 ปี ควรนำไปลงทุนใน สินทรัพย์ถาวร หรือเงินทุนหมุนเวียนถาวร

นโยบายบริหารเงินทุน

การบริหารเงินทุน (Working Capital) เป็นจะช่วยให้เรามีสมดุลระหว่างสินทรัพย์ของธุรกิจ ทั้งที่เป็นสินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์ถาวรแบบหมุนเวียน กับหนี้สินหรือส่วนของเจ้าของได้ดียิ่งขึ้น

แล้วก็หลักการง่ายๆ เรารู้เรื่องของจำนวนเงินและระยะเวลาให้เหมาะสมกันจะใช้วิธี Hedging นั่นเอง

Hedging Approach
Hedging Approach

ตามภาพ Hedging Approach เรามาดูกันค่ะ ว่าภาพนี้บ่งบอกอะไรเราบ้างในภาพรวมก่อนที่เราจะไปดูแยกเป็นแต่ละนโยบาย

เส้นแนวตั้ง คือ สินทรัพย์ทั้งหมด จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนนะคะ คือ สินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์หมุนเวียน
เส้นแนวนอน คือ ระยะเวลา

เมื่อเราแบ่งเส้นสินทรัพย์แล้วว่า สินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์หมุนเวียน ให้เรา Mark กราฟนะคะ ว่าการจัดหาแหล่งเงินทุนในแต่ละปีทำให้สินทรัพย์หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ที่จุดไหนบ้างค่ะ เมื่อเรา Mark กราฟ แล้วสินทรัพย์หมุนเวียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามการจัดหาโดยใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้น ก็จะแสดงให้เห็นดังรูปค่ะ

เราลองมาดูค่ะว่าแต่ละธุรกิจมีนโยบายที่เราจะสามารถเลือกจัดระดับหรือจับคู่ระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินอย่างไรเวลาที่เราจะจัดหาเงินทุนเค้าบอกว่ามันมี 3 เรื่องในเรื่องของการตั้งนโยบาย คือ

1.นโยบายทั่วไป (Average Working Capital Financing) :  แหล่งเงินทุนและระยะเวลาที่สอดคล้องกัน

Average Working Capital Financing
Average Working Capital Financing

2. นโยบายชอบเสี่ยง (Aggressive Working Capital Financing) : ใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้น มากกว่าปกติ

Aggressive Working Capital Financing
Aggressive Working Capital Financing

3. นโยบายระมัดระวัง (Conservative Working Capital Financing) : ใช้แหล่งเงินทุนระยะยาวมากกว่าระยะสั้น

Conservative Working Capital Financing
Conservative Working Capital Financing

นโยบายที่ 2 และนโยบายที่ 3 การจัดหาเงินทุนโดยการลงทุน ในสินทรัพย์กับระยะเวลาครบกำหนดไม่สอดคล้องกัน

เมื่อนักบัญชีอย่างเรามีชุดความรู้เกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียนคืออะไร ควรจะบริหารยังไงได้อย่างมีเสถียรภาพแล้ว จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุน และการงานแผนงานบริหารด้านต่างๆ ดียิ่งขึ้น สะท้อนออกมาในรูปแบบของโครงสร้างเงินทุนที่แข็งแกร่งนั่นเองค่ะ

นักบัญชีคนไหนอยากศึกษา วีธีการบริหารเงินในธุรกิจในทุกแง่มุม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่นะคะ: สรุป 8 วิธีบริหารเงินธุรกิจ ทำยังไงได้บ้าง

ทุกท่านสามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับเรื่องบัญชี – ภาษี บทความอื่นๆ เพิ่มเติมคลิกที่ Link ได้เลยนะคะ

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า