ความรู้บัญชี

ผู้สอบบัญชีแจ้งรายชื่อแล้วจะโดนปลอมแปลงไหม เช็คยังไง แก้ไขแบบไหนได้บ้าง

ผู้สอบบัญชีแจ้งรายชื่อแล้วจะโดนปลอมแปลงไหม เช็คยังไง แก้ไขแบบไหนได้บ้าง

สำหรับผู้สอบบัญชี คงจะเป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อถึงรอบการตรวจสอบบัญชีประจำปีแล้ว ต้องแจ้งรายชื่อบริษัทที่ทำการตรวจสอบบัญชี หรือที่ผู้สอบบัญชีลงความเห็นในหน้ารายงานการตรวจสอบ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้สอบบัญชีแจ้งรายชื่อแล้วจะโดนปลอมแปลงไหม วันนี้เรามาดูกันว่าเราจะเช็คได้ยังไง แล้วถ้าถูกนำชื่อไปใช้โดยไม่ได้ตรวจสอบงบการเงินนั้นเราจะแก้ยังไง

ผู้สอบบัญชีแจ้งรายชื่อแล้วจะโดนปลอมแปลงไหม เช็คยังไง

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทุกคนควบคุมดูแลโดยสภาวิชาชีพบัญชี ดังนั้นฐานข้อมูลจะอยู่ในระบบของสภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งแน่นอนว่าหากจะเช็คข้อมูลก็ทำได้ง่ายดาย โดยเริ่มจาก Login เข้าระบบสมาชิกและผู้สอบบัญชีก่อน เมื่อเข้าสู่ระบบได้แล้วทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลย

1. เข้าเมนูข้อมูลงบการเงินที่มีการแจ้งเตือน

เลือกเมนู แจ้งรายชื่อธุรกิจ>>ข้อมูลงบการเงินที่มีการแจ้งเตือนในระบบ DBD e-Filling

ข้อมูลงบการเงินที่มีการแจ้งเตือนในระบบ DBD e-Filling หมายถึง บริษัทส่งงบการเงินใน DBD e-Filling และใช้ชื่อเราเป็นผู้สอบบัญชี แต่เรายังไม่ได้แจ้งรายชื่อเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทนั้น

1. เข้าเมนูข้อมูลงบการเงินที่มีการแจ้งเตือน
1. เข้าเมนูข้อมูลงบการเงินที่มีการแจ้งเตือน – ผู้สอบบัญชีแจ้งรายชื่อ

2. ค้นหาข้อมูลงบการเงินที่มีการแจ้งเตือน

ใส่เลขทะเบียนผู้สอบ และปีที่ลงลายมือชื่อแล้วกดค้นหา ระบบจะโชว์หน้าผลลัพธ์ แบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้

ระบบขึ้นข้อความว่า “ไม่พบข้อมูล” ลักษณะนี้หมายถึง บริษัทที่ยื่นงบการเงินใน DBD e-Filling รายชื่อทั้งหมดนั้น เราได้ยืนยันรายชื่อ/แจ้งรายชื่อ ครบถ้วนแล้ว

ระบบ “แสดงชื่อบริษัท” ลักษณะนี้หมายถึง มีบริษัทที่ยื่นงบการเงินใน DBD e-Filling และใช้เลขทะเบียนผู้สอบ ของเราในการยื่นงบการเงิน โดยที่เรายังไม่ได้ยืนยันรายชื่อ/แจ้งรายชื่อ

จากทั้ง 2 กรณีนี้ เหตุผลที่เราไม่ได้ยืนยันรายชื่อ/แจ้งรายชื่อมันก็เป็นไปได้หลายรูปแบบใช่ไหมล่ะ งั้นเราไปต่อขั้นที่ 3 กันเลย

2. ค้นหาข้อมูลงบการเงินที่มีการแจ้งเตือน
2. ค้นหาข้อมูลงบการเงินที่มีการแจ้งเตือน

3. เลือกเหตุผลของงบการเงินที่มีการแจ้งเตือน

กรณีที่ระบบ “แสดงชื่อบริษัท” เราต้องเลือกเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ได้ยืนยันรายชื่อ/แจ้งรายชื่อ เพราะว่าตามข้อบังคับของสภาวิชาชีพบัญชีแล้ว ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่แจ้งรายชื่อบริษัทที่ตนเองทำการตรวจสอบบัญชีเป็นประจำทุกปี ดังนั้นการที่เราไม่แจ้งรายชื่อก็เป็นการผิดข้อบังคับ หรือกรณีร้ายแรงเราอาจจะกำลังถูกปลอมแปลงรายชื่ออยู่ก็เป็นได้นะ

ดังนั้นหากเราไม่ได้แจ้งรายชื่อแต่ถูกนำชื่อไปใช้ ระบบจะให้เราเช็คตนเองอีกทีว่าผิดพลาดที่ตรงไหนและให้เหตุผล ซึ่งตัวอย่างเหตุผลที่ไม่ได้แจ้งรายชื่อมีดังนี้ค่ะ

  1. ลืมแจ้งรายชื่อธุรกิจและวันสิ้นงวดบัญชี
  2. แจ้งรายชื่อธุรกิจ แต่กรอกข้อมูลไม่ถูกต้อง
  3. นิติบุคคลกรอกข้อมูลส่วนผู้สอบบัญชีในระบบ DBD e-filing ไม่ถูกต้อง
  4. โดนปลอมแปลงลายมือชื่อ
  5. อื่นๆ ที่ไม่ใช่ 1-4 ให้ระบุเพิ่มเติม

เห็นไหมล่ะว่าเหตุผลแต่ละข้อนั้นบางอันก็ดูร้ายแรงเลยนะ แต่ไม่เป็นไร เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมีการแก้ไขกันนะ

3. เลือกเหตุผลของงบการเงินที่มีการแจ้งเตือน
3. เลือกเหตุผลของงบการเงินที่มีการแจ้งเตือน

หากพบว่าผู้สอบบัญชีไม่ได้แจ้งรายชื่อ แก้ไขแบบไหนได้บ้าง?

จากหัวข้อก่อนหน้านี้หากเราไม่ได้แจ้งรายชื่อระบบจะให้เราใส่เหตุผลเข้าไป ว่าทำไมกันล่ะเราถึงไม่แจ้งรายชื่อ หลังจากนั้นเราก็มาดำเนินการแก้ไขกันตามเหตุผลของแต่ละข้อนะ

1. ลืมแจ้งรายชื่อธุรกิจและวันสิ้นงวดบัญชี

หากผู้สอบบัญชีลืมแจ้งรายชื่อธุรกิจและวันสิ้นงวดบัญชี แต่ได้ทำงานตรวจสอบบัญชีไปแล้วจริง

ให้เราไปแจ้งเพิ่มเติมในระบบโดย เลือกเมนู “แจ้งรายชื่อธุรกิจ>>การแจ้ง/ยืนยันการสอบบัญชี” แล้วทำการแจ้งรายชื่อเพิ่มเติมเข้าไป ระบบจะลบรายการในตารางข้อมูลแจ้งเตือนให้อัตโนมัติ เป็นอันเสร็จสิ้น

2. แจ้งรายชื่อธุรกิจ แต่กรอกข้อมูลไม่ถูกต้อง

กรณีนี้คือผู้สอบบัญชีได้ทำงานตรวจสอบบัญชีไปแล้วจริง แต่ว่าดันแจ้งรายชื่อหรือยืนยันรายชื่อผิดไป เช่น วันสิ้นงวดผิด ชื่อบริษัทผิด หรือเลขนิติบุคคลผิด

กรณีที่แจ้งวันสิ้นงวดบัญชีผิด หากยังไม่ยืนยันวันที่ลงลายมือชื่อ เราสามารถไปแก้ไขวันสิ้นงวดบัญชีได้ที่เมนู “แจ้งรายชื่อธุรกิจ>>การแจ้ง/ยืนยันการสอบบัญชี>>แก้ไขแจ้งวันสิ้นงวดบัญชี” แล้วกดบันทึกการแก้ไข

แต่ในกรณีที่กดยืนยันการลงลายมือชื่อในระบบไปแล้ว ให้เรากด save/print ข้อมูลเดิมเก็บไว้เป็นหลักฐาน แล้วยกเลิกรายการเดิมที่ไม่ถูกต้อง หลังจากนั้นให้แจ้งรายการที่ถูกเข้าไปใหม่ ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น

3. นิติบุคคลกรอกข้อมูลส่วนผู้สอบบัญชีในระบบ DBD e-filing ไม่ถูกต้อง

กรณีที่ผู้สอบบัญชีได้ทำงานตรวจสอบบัญชีไปแล้วจริง และได้แจ้ง/ยืนยันการสอบบัญชี อย่างถูกต้องแล้ว แต่ทางฝั่งบริษัทหรือผู้ทำบัญชียื่นข้อมูลส่วนผู้สอบบัญชีในระบบ DBD e-filing ไม่ถูกต้อง

ถ้ากรณีนี้ผู้สอบบัญชีทำถูกแล้ว แต่คนที่จะต้องแก้คือทางฝั่งของบริษัทเอง ผู้สอบบัญชีต้องติดต่อไปยังบริษัทเพื่อให้แก้ไขข้อมูลผู้สอบบัญชีในแบบนำส่งงบการเงิน (แบบ ส.บช.3) ให้ถูกต้อง

4. โดนปลอมแปลงลายมือชื่อ

กรณีนี้คือผู้สอบบัญชีไม่ได้ทำงานตรวจสอบบัญชีให้ แต่ถูกแอบอ้างใช้ชื่อเป็นผู้สอบบัญชี

หากผู้สอบบัญชีตรวจสอบจากข้อมูลลูกค้าแล้วพบว่าไม่ได้ทำงานตรวจสอบบัญชีนี้จริง และถูกแอบอ้างชื่อจริงก็ต้องมีการดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ค่ะ

  1. คัดสำเนารายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ปรากฎลายมือชื่อที่ถูกปลอมแปลง และสำเนาแบบนำส่งงบการเงิน (ส.บช.3) จากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  2. แจ้งความร้องทุกข์ ณ สถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ โดยระบุชื่อนิติบุคคลและรอบปีบัญชีที่ถูกปลอมลายมือชื่อในใบแจ้งความด้วย
  3. ยื่นหนังสือร้องเรียนเพื่อปฏิเสธการตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงิน โดยดูที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของนิติบุคคลเป็นหลักว่าอยู่ที่ไหน และยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กองธรรมาภิบาลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนั้น ๆ

สรุป

ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่แจ้งรายชื่อบริษัทที่ตนเองตรวจสอบเป็นประจำทุกรอบปีบัญชีอยู่แล้ว แต่ในขณะเดียวกันก็ควรตรวจสอบความถูกต้องของการแจ้งรายชื่อ/ยืนยันรายชื่อเป็นประจำเช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะละเลยไม่ได้เลย

หากมีใครนำชื่อเราไปใช้ในทางที่ผิด และหน้ารายงานความเห็นผู้สอบบัญชีนั้นเป็นชื่อเรา ผลกระทบภายหลังอาจถึงขั้นถูกฟ้องร้องได้ หรือร้ายแรงอาจถึงขั้นติดคุกได้เลย CPD Academy จึงขอย้ำเตือนผู้สอบบัญชีทุกท่านอย่าลืมที่จะตรวจเช็คความถูกต้องของการแจ้งรายชื่อ/ยืนยันรายชื่ออย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ

หากใครอยากทำความรู้จักอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี ต้องจบอะไร ทำงานแบบไหน คลิกที่ลิงค์นี้เลย

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามได้ที่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า