ความรู้บัญชี

ทำความเข้าใจ หน้ารายงานผู้สอบบัญชีในงบการเงิน

ทำความเข้าใจ...หน้ารายงานผู้สอบบัญชีในงบการเงิน

สวัสดีค่ะ…เวลาหัดอ่านงบการเงิน หรืออ่านงบการเงินของกิจการของตัวเอง เมื่อได้งบการเงินมาแล้ว ส่วนใหญ่เราจะเปิดไปอ่านหน้าที่เป็นงบกำไรขาดทุนก่อนเลยอันดับแรก เพื่อที่จะดูผลประกอบการว่าเป็นผลกำไรหรือว่าขาดทุน จ่ายภาษีเท่าไหร่ แต่บางครั้งก็ลืมข้อมูลสำคัญของงบการเงินไปคือ หน้ารายงานของผู้สอบบัญชี ซึ่งหน้ารายงานของผู้สอบบัญชี ก็จะบ่งบอกถึงสถานการณ์หรือความเสี่ยงหลายๆอย่างได้ค่ะ เช่น ถ้าหน้ารายงานออกมาแล้วมีเงื่อนไขหรือว่าไม่ถูกต้อง อาจทำให้ขาดความน่าเชื่อถือในงบการเงิน บางครั้งอาจขอสินเชื่อไม่ผ่าน หรือว่าขอเงินทุนไม่ผ่าน

หน้ารายงานผู้สอบบัญชีในงบการเงิน มีอยู่ 4 รูปแบบ

แบบที่ 1 ไม่มีเงื่อนไข

หน้ารายงานนี้อ่านแล้วสบายใจ หมายถึง ผู้ตรวจสอบบัญชี ไม่พบข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญถ้าเจอแบบนี้ไม่ต้องกังวลเลยนะคะ แบบนี้คือผ่านค่ะ

Slide3 16 - CPD Academy

ตอนที่อ่านคำว่า ไม่มีเงื่อนไข ดูเหมือนจะเป็นคำที่แบบจะเป็นปัญหาใช่ไหมคะ แต่จริงๆแล้ว ไม่มีเงื่อนไขคือ ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วไม่มีเงื่อนไขที่จะแสดงในการตรวจสอบค่ะ ก็คืองบการเงินของเราเป็นไปตามปกตินั่นเอง

แบบที่ 2 มีเงื่อนไข

Slide4 10 - CPD Academy

มีเงื่อนไข หมายถึง มีลักษณะเหตุการณ์ทำให้การแสดงความเห็นของงบการเงินเปลี่ยนแปลง เช่น

งบแสดงข้อมูลข้อต่อข้อเท็จจริง

– นโยบายไม่เหมาะสม

– นำนโยบายไปใช้ผิด

– เปิดเผยข้อมูลไม่เหมาะสมไม่เพียงพอ

และไม่สามารถหาหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอเพื่อการตรวจสอบได้ แต่ผลกระทบนั้น ยังเป็นเพียงบางบัญชี หรือบางเรื่อง ผลกระทบนั้นไม่ได้แผ่กระจายทั้งงบการเงิน

Slide5 7 - CPD Academy

แบบที่ 3 งบการเงินไม่ถูกต้อง

งบการเงินไม่ถูกต้อง หมายถึง มีลักษณะเหตุการณ์ทำให้การแสดงความเห็นของงบการเงินเปลี่ยนแปลง เช่นงบแสดงข้อมูลข้อต่อข้อเท็จจริง

งบแสดงข้อมูลข้อต่อข้อเท็จจริง

– นโยบายไม่เหมาะสม

– นำนโยบายไปใช้ผิด

– เปิดเผยข้อมูลไม่เหมาะสมไม่เพียงพอ

แต่ว่าต่างจากมีเงื่อนไขคือ ผลกระทบของการตรวจสอบที่เกิดขึ้น แผ่กระจายไปทั่วงบการเงินเลย

แบบที่ 4 ไม่แสดงความเห็น

ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน หมายถึง มีลักษณะเหตุการณ์ ไม่สามารถหาหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอเพื่อการตรวจสอบได้

– ข้อมูลอยู่เหนือการควบคุมของกิจการ

– วิธีการตรวจสอบ เวลาเข้าตรวจสอบ

– ถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบโดยผู้บริการหรือมีความไม่แน่นอนที่สำคัญหลายสถานการณ์ ส่งผลกระทบอันเป็นสาระสำคัญ และแผ่กระจายไปทั่วทุกงบการเงิน ผู้สอบบัญชีจะไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน

หน้ารายงานของผู้สอบบัญชี มีข้อดีคือ สามารถรู้เกี่ยวกับการบริหารงานภายใน หรือว่าบริษัทดังกล่าวมีปัญหาติดขัดในส่วนใด เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงิน และผู้อ่านงบนำไปเป็นส่วนร่วมในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่ว่าการที่หน้ารายงานผู้สอบบัญชีออกมาแบบไม่ปกตินั่น ก็จะส่งผลเสียเกี่ยวกับประวัติธุรกิจ และการทำธุรกรรมทางธุรกิจค่ะ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญเลย คือผู้บริหารและ นักบัญชีจะต้องเตรียมพร้อมเรื่องข้อมูลของการปิดบัญชีในแต่ละครั้ง เพื่อให้งบการเงินออกมาแบบปกติ คือ รูปแบบไม่มีเงื่อนไข ปิดงบเสร็จ พอตอนได้งบการเงินมา ก็เช็คหน้ารายงานด้วยนะคะ ว่าหน้ารายงานผู้สอบบัญชีออกมาให้แบบไหน ก่อนที่จะสำเนาส่งต่อให้บุคคลที่สามในการทำธุรกรรมทางธุรกิจค่ะ

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน สอบถามได้ที่นี่

Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า