ความรู้บัญชี

6 เรื่องต้องเช็ค ยื่นงบการเงิน E-filing ให้ถูกต้อง

6 เรื่องที่ต้องเช็ค ยื่นงบการเงิน e-filing ให้ถูกต้อง

พอถึงฤดูกาลแห่งกาลยื่นงบการเงินที่ต้องแข่งกับเวลา พวกเราบัญชีส่วนใหญ่เลือกการยื่นงบ DBD E-filling เป็นช่องทางการยื่นงบที่สะดวกสบายและรวดเร็ว แต่การที่สะดวกสบายและรวดเร็วก็อาจจะเป็นดาบสองคม ที่อาจจะทำให้เรานำส่งงบการเงินไปแบบผิดพลาดแบบไม่ทันรู้ตัว และเราต้องมาเสียเวลาแก้ไขงบให้ถูกต้องอีกครั้ง ถ้าไม่อยากยื่นงบแบบผิดๆ มีเรื่องอะไรต้องเช็คบ้าง ลองมาดู 6 เรื่องนี้ ก่อนยื่นงบการเงิน E-filing กันค่ะ

1. ลงทะเบียน ยื่นงบการเงิน E-filling

ก่อนจะยื่นงบได้เราต้องลงทะเบียนยื่นงบการเงิน E-filing ไว้ด้วยนะ บางคนไม่เคยลงทะเบียนไว้ ถึง Deadline วันสุดท้ายเมื่อไรก็มากดยื่นงบแบบนี้น่ากลัวสุดๆ

สำหรับกิจการที่เพิ่งขอรับ Username และ Password เป็นครั้งแรก สามารถขอรับผ่านทางเว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่จดทะเบียน ข้อกำหนดนี้ได้เริ่มต้นเมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน 2561 ค่ะ

2. เช็คชื่อผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี

การเช็คสถานะผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชีว่าทั้ง 2 คนได้แจ้งชื่อให้กิจการเรียบร้อยไหม เพื่อประโยชน์ 3 เรื่องนี้

  • ข้อมูลครบถ้วน ถูกต้องตรงกัน
  • ป้องกันการนำส่งข้อมูลผิดพลาด
  • ป้องกันการถูกปฏิเสธรับงบการเงิน

เพื่อนๆ สามารถเช็คสถานะผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนนี้

เช็คสถานะผู้ทำบัญชี
เช็คสถานะผู้ทำบัญชี

สถานะผู้ทำบัญชี

เพื่อนๆเข้าไปที่ www.dbd.go.th > บริการออนไลน์ > เมนู “ผู้ทำบัญชี (e-Account)” > ตรวจค้นข้อมูลผู้ทำบัญชีของนิติบุคคล
เพื่อนๆก็สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ทำบัญชีที่ขึ้นมาได้ ว่าถูกต้องตรงกันกับตอนที่เรายื่นงบการเงิน (ส.บช.3) หรือไม่

เช็คสถานะผู้สอบบัญชี
เช็คสถานะผู้สอบบัญชี

สถานะผู้สอบบัญชี

เพื่อนๆเข้าไปที่ www.tfac.or.th > เลือก Online Service > ตรวจสอบสถานะสมาชิก
แล้วเลือกปีที่ลงลายมือชื่อ เป็นปีถัดไปของงบการเงินนะคะ เช่น งบการเงินประจำปี 2564 แต่ผู้สอบบัญชีที่ต้องลงลายมือชื่อในปีถัดไป คือ ปี 2565 ให้นำ 2565 เป็นปีที่ผู้สอบลงลายมือไปค้นหาค่ะ
จากนั้นกรอกเลขนิติบุคคล กดค้นหา ก็จะขึ้นชื่อผู้สอบบัญชีของกิจการเราค่ะ

3. เลือกประเภทงบกำไรขาดทุนให้ถูกต้องก่อน ยื่นงบการเงิน E-Filing

รูปแบบของงบกำไรขาดทุน แบบฟอร์มงบกำไรขาดทุนแบบไหน ประเภทงบกำไรขาดทุนมีแบบไหนบ้าง ไปดูกันค่ะ
ในตัวเลือกของบริษัทจำกัด จะมีอยู่  3 ประเภท ดังนี้

งบกําไรขาดทุน งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจำแนกประเภทค่าใช้จ่าย
1. แบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่ายแบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย แสดงแบบงบเดียวจำแนกตามลักษณะค่าใช้จ่าย
2. แบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบขั้นเดียวแบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบขั้นเดียว แสดงแบบงบเดียวจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบขั้นเดียว
3. แบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบหลายขั้นแบบค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบหลายขั้น แสดงแบบงบเดียวจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบหลายขั้น

จากตารางข้างบน เราจะเจอคำศัพท์แปลกๆ คือ
จำแนกตามลักษณะค่าใช้จ่าย หมายถึง การนําเสนอบัญชีค่าใช้จ่ายตามลักษณะค่าใช้จ่าย เช่น การเปลี่ยนแปลงในงานสําเร็จรูป งานระหว่างทําและถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน วัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย เงินเดือนและค่าแรง เป็นต้น

จำแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ จะแบ่งเป็น 5 หมวดหลักๆ ได้แก่ ต้นทุนขาย ต้นทุนการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ


จําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบหลายขั้น จะนําเสนอบัญชีค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ 5 หมวด ตามที่อธิบายไว้ข้างบน แต่เป็นการนําเสนอรายได้ สลับกับการหักค่าใช้จ่าย ไม่ได้แยกตามประเภทหรือหมวดหมู่ของชื่อบัญชี โดยที่เราจะรู้กำไร(ขาดทุน)ขั้นต้น ที่แตกต่างจากงบกำไรขาดทุนอื่นๆนั่นเอง


หากดูงบกำไรขาดทุนใด มีคำว่า “กำไร(ขาดทุน)ขั้นต้น” ที่หน้างบ ก็ตอบได้ทันทีเลยค่ะ ว่าเป็นงบกำไรขาดทุน จำแนกตามหน้าที่ – แบบหลายขั้น

มาถึงจุดนี้ถ้าใครอยากยื่นงบเองแล้ว สามารถอ่านบทความยื่นงบการเงินออนไลน์ผ่าน DBD E-Filing ทำอย่างไร? เพิ่มเติม เพราะนอกจากจะมีการเลือกงบการเงินแล้ว ยังมีหัวข้ออื่นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานอีกด้วยค่ะ

4. เช็คไฟล์ DBD XBRL in Excel จุดไหนสำคัญ

การดาวน์โหลดไฟล์งบการเงิน นิติบุคคลต้องดาวน์โหลดไฟล์ DBD XBRL in Excel มากรอกข้อมูลเพื่อยื่นงบการเงินค่ะ และที่สำคัญไฟล์นี้จะใช้ได้เฉพาะนิติบุคคล 1 รายเท่านั้น และรูปแบบของงบการเงิน ก็อาจจะไม่เหมือนกันด้วย

ขั้นตอนการดาวน์โหลด DBD XBRL in Excel มีดังต่อไปนี้

  • เข้าสู่ระบบ
  • เตรียมข้อมูลงบการเงินและ/หรือบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
  • เตรียมข้อมูลแบบ Offline
  • Download ไฟล์ Excel งบการเงิน V.2.0 (ในอนาคตอาจมีเวอร์ชั่นอัปเดตกว่านี้มาใหม่เรื่อยๆ นะคะ)

และมาถึงขั้นตอนที่สำคัญก่อนที่จะดาวน์โหลด “ไฟล์ DBD XBRL in Excel” เราจะต้องเลือกข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้

  • รอบระยะเวลางวดปีปัจจุบันที่เราจะยื่นงบการเงิน
  • เลือกรูปแบบงบการเงิน ตามมาตรฐานรายงานทางการเงินที่กิจการใช้
  • เลือกรูปแบบของงบกำไรขาดทุน

จากนั้น กด Download ไฟล์ลงคอมพิวเตอร์ของเรา ไฟล์ที่ได้มาจะเป็นไฟล์ .Zip ทำการ Extract File แล้วลงมือกรอกงบการเงินได้เลย

5. เช็คหมายเหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องอัพโหลดเข้าระบบ E-Filing เช่นกัน เพราะฉะนั้นต้องตรวจสอบก่อนที่จะกดอัพโหลด เช็คตามข้อต่อไปนี้ค่ะ

  • ชื่อบริษัท
  • รอบระยะเวลา
  • ทดสอบบวกเลขในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  • จำนวนเงินในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ตรงกัน หน้างบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุน
  • จำนวนหน้าหมายเหตุงบการเงินสแกนไว้ครบถ้วน

6. เช็คสถานะยื่นงบสำเร็จ

เมื่อเรากรอกไฟล์ แล้วอัพโหลดงบเข้าระบบตามเงื่อนไขต่างๆของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ก็ต้องตรวจสอบสถานะการยื่นแบบและพิมพ์ใบนำส่ง เพื่อเป็นความมั่นใจว่า ระบบไม่ได้ขัดข้องอะไร นำส่งสำเร็จแน่ๆ มีหลักฐานในการนำส่งด้วย
หากมีการผิดพลาดขึ้นมา เราก็มีใบนำส่งเพื่อเป็นการยืนยันว่าเราได้นำส่งงบการเงินแล้วจริงๆ

ใบนำส่งงบการเงิน - ยื่นงบการเงิน e-filing
ใบนำส่งงบการเงิน – ยื่นงบการเงิน e-filing

เป็นยังไงบ้างคะเพื่อนๆ เช็ค 6 เรื่องได้อย่างมั่นใจแบบนี้แล้ว ทั้งเรื่องของการลงทะเบียน ตรวจเช็คชื่อผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีถูกต้องหรือไม่ เลือกประเภทงบกำไรขาดทุนให้ถูกต้อง ตรวจเช็คไฟล์ DBD XBRL in Excel ตรวจสอบหมายเหตุประกอบงบการเงินและสถานะยื่นงบสำเร็จหรือไม่ หวังว่า 6 เรื่องนี้ จะช่วยให้เพื่อนๆยื่นงบการเงินแบบรอบเดียวผ่านฉลุย รอบเดียวผ่าน ไม่มีแก้ไขเลยนะคะ เพราะถ้ามีแก้ไข ก็ต้องยื่นเรื่องใหม่กันยาวเลยค่ะ
แต่ถ้าเกิดมีการแก้ไขจริง ก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป ลองศึกษาวิธีแก้ไขต่อที่บทความนี้เลย: แก้ไขงบการเงินที่ยื่นผิด…ต้องทำอย่างไร?

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y





เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า