ความรู้บัญชี

สรุปครบ…ค่าปรับยื่นงบล่าช้าเสียเท่าไร ยังไงบ้าง

ค่าปรับยื่นงบล่าช้าเสียเท่าไร ยังไงบ้าง

กิจการที่กำลังเจอปัญหาในการจัดทำงบการเงิน และคาดว่าการทำงบการเงินนั้น ไม่สามารถยื่นงบการเงินให้ทันเวลาที่กำหนดได้ เช่น ไม่มีคนทำบัญชีให้ หรือว่าเอกสารไม่ครบถ้วนจึงทำบัญชีได้ไม่สำเร็จ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่สิ่งที่ตามมาที่เจ้าของธุรกิจต้องรับผิดชอบคือ ค่าปรับยื่นงบล่าช้า และบางครั้งนักบัญชีเองจะต้องทำความเข้าใจ เพื่อสื่อสารกับเจ้าของธุรกิจให้รู้ถึงภาระและความเสี่ยงนี้ค่ะ ถ้าทำงานจนสุดความสามารถแล้ว เราไม่สามารถยื่นงบได้ทันจริง ค่าปรับที่ต้องเจอมีอะไรบ้างลองไปศึกษาพร้อมๆ กันเลย

ด้วยความที่เราต้องนำส่งงบการเงินหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2 องค์กร ต่อไปนี้

เวลาเจอค่าปรับ เราเองก็จะถูกปรับจากทั้ง 2 องค์กรนี้เช่นกันค่ะ โดยรายละเอียดของค่าปรับจะมีดังต่อไปนี้

1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เดดไลน์ของการยื่นงบการเงิน

สำหรับงบที่ปิดรอบระยะเวลา 1 ม.ค. – 31 ธ.ค.

กฎหมายกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน นิติบุคคลต่างประเทศ กิจการร่วมค้า ต้องนำส่งงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิด  รอบปีบัญชี คือ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี

สำหรับบริษัทจำกัด ต้องนำงบการเงินเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่สามัญภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดรอบปีบัญชี (ภายใน 30 เมษายน ของทุกปี) โดยบริษัทจำกัดต้องนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่จัดประชุมใหญ่

หลังจากนั้นทั้งบริษัทจำกัด จะต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น

ถ้าเรายื่นงบการเงินล่าช้า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเราต้องเสียค่าปรับตามระยะเวลาที่ล่าช้า แบ่งเป็น 3 ช่วงดังนี้

1.1 ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

ค่าปรับยื่นงบล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน
ค่าปรับยื่นงบล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

1.2 ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน

ค่าปรับยื่นงบล่าช้าเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน
ค่าปรับยื่นงบล่าช้าเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน

1.3 ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 4 เดือน หรือไม่ยื่นงบการเงิน

ค่าปรับยื่นงบล่าช้าเกิน 4 เดือน หรือไม่ยื่นงบการเงิน
ค่าปรับยื่นงบล่าช้าเกิน 4 เดือน หรือไม่ยื่นงบการเงิน

ค่าปรับก็จะเพิ่มตามจำนวนเดือนที่ล่าช้าเพิ่มขึ้นนะคะ อัตราค่าปรับก็จะปรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ/ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน

1.4 ค่าปรับยื่น บอจ.5 ไม่ทันกำหนด หรือไม่ยื่น บอจ.5

นอกจากยื่นงบล่าช้าแล้ว ถ้าไม่ได้ยื่น บอจ. 5 ตามกำหนดนี้ ก็จะมีค่าปรับด้วย

สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ตามกฎหมายต้องส่งภายใน 14 วันนับจากวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี

หากไม่ได้นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ตามกำหนด มีโทษเปรียบเทียบปรับกรรมการคนละ 2,000 บาท

1.5 ค่าปรับไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชี ไม่ส่งสำเนางบดุลให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า ไม่มีสำเนาเปิดเผยไว้ในสำนักงาน

อีกส่วนนึงที่เราต้องถูกปรับไปโดยปริยายถ้ายื่นงบล่าช้า คือ การไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชี และส่งสำเนางบให้ผู้ถือหุ้นภายในเวลาที่กำหนดสำหรับบริษัทจำกัด โดยมีอัตราค่าปรับตามนี้

บริษัทจำกัดค่าปรับ
– ไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบดุล
– ไม่ส่งสำเนางบดุลให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าก่อนวันประชุม 3 วัน
– ไม่มีสำเนางบดุลเปิดเผยไว้ในสำนักงานของบริษัท
มีโทษเปรียบเทียบปรับผู้จัดการ/กรรมการ/คณะกรรมการ คนละ 1,000 บาท (แล้วแต่กรณี)
และ
กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทคนละ 1,000 บาท

2. กรมสรรพากร

เดดไลน์ของการยื่นแบบภาษีและงบการเงิน

สำหรับกรมสรรพากร กำหนดให้ธุรกิจต้องยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด.50 ประจำปี ภายใน 150 วัน พร้อมกับงบการเงิน (Link ข้อมูลมาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

ถ้าไม่ได้ยื่นงบการเงินแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็น่าจะไม่สามารถยื่นภาษีได้ตามกำหนดโดยปริยาย (เศร้าจุง) เราจะมีค่าปรับแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1 ค่าปรับของการยื่นแบบภาษีเกินกำหนด

  • ไม่เกิน 7 วัน ( 1-7 วัน)  ค่าปรับ 1,000 บาท
  • เกิน 7 วัน ค่าปรับ 2,000 บาท

ถ้าหากมีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระเงิน มีเงินเพิ่มที่ต้องชำระ 1.5% ต่อเดือนด้วยนะคะ

2.2 ค่าปรับไม่ยื่นงบการเงิน

เนื่องจากตามกฎหมายกำหนดให้เรายื่นงบการเงินทั้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร เมื่อไรก็ตามที่เราพลาดยื่นงบการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วก็จะโดนค่าปรับยื่นงบช้าจากสรรพากรโดยปริยาย

สำหรับกรมสรรพากรเอง ถ้าเกินกำหนดยื่นงบการเงินก็เสียค่าปรับอัตราเดียว จำนวน 2,000 บาท

อัตราค่าปรับกรมสรรพากร
อัตราค่าปรับกรมสรรพากร

โดยสรุปแล้วทั้งหมดนี้คือ ค่าปรับทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นกับการยื่นงบการเงินไม่ทัน นอกจากจะเกี่ยวข้องกับตัวงบแล้ว ยังมีค่าปรับที่สืบเนื่องอื่นๆ เช่น บอจ. 5 การจัดประชุม และแบบภาษี ฉะนั้น ถ้าเพื่อนๆรู้ค่าปรับที่ต้องจ่ายชำระแล้ว หากปิดงบการเงินไม่ทันจริงๆ หรือว่าลูกค้าไม่สามารถส่งข้อมูลให้ทางสำนักงานบัญชีได้ทัน เราก็ควรชี้แจงต่อเจ้าของกิจการถึงความเสี่ยงและค่าปรับนี้ไว้ล่วงหน้าค่ะ เพราะบางครั้งมันอาจทำให้เจ้าของกิจการกระตือรือร้นส่งข้อมูลให้เราทำงานให้เสร็จทันเวลาได้ค่ะ


และถ้าใครอยากยื่นงบให้ทันไม่มีปัญหาในภายหลัง เราแนะนำเช็คในบทความนี้เพิ่มเติมได้เลยจ้า: 6 เรื่องที่ต้องเช็ค ยื่นงบการเงิน e-filing ให้ถูกต้อง

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า