ไลฟ์สไตล์

ออดิทคืออะไร มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร

ออดิทคืออะไร

คำว่า “ออดิท” น่าจะเป็นคำที่นักบัญชีคุ้นหูกันอยู่แล้ว เพราะตั้งแต่ตอนเรียน เราก็มักจะเห็นรุ่นพี่บางคนไปทำงานด้านนี้ หรือตอนที่ทำงานบัญชี เราก็มักได้ยินบ่อยๆว่า ต้องปิดงบให้เรียบร้อย เพื่อให้พวกเค้ามาตรวจสอบ

และจริงๆ แล้ว คำว่า ออดิท มันคืออะไร ใช่แค่คนที่คอยนั่งตรวจสอบการทำงานของนักบัญชีเท่านั้นหรือไม่ ในบทความนี้ CPD Academy จะพาเพื่อนๆ ไปเรียนรู้กันค่ะ

ออดิท คืออะไร?

จริงๆ แล้วคำนี้ย่อมาจากคำว่า Auditor ในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึง คนที่ได้รับอนุญาตให้ตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชี และให้ความเชื่อมั่นว่าบริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเสียภาษีอากรถูกต้อง ซึ่งการมีผู้ตรวจสอบนั้นช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากการทุจริตหรือทำงานผิดพลาดได้มาก นอกจากนี้เอง ผู้ตรวจสอบบัญชียังช่วยแนะนำเจ้าของธุรกิจเพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วย

แต่ทว่าในการทำงานสายตรวจสอบเอง ก็จะแบ่งประเภทการทำงานออกเป็นหลายรูปแบบ และแต่ละงานก็จะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป

ผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor) มีกี่ประเภท?

ประเภทของผู้ตรวจสอบบัญชี แบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ

ออดิทมีกี่ประเภท
ผู้สอบบัญชีมีกี่ประเภท

1. ผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก (External Auditor)

ผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก เป็นบุคคลที่มีอิสระจากบริษัท และถูกจ้างมาตรวจสอบงบการเงิน เพื่อให้ความเชื่อมั่นแก่บุคคลภายนอก อย่างเช่น นักลงทุน ผู้ใช้งบการเงิน ผู้ให้สินเชื่อ
 
ผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอกเอง ก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยๆ ก็คือ ผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร (TA) และผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

สำหรับธุรกิจขนาดเล็กจะตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร (TA) และธุรกิจขนาดใหญ่จะตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ทั้งนี้งบการเงินที่ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีภายนอก ต้องนำส่งแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากรเป็นประจำทุกปีด้วย
 

2. ผู้ตรวจสอบบัญชีภายใน (Internal Auditor)

ผู้ตรวจสอบภายใน เป็นขั้วตรงข้ามกับผู้สอบบัญชีภายนอก เนื่องจากว่าพวกเค้าเป็นพนักงานในบริษัทค่ะ ที่ถูกว่าจ้างมาเพื่อตรวจสอบการทำงานในองค์กร ว่ามีการทำงานอย่างมีแบบแผนตามที่กำหนดไว้หรือไม่ มีข้อผิดพลาดอะไรเกิดขึ้นในการทำงานแต่ละขั้นตอนหรือเปล่า

บ่อยครั้งที่ผู้ตรวจสอบบัญชีภายในเห็นข้อผิดพลาดในการปฏิบัติ แล้วรายงานกับผู้บริหาร เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีสำหรับธุรกิจนะคะ

แต่ทว่าในทุกๆ บริษัทอาจจะไม่ได้มีแผนกหรือตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีภายในเสมอไปนะ ส่วนใหญ่แล้วบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบภายในจะเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ที่ต้องมีการควบคุมภายในที่ดี และมีความโปร่งใสในสายตาคนนอกมากๆ ค่ะ จึงจะมีแผนกตรวจสอบภายในแยกออกมาต่างหากเลย

3. ผู้ตรวจสอบของรัฐบาล

ผู้ตรวจสอบของรัฐบาล ก็เป็นอีกสายงานหนึ่งที่ทำหน้าตรวจสอบหน่วยงานต่างๆ ในรัฐบาล ว่าเงินรายได้ที่ได้รับมากจากภาษีประชาชนนั้น เจ้าหน้าที่รัฐใช้มันอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับหรือไม่

การที่มีผู้ตรวจสอบของรัฐมาตรวจสอบการใช้จ่ายนั้น จะช่วยลดปัญหาการทุจริต คอรัปชั่นได้ และที่สำคัญยังช่วยกำจัดความเสี่ยงจากการใช้เงินประชาชนแบบผิดวิธีได้ด้วยเช่นกันจ้า

4. ผู้ตรวจสอบบัญชีนิติวิทยาศาสตร์

ผู้ตรวจสอบบัญชีนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Auditor) สายตรวจสอบนี้เกี่ยวข้องกับการนำความรู้เฉพาะด้านบัญชี มาช่วยในการสืบสวนหาหลักฐานในคดีความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการฉ้อโกง หรือว่าอาชญากรรม เพื่อใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลต่อไป การนักบัญชีนิติวิทยาศาสตร์ถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากในประเทศไทย แล้วพวกเค้าควรมีความรู้ในเรื่องใด ลองไปดูสรุปที่ อาจารย์ศิลปพร ศรีจั่นเพชร กล่าวไว้ ดังต่อไปนี้

  1. ความรู้เกี่ยวกับการทุจริต (Fraud Knowledge) นักบัญชีนิติวิทยาควรมีความรู้ และ
    ทักษะอย่างเพียงพอที่จะรับทราบสัญญาณบอกเหตุเกี่ยวกับการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น (Warning Signs
    หรือ Red Flag) รวมทั้งจุดอ่อนของระบบการควบคุมภายในต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง หรือ
    การทุจริต
  2. ทักษะการตรวจสอบ (Investigative Competency) เนื่องจากการทุจริตมักถูกปิดบังไว้
    อย่างดี ดังนั้น ทักษะนี้จึงจำเป็นมากในการใช้หาหลักฐานทางคดีความ
  3. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย (Knowledge of Law) นักบัญชีนิติวิทยาควรมีความรู้ ทั้ง
    กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าการกระทำอันไม่สมควรนั้นละเมิดต่อกฎหมาย
    ในเรื่องใด
  4. ความรู้เกี่ยวกับหลักฐาน (Rules of Evidence) หลักฐานที่ได้จากการตรวจสอบอาจมี
    ความแตกต่างจากหลักฐานทางกฎหมาย นักบัญชีนิติวิทยาจึงต้องมีความรู้ในเรื่อง กฎเกณฑ์ของ
    หลักฐานทางกฎหมายด้วย
  5. ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ (Business Knowledge) ซึ่งจะช่วยในการประเมินความเสี่ยงและระบุปัญหา รวมทั้ง วางแผนและปฏิบัติงานตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ทักษะการติดต่อสื่อสาร (Communication Skill) การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการทำหน้าที่เป็นพยานในศาล

พอจะเข้าใจว่าออดิทคือใคร ทำอะไรกันแน่ และสายงานอาชีพตรวจสอบบัญชีมีทั้งหมดกี่แบบไปแล้ว คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆ ที่กำลังเรียนบัญชีอยู่ หรือว่านักบัญชีที่กำลังอยากเปลี่ยนสายงานมาเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีนะคะ

มาทำความรู้จักอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี ต้องจบอะไร ทำงานแบบไหน ได้เพิ่มเติมที่ลิงค์นี้เลย

สำหรับใครที่สงสัยว่าผู้สอบบัญชีทั้ง 4 ประเภทนี้ เค้าต้องมีใบประกอบวิชาชีพอะไรบ้างนะ ลองดูสรุปในภาพนี้ได้เลยค่ะ

สรุปความต่าง ผู้สอบบัญชี
สรุปความต่าง ผู้สอบบัญชี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า