สำหรับนักบัญชี นานนนนน..ที ที่จะได้วางแผนการลงทุนให้ผู้บริหารนะคะ ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในวิธีการบริหารเงินธุรกิจ ถ้าถึงเวลาที่ต้องวางแผนการลงทุน ก็ต้องจัดทำงบประมาณการลงทุนให้ผู้บริหารได้นำไปประกอบการตัดสินใจ ใครที่กำลังเจอปัญหาในการเริ่มต้นวางแผนงบประมาณลงทุน ทาง CPD Academy ได้รวบรวมความรู้ไว้ให้ที่นี่แล้วค่ะ บทความนี้จะพาทุกคนมาเรียนรู้เกี่ยวกับงบประมาณลงทุนคืออะไร เงินทุนมาจากไหน มีต้นทุนอะไรบ้าง ขั้นตอนการทำงบประมาณสำหรับการลงทุนเป็นอย่างไร และวิธีประเมินค่าโครงการลงทุนมีทั้งหมดกี่วิธี มาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันนะคะ
งบประมาณการลงทุนคืออะไร ?
ก่อนจะรู้ว่างบประมาณการลงทุน (Capital Budgeting) คืออะไร จะชวนทุกคนมาทำความเข้าใจแต่ละคำแยกกันแบบนี้นะคะ
- งบประมาณ (Budgeting) : การวางแผนงานไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้เงินสำหรับวัตถุประสงค์อะไร จำนวนเท่าไร
- เงินทุน (Capital) : เงินทุนระยะยาวของธุรกิจ สำหรับการลงุทนเรื่องต่างๆ เช่น ทำสินค้าใหม่, ขยายการผลิต,เปลี่ยนแปลงเครื่องจักรและอุปกรณ์, R&D นวัตกรรมใหม่
โดยสรุปแล้ว คำว่า งบประมาณการการลงทุน คือ การวางแผนล่วงหน้าสำหรับการลงทุนระยะยาว ดังนั้น ธุรกิจต้องใช้เงินค่อนข้างสูงเราจึงต้องศึกษาให้มั่นใจว่าสุดท้ายแล้วจะต้องคืนทุนในอนาคตแน่นอน
เงินทุนมาจากไหน? มีต้นทุนอะไรบ้าง?
เงินลงทุนของเราควรจะมาจากไหนบ้าง เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นเราแบ่งได้เป็น 2 หมวด คือ
1. หนี้สิน: กู้ยืม มีต้นทุนการกู้ยืม เรียกว่า ดอกเบี้ยจ่าย
2. ส่วนของเจ้าของ
- ออกหุ้นบุริมสิทธิ มีต้นทุนเงินทุกเรียกว่า เงินปันผล
- ออกหุ้นสามัญ มีต้นทุนเงินทุกเรียกว่า เงินปันผล และผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิออกเสียง
- ใช้กำไรสะสม มีต้นทุนค่าเสียโอกาส หรือต้องรักษาอัตราผลตอบแทนต่ำสุดที่ผู้ถือหุ้นต้องการ
เท่านี้ทุกคนก็พอจะทราบแล้วว่าเงินทุนทั้ง 2 ประเภทมีอะไรบ้าง และแต่ละประเภทก็มีค่าใช้จ่ายของมันค่ะ
ขั้นตอนการทำงบประมาณการลงทุน
ถ้าสมมุติว่าเรารู้แล้วว่าเราควรจะเอาเงินมากจากแหล่งไหน ในขั้นตอนถัดไปก็จะเป็นขั้นตอนการจัดทำงบประมาณการลงทุน เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าโปรเจกต์นี้เราควรจะตัดสินใจลงทุนหรือไม่ควรจะตัดสินใจลงทุน โดยมี 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ
1. รวบรวมโครงการ
ผู้ที่เสนอโครงการลงทุนอาจมาจากฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายตลาดต้องการขยายช่องทางตลาด ฝ่ายผลิตต้องการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรและอุปกรณ์ เป็นต้น
2. ประมาณการกระแสเงินสด
เงินสดถือเป็นหัวใจสำคัญของการลงทุนของกิจการใดๆ ก็ตามต้องใช้เงินสด เราต้องประมาณการกระแสเงินสดเข้าและออกให้ได้จากแต่ละโครงการลงทุนให้ได้
ตัวอย่าง ลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่
กระแสเงินสดออก ปีแรก 10 ล้านบาท
กระแสเงินสดเข้า คาดว่าจะได้รับเงินเข้ามาปีละ 2 ล้านบาท เป็นจำนวน 10 ปี
ทั้งกระแสเงินสดเข้าและออกที่เราประมาณการนี้ ต้องมีสมมติฐานที่รองรับเพียงพอด้วยนะ เช่น มีการเสิร์จหาข้อมูลแล้ว หรือมีข้อมูลจากในอดีตชี้วัดมาบ้าง เพื่อที่จะไปประเมินขั้นตอนถัดไปแม่นยำมากยิ่งขึ้น
3. ประเมินค่าโครงการลงทุน (ด้วยวิธีต่างๆ)
เป็นการนำเอาตัวเลขของกระแสเงินสดสุทธิหรือผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนมาทำการคำนวณโดยการไปหาความสัมพันธ์กับเงินที่ลงทุนไป เพื่อหาผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนต่างๆ
ตัวอย่างวิธีการที่นิยมใช้ประเมินการลงทุน เช่น
- วิธีอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ย
- วิธีระยะเวลาคืนทุน
- วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ
- วิธีดัชนีก าไร
- วิธีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง
เดี๋ยวเราจะขออธิบายหลังจากนี้ค่ะ
4. ตัดสินใจลงทุน (Yes/No)
กิจการตัดสินว่าจะยอมรับโครงการใดบ้าง ควรจะเลือกโครงการใดจึงจะเหมาะสม การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
- โครงการซึ่งมีความสัมพันธ์กัน หมายถึง โครงการที่จะต้อง ทำร่วมกัน ความสำเร็จของโครงการหนึ่งขึ้นอยู่กับโครงการหนึ่งถ้าโครงการใดถูกปฏิเสธโครงการอื่นๆ ก็จะดำเนินไปไม่ได้
- โครงการซึ่งสนองวัตถุประสงค์เดียวกัน เช่น โครงการติดตั้งระบบควบคุมไฟฟ้าในอาคาร จะเลือกเพียงระบบเดียวที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด และโครงการอื่นๆที่เหลือจะถูกตัดออกไปโดยปริยาย
- โครงการอิสระ หมายถึง โครงการลงทุนที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน วัตถุประสงค์ของโครงการแตกต่างกัน การตัดสินใจเลือกโครงการจะใช้พิจารณาจาก Profitability index
การติดตามประเมินผลการตัดสินใจ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตัดสินใจทุกประเภท เพื่อติดตามผลของการตัดสินใจว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ จะได้หาทางแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
วิธีประเมินค่าโครงการลงทุน
อย่างที่เล่าไปว่าเราสามารถประเมินค่าโครงการลงทุนได้หลายวิธีด้วยกันค่ะ
- วิธีอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ย (Average Rate of Return : ARR)
- วิธีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB)
- วิธีอัตราผลตอบแทนจากโครงการลงทุน (Internal Rate of Return : IRR)
- วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV)
- วิธีดัชนีกำไร (Profitability Index: PI)
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง 2 วิธีที่ไม่ได้ซับซ้อนมาก และนักบัญชีน่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ค่ะ
1. วิธีอัตราตอบแทนถัวเฉลี่ย (ARR)
เป็นวิธีเช็คว่าอัตราผลตอบแทนนั้น ได้มากหรือน้อย โดยเทียบกับความต้องการเป็นหลัก
สูตรการคำนวณผลตอบแทนเฉลี่ยมีดังนี้
ARR1 = กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อปี / เงินลงทุนเฉลี่ย x 100
ARR2 = กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อปี / เงินลงทุน x 100
ตัวแปรต่างๆ คำนวณมาดังนี้
กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อปี = ผลรวมกำไรสุทธิตลอดอายุโครงการ / อายุโครงการ
เงินลงทุนเฉลี่ย = เงินลงทุนเริ่มแรก – มูลค่าซาก / 2
เงินลงทุน = เงินลงทุนเริ่มแรก – มูลค่าซาก
** ใช้สูตรใดก็ได้ แต่ต้องใช้สูตรเดียวกันทุกโครงการจึงจะนำมาเปรียบเทียบกันได้
ตัดสินใจลงทุนวิธีอัตราตอบแทนถัวเฉลี่ย (ARR)
- ยอมรับโครงการ : ARR > = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
- ปฏิเสธโครงการ : ARR < อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
2. วิธีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period: PB)
วิธีนี้เป็นการคำนวณระยะเวลาในการลงทุนตั้งแต่เริ่มลงทุนจนกระทั่งได้รับเงินลงทุนกลับคืนมาพอดี
สูตรที่ใช้ในการคำนวณคือ
ระยะเวลาคืนทุน (ปี) = เงินลงทุนเริ่มแรก / เงินสดรับสุทธิต่อปี
ตัดสินใจลงทุนวิธีระยะเวลาคืนทุน (PB)
- ยอมรับโครงการ ระยะคืนทุนของโครงการ < ระยะเวลาคืนทุนที่กำหนด
- ปฏิเสธโครงการ ระยะคืนทุนของโครงการ > ระยะเวลาคืนทุนที่กำหนด
ถ้ามีหลายโครงการ (ทุกโครงการมี PB น้อยกว่าที่กำหนด) ให้เลือกโครงการที่คืนทุนสั้นที่สุด เร็วที่สุด
ตัวอย่างการคำนวณวิธีระยะเวลาคืนทุน
บริษัท CPD Academy จำกัด มีโครงการลงทุนที่ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มแรก 1,200,000 บาท และคาดว่าจะได้รับ เงินสดสุทธิเท่ากันตลอดอายุโครงการปีละ 400,000 บาท เป็นเวลา 5 ปีด้วยกัน อยากทราบว่าระยะเวลาคืนทุน ของโครงการนี้เป็นเท่าใด
ระยะเวลาคืนทุน (ปี) = | เงินลงทุนเริ่มแรก / เงินสดรับสุทธิต่อปี |
1,200,000 / 400,000 | |
3 ปี |
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีที่เรายกตัวอย่างขึ้นมาให้เพื่อนๆ ทำความเข้าใจค่ะ ส่วนที่เหลืออีก 3 วิธี จะขออธิบายวิธีตัดสินใจแบบคร่าวๆ ดังนี้
- สำหรับตัว IRR หรือว่าอัตราผลตอบแทนจากโครงการลงทุนอันนี้จะเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการคล้ายๆ กับวิธีที่ 1 แต่วิธีการคิด IRR มันอาจจะซับซ้อนกว่ามันต้องมีการ Discount ต่างๆ เกิดขึ้น
- วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) เราจะยอมรับโครงการก็ต่อเมื่อ NPV > 0 ก็คือยอมรับโครงการแปลว่าเราได้กำไรจากโครงการนี้ถ้าดูจากกระแสเงินสดรับ – กระแสเงินสดออก มาเปรียบเทียบกัน
- วิธีดัชนีกำไร (Profitability Index: PI) เราจะยอมรับโครงการก็ต่อเมื่อ PI > 1 เราถึงจะยอมรับโครงการ
นี่แหละก็เป็นข้อควรรู้เกี่ยวกับงบประมาณสำหรับการลงทุน ฉบับย่อๆ สำหรับนักบัญชีทุกท่านที่กำลังเริ่มต้นวางแผนงบประมาณสำหรับการลงทุน รับรองว่า เมื่อเข้าใจทั้งหมดในบทความนี้ สามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับการประเมินโครงการที่ผู้บริหารของท่านต้องการลงทุนอย่างแน่นอน นักบัญชีควรที่จะต้องแนะนำผู้บริหารได้อย่างมืออาชีพเพื่อสร้างคุณค่าความเป็นนักบัญชีในตัวเรากันนะคะ
นักบัญชีท่านไหนอยากเรียนรู้เพิ่มเติมสามารถมาอบรมกับเราได้ที่ คอร์สวิธีบริหารเงินธุรกิจที่นักบัญชีควรรู้
ทุกท่านสามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับเรื่องบัญชี – ภาษี บทความอื่นๆ เพิ่มเติมคลิกที่ Link ได้เลยนะคะ
เรียนบัญชีออนไลน์ เก็บชั่วโมง CPD ที่ www.cpdacademy.co
สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y