ในการทำงานยุคปัจจุบันนี้ หลังจากฝ่าฟันวิกฤตโควิทกันมาแล้ว ทุกๆกิจการต้องผ่านการหัดใช้โปรแกรมในการประชุม อบรมสัมมนา สั่งงาน ตรวจงาน หรือว่าส่งงาน ต่างก็ต้องมีแอพพลิเคชั่น หรือโปรแกรมมาเป็นตัวช่วยในการทำงานกันมากขึ้น ทำให้สำนักงานบัญชีเอง หรือว่าลูกค้าที่เรารับทำบัญชีต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าโปรแกรม ซอฟท์แวร์ ส่วนใหญ่แล้วค่าโปรแกรม ซอฟท์แวร์ระดับอินเตอร์เนชั่ลแนลก็จะจัดตั้งอยู่ที่ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ส่วนนี้แหละค่ะ ที่เราต้องเรียนรู้กันเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นภาษีให้ถูกต้อง จะมีเรื่องอะไรบ้างมาดูกันค่ะ
เมื่อเกิดค่าใช้จ่ายค่าโปรแกรม ซอฟท์แวร์ต่างประเทศ เป็นการจ่ายเงินไปต่างประเทศ ต้องยื่น ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 มีอยู่ 2 แบบภาษี ที่ต้องยื่น เราไปดูกันค่ะ
- แบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.36
- แบบนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด.54
เราไปดูกันค่ะ ว่าจะต้องยื่นในอัตราเท่าไหร่ และยื่นอย่างไรกันบ้าง ในแบบมีช่องเยอะแยะไปหมด จะต้องเลือกรายการไหนบ้างนะ
การจ่ายเงินไปต่างประเทศ ต้องยื่น ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 ยังไง?
จ่ายค่าโปรแกรม ซอฟท์แวร์ ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.36
ภ.พ. 36 คือ แบบที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ที่จ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการ จะเป็นผู้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7% แทนผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่ประกอบกิจการในต่างประเทศ ให้นำส่งเงินภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ในกรณีที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับมากกว่า 1 ราย หรือ จ่ายเงินได้พึงประเมินมากกว่า 1 ประเภท ให้แยกยื่นแบบ ภ.พ.36 แยกเป็นแต่ละรายผู้รับ และหรือแยกเป็นแต่ละรายประเภทการจ่ายเงินได้เลยค่ะ
ตัวอย่างการคำนวณแบบ ภ.พ.36
ยกตัวอย่างเช่น จ่ายเงินค่าโปรแกรม ZOOM ให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่ต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศไทย
จำนวนเงิน $14.99 หรือ 509.66THB ($14.99*สมมติ $1 = 34THB)
จำนวนเงินที่จ่าย 509.66THB
คูณ อัตราภาษี 7%
เท่ากับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องยื่นแบบ ภพ.36 = 35.68 บาท
หากมีนำส่งในเดือนปัจจุบัน ให้นำมาใช้สิทธิภาษ๊ซื้อไปใช้สิทธิในเดือนหน้าด้วยนะคะ ถือเป็นสินทรัพย์ที่กิจการสามารถใช้สิทธิได้ โดยการให้นำไปรวมในยอดซื้อและภาษีซื้อใบแบบภพ.30 และอย่าลืมใส่เข้าไปในรายงานภาษีซื้อด้วยน้า
การกรอกข้อมูลในแบบยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.36
ต่อไปเราไปดูแบบยื่นกันค่ะ ว่ามีช่องที่เราต้องกรอกข้อมูลที่สำคัญมีอะไรบ้าง
ดาวน์โหลดแบบภาษีได้ที่นี่ แบบภ.พ.36
หลังที่เราทุกท่านกรอกข้อมูลส่วนตัวของกิจการแล้ว ต่อไปเป็นการพาทุกท่านกรอกแบบเกี่ยวกับการจ่ายซื้อค่าโปรแกรม ซอฟท์แวร์ต่างประเทศกันค่ะ
ขั้นตอนที่ 1 มีหน้าที่ในการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีใด ให้เราเลือก (1) คือ การจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการให้ผู้ประกอบการในราชาอาณาจักรเป็นการชั่วคราว หรือให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ หรือให้แก่ผู้ประกอบอื่นที่กำหนดโดยพระราชกฤษฏีกา
ขั้นตอนที่ 2 กรอกชื่อ – ที่อยู่ ของผู้ประกอบการที่อยู่ต่างประเทศ โดยสามารถหาข้อมูลได้จาก INVOICE ที่ได้มา
ขั้นตอนที่ 3 กรอกวันที่จ่ายเงิน และวันที่ INVOICE
ขั้นตอนที 4 ให้เลือก (2) เป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชาอาณาจักร
ขั้นตอนที่ 5 จ่ายชำระราคาสำหรับ ให้กรอก ค่าโปรแกรมและซอฟท์แวร์
ขั้นตอนที่ 6 กรอกจำนวนเงินที่จ่ายและกรอกจำนวนภาษี (จำนวนเงินที่จ่าย x 7%)
ถ้าหากครบ 6 ขั้นตอนในข้อมูลที่จำเป็นแล้ว ก็กดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต หรือว่ายื่นกระดาษที่กรมสรรพากรพื้นที่ได้เลยค่ะ
ถ้าหากยื่นกระดาษ นำส่งเงินภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นนะคะ
แต่ถ้าชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบค่ะ
จ่ายค่าโปรแกรม ซอฟท์แวร์ ยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด.54 (ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย)
ภงด.54 คือ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากร
ซึ่งค่าโปรแกรมและซอฟแวร์ถือเป็นค่าสิทธิ ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฏากร
ต้องหัก ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% แต่ต้องพิจารณาอนุสัญญาภาษีซ้อนร่วมด้วย เนื่องจากบางประเทศมีการทำข้อตกลงในการลดอัตราภาษี
ตัวอย่างการคำนวณแบบ ภ.ง.ด.54
ยกตัวอย่างเช่น จ่ายเงินค่าโปรแกรม ZOOM ให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่ต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศไทย
จำนวนเงิน $14.99 หรือ 509.66THB ($14.99*สมมติ $1 = 34THB)
จำนวนเงินที่จ่าย 509.66THB
คูณ อัตราภาษี 5% (ประเทศสหรัฐอเมริกา ลดอัตราภาษีเป็น 5%)
เท่ากับจะต้องหัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องยื่นแบบ ภงด.54 = 25.48 บาท
การกรอกข้อมูลในแบบยื่นภาษีภ.ง.ด.54
ต่อไปเราไปดูแบบยื่นกันค่ะ ว่ามีช่องที่เราต้องกรอกข้อมูลที่สำคัญมีอะไรบ้าง
ดาวน์โหลดแบบภาษีได้ที่นี่ แบบภ.ง.ด.54
ขั้นตอนที่ 1 การนำส่งภาษี ให้เราเลือก (1) คือ ภาษีหักจากเงินได้ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฏากร
ขั้นตอนที่ 2 กรอกชื่อ – ที่อยู่ ของผู้ประกอบการที่อยู่ต่างประเทศ โดยสามารถหาข้อมูลได้จาก INVOICE ที่ได้มา
ขั้นตอนที่ 3 เลือกประเภทเงินได้ที่จ่ายเป็น (4) ค่าสิทธิอื่นๆ ตามมาตรา 40(3)
ขั้นตอนที 4 กรอกจำนวนเงินที่จ่ายและกรอกจำนวนภาษี (จำนวนเงินที่จ่าย x อัตราภาษี)
ขั้นตอนที่ 5 กรอกวันที่จ่ายเงิน และวันที่ INVOICE
ถ้าหากครบ 5 ขั้นตอนในข้อมูลที่จำเป็นแล้ว ก็กดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต หรือว่ายื่นกระดาษที่กรมสรรพากรพื้นที่ได้เลยค่ะ
ถ้าหากยื่นกระดาษ นำส่งเงินภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน แต่ถ้าชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบค่ะ
เมื่อในองค์กรของเรามีโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่ใช้อยู่แล้วก็อย่าลืมสำรวจองค์กรของท่านเองนะคะ ว่าได้ขอเอกสารในการจ่ายเงินซื้อจากทางผู้ประกอบการต่างประเทศมาอย่างถูกต้องหรือไม่ ก็คือใบ Invoice ที่ระบุข้อมูลและเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีของกิจการ เพื่อที่จะนำยื่นแบบภพ.36 และ ภงด.54 อย่างถูกต้องค่ะ
การจ่ายเงินไปต่างประเทศ ต้องยื่น ภ.พ.36 และ ภ.ง.ด.54 อย่าลืมสำรวจกิจการของท่านเองนะคะ ว่ามีการจ่ายเงินซื้อโปรแกรม ซอฟแวร์จากทางผู้ประกอบการต่างประเทศมาหรือไม่ เพื่อที่จะนำยื่นแบบภพ.36 และ ภงด.54 อย่างถูกต้องและทันต่อเวลาค่า ไม่งั้นเสียค่าปรับแย่เลย
ในบทความนี้มีภาษีที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ประเภทค่ะ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสามารถศึกษา 2 ภาษีนี้ได้เพิ่มเติมที่นี่เลยค่ะ
ประเด็นสำคัญ ต้องรู้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร
Withholding tax คิดยังไงบ้าง และคำถามที่พบบ่อย
อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน สอบถามได้ที่นี่
Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y