ความรู้บัญชี

แก้ไขงบการเงินที่ยื่นผิด…ต้องทำอย่างไร?

แก้ไขงบการเงินที่ยื่นผิดทำอย่างไร

ช่วงยื่นงบประจำปีของพวกเราชาวนักบัญชี ที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา เฮ้อออออ… กว่าจะผ่านมาได้ ทำเอาไม่ได้หลับไม่ได้นอนกันทุกปีเลยซินะ แต่พวกเราก็อย่าลืม ว่านักบัญชีที่อึดและอดทนอย่างพวกเราก็ผ่านมาได้เสมอทุกปีเช่นกันนะ
ในแต่ละครั้งของการยื่นงบการเงิน เราก็มีรีบๆร้อนๆรนๆ ที่เราต้องทำงานแข่งกับเวลาใช่ไหมคะ ยิ่งถ้าไม่ใครช่วยตรวจสอบด้วยแล้วเนี่ย ข้อผิดพลาดก็อาจจะเกิดขึ้นได้เยอะ แล้วถ้าสุดท้ายเรายื่นงบไปผิดจริงๆ จะมีวิธีแก้ไขงบการเงินอย่างไรบ้าง ขั้นตอนยุ่งยากไหม มีอะไรที่นักบัญชีต้องสนใจ เราไปศึกษากันได้ที่นี่นะคะ

1. งบการเงินที่ยื่นผิดแก้ไขได้หรือไม่

ปัจจุบันนี้นะคะ มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยมนุษย์ในการทำงานมากขึ้น อย่างเช่น การตรวจสอบ หรือการจับคู่ข้อมูลต่างๆ การยื่นงบการเงินออนไลน์ ก็จะถูกตรวจสอบ หรือจับคู่ข้อมูลเบื้องต้นจากระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หากมีข้อมูลที่ผิดปกติ ผิดประเภท ระบุไม่ถูกประเภท ก็จะขึ้นแสดงแจ้งเตือนในระบบว่าพบข้อมูลที่ผิดพลาด หรือว่าไม่ถูกต้องตรงกันค่ะ
หรือพนักงานบัญชี นิติบุคคลเองนี่แหละค่ะ ที่รู้จุดผิดพลาดว่าผิดจุดไหน ควรจะแก้ไขอะไร  เราก็สามารถยื่นเรื่องเพื่อที่จะแก้ไขงบได้ค่ะ แต่ว่าการขอแก้ไขงบเองก็จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและรอให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบให้อนุมัติอีกครั้งค่ะ
ขั้นตอนและการยื่นเรื่องขอแก้ไขงบการเงินจะเป็นอย่างไรบ้างมาดูกัน

2. สาเหตุของข้อผิดพลาดมีอะไรบ้าง ดูยังไง

ข้อผิดพลาดมี 2 แบบ คือ

  1. ผิดแบบยื่นงบการเงินใหม่
  2. ผิดแบบงบบกพร่อง

สาเหตุของความผิดพลาดนั้นประกอบด้วย

ยื่นงบการเงินฉบับใหมยื่นงบการเงินบกพร่อง
สาเหตุที่ผิด– การแก้ไขตัวเลขในงบการเงินที่ส่งผลกระทบต่อยอดรวม
– แก้ไขรอบบัญชีใหม่
– ผู้สอบไม่ลงลายมือชื่อรับรอง หรือ ใบอนุญาตสิ้นผล
– ข้อมูลใน ส.บช.3 ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี รหัสธุรกิจ ประเภทธุรกิจ
– การแก้ไขงบที่ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดรวม
– ไฟล์สแกนที่นำส่งครั้งแรก สแกนขาด/เกิน/ไม่ชัด

เพื่อนๆเห็นไหมคะ ว่าการยื่นงบการเงินฉบับใหม่นั้น จะเป็นการผิดแบบต้องแก้ไขงบทั้งฉบับเลยค่ะ แต่ว่าถ้าเป็นงบบกพร่องก็จะเป็นการผิดที่ไม่ได้ส่งผลถึงตัวเลขยอดรวมในงบการเงินค่ะ

3. วิธีการแก้ไขงบการเงินที่ยื่นผิด

การยื่นงบการเงินผิดพลาดจะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ การยื่นงบการเงินฉบับใหม่ และ การยื่นงบการเงินบกพร่อง ในขั้นตอนการแก้ไขมีข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจนดังนี้

ยื่นงบการเงินฉบับใหมยื่นงบการเงินบกพร่อง
จุดผิด– ครั้งที่/วันที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
– แก้ไขตัวเลขงบการเงินที่ส่งผลกระทบต่อยอดรวม
– ข้อมูลผู้ทำบัญชี
– ข้อมูลผู้สอบบัญชี
– แก้ไขตัวเลขงบการเงินที่ไม่กระทบต่อยอดรวม
– เลือกมาตรฐานหรือรูปแบบงบการเงินไม่ถูกต้อง
– เอกสารแนบ ขาด/เกิน/ไม่ชัดเจน (หมายเหตุประกอบงบการเงิน และรายงานผู้สอบบัญชี)
– เอกสารแนบไม่ถูกต้อง
จุดแก้ไข
– หนังสือชี้แจง
อัพโหลดไฟล์
– สำเนารายงานการประชุม
– สำเนารายชื่อ และลายเซ็นต์ผู้เข้าร่วมประชุม
– สำเนาประกาศหนังสือพิมพ์
ไม่ต้องอัพโหลดไฟล์

ทราบข้อแตกต่างของข้อผิดพลาดในงบการเงินทั้ง 2 แบบแล้ว ถัดมาเรามาดูวิธีการยื่นขอแก้ไขงบกันค่ะว่าแต่ละแบบมีวิธีการแก้ไขยังไงบ้าง โดยขั้นตอนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนที่ 1 การส่งหนังสือชี้แจง
ส่วนที่ 2 คือขั้นตอนการนำส่งงบการเงิน

3.1 ยื่นงบการเงินฉบับใหม่

ส่วนที่ 1 การส่งหนังสือชี้แจง

ขั้นตอนที่ 1 เข้าสู่ระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเหมือนเราจะยื่นงบการเงินปกติ แล้วคลิกในหัวข้อ ดูประวัติการนำส่งและพิมพ์แบบ/เอกสาร


ขั้นตอนที่ 2 ระบบจะแสดงงบการเงินที่มีข้อผิดพลาด เราก็คลิกดูรายละเอียดเลยค่ะ


ขั้นตอนที่ 3 พอเราทราบข้อผิดพลาดแล้ว เราก็ขอแก้ไขในส่วนที่เราผิดพลาดกันค่ะ โดยการส่งหนังสือชี้แจงเพื่อขอนำส่งงบการเงินฉบับใหม่/งบการเงินบกพร่อง

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 1 ถึง 3
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 1 ถึง 3

ขั้นตอนที่ 4 กรอกข้อมูลและคลิกเลือกข้อบกพร่อง

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 4
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนที่ 5 เลือกเอกสารแนบ PDF

การยื่นงบการเงินฉบับใหม่นั้น คือจุดที่ผิดแบบสำคัญมาก ซึ่งเกิดจากข้อมูลต่อไปนี้ผิด

  • ครั้งที่/วันที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
  • แก้ไขตัวเลขงบการเงินที่สงผลกระทบต่อยอดรวมค่ะ

เราจึงจะต้องแนบไฟล์ PDF มากเป็นพิเศษ ได้แก่

  • สำเนารายงานประชุมผู้ถือหุ้น
  • สำเนารายชื่อและลายเซ็นผู้เข้าร่วมประชุม
  • สำเนาประกาศหนังสือพิมพ์
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 5
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 5

ขั้นตอนที่ 6 อัพโหลดไฟล์เอกสารแนบ PDF

ขั้นตอนที่ 7 เมื่อกรอกข้อมูล และอัพโหลดไฟล์ครบถ้วนแล้ว ให้ยืนยันการส่งหนังสือขอแก้ไข

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 6-7
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 6-7

ส่วนที่ 2 คือขั้นตอนการนำส่งงบการเงิน

ส่วนที่ 2

ขั้นตอนที่ 1 เมื่อเราได้รับการอนุมัติเพื่อให้แก้ไขงบการเงินแล้ว ก็ทำตามขั้นตอนของการนำส่งงบการเงินตามปกติเลยค่ะ
ขั้นตอนที่ 2 เลือกนำส่งงบการเงิน

ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 1-2
ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 1-2

ขั้นตอนที่ 3-7 กรอกข้อมูลใน ส.บช.3 ให้ถูกต้องและครบถ้วน

นำส่งงบ ขั้นตอนที่ 3
นำส่งงบ ขั้นตอนที่ 3
นำส่งงบ ขั้นตอนที่ 4
นำส่งงบ ขั้นตอนที่ 4
นำส่งงบ ขั้นตอนที่ 5
นำส่งงบ ขั้นตอนที่ 5
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 6
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 6
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 7-10
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 7-10

ขั้นตอนที่ 8-10 อัพโหลดไฟล์งบการเงิน หน้ารายงานผู้สอบบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงิน

ขั้นตอนที่ 11 เมื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้งนึงแล้ว ให้นำส่งงบการเงินได้เลยค่ะ

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 11
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 11

3.2 ยื่นงบการเงินบกพร่อง

ส่วนที่ 1 การส่งหนังสือชี้แจง

ขั้นตอนที่ 1 เข้าสู่ระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเหมือนเราจะยื่นงบการเงินปกติ แล้วคลิกในหัวข้อ ดูประวัติการนำส่งและพิมพ์แบบ/เอกสาร

ขั้นตอนที่ 2 ระบบจะแสดงงบการเงินที่มีข้อผิดพลาด เราก็คลิกดูรายละเอียดเลยค่ะ

ขั้นตอนที่ 3 พอเราทราบข้อผิดพลาดแล้ว เราก็ขอแก้ไขในส่วนที่เราผิดพลาดกันค่ะ โดยการส่งหนังสือชี้แจงเพื่อขอนำส่งงบการเงินฉบับใหม่/งบการเงินบกพร่อง

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 1-3
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 1-3

ขั้นตอนที่ 4 เมื่อกรอกข้อมูล และอัพโหลดไฟล์ครบถ้วนแล้ว ให้ยืนยันการส่งหนังสือขอแก้ไข

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 4
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนที่ 5 เมื่อนำส่งหนังสือสำเร็จจะแจ้งเตือนข้อความดังรูปประกอบค่ะ

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 5
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 5

ขั้นตอนที่ 6-7 ยืนยันการส่งหนังสือ ถ้านำส่งสำเร็จจะแจ้งเตือนตามภาพค่ะ

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 6-7
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 6-7

ส่วนที่ 2 คือขั้นตอนการนำส่งงบการเงิน

ขั้นตอนที่ 1 เมื่อเราได้รับการอนุมัติเพื่อให้แก้ไขงบการเงินแล้ว ก็ทำตามขั้นตอนของการนำส่งงบการเงินตามปกติเลยค่ะ

ขั้นตอนที่ 2 เลือกนำส่งงบการเงิน

ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 1-2
ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 1-2

ขั้นตอนที่ 3-7 กรอกข้อมูลใน ส.บช.3 ให้ถูกต้องและครบถ้วน

ขั้นตอนที่ 8-10 อัพโหลดไฟล์งบการเงิน หน้ารายงานผู้สอบบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงิน

ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 3
ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 3
ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 4
ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 4
ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 5
ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 5
ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 6
ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 6
ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 7-10
ยื่นงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 7-10

ขั้นตอนที่ 11 เมื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้งนึงแล้ว ให้นำส่งงบการเงินได้เลยค่ะ

แก้ไขงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 11
แก้ไขงบการเงินบกพร่อง ขั้นตอนที่ 11

4. ตรวจสอบสถานะของการยื่นแก้ไข

ขั้นตอนที่ 1 เข้าสู่ระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเหมือนเราจะยื่นงบการเงินปกติ แล้วคลิกในหัวข้อ ดูประวัติการนำส่งและพิมพ์แบบ/เอกสาร

ขั้นตอนที่ 2 ระบบจะแสดงงบการเงินเราเคยยื่นแก้ไขไปแล้วค่ะ

5. ยื่นสำเร็จ…เช็คอะไรได้บ้าง

ถ้าหากว่ายื่นผ่านสำเร็จ จะสามารถพิมพ์ใบนำส่งงบการเงินได้ค่ะ

ใบนำส่งงบการเงิน - ยื่นงบการเงิน e-filing
ใบนำส่งงบการเงิน – ยื่นงบการเงิน e-filing

การแก้ไขงบการเงินที่ยื่นผิด กรณีที่ผิดพลาด เพื่อนๆก็ต้องรีเช็คดูนะคะว่าจะต้องยื่นแก้ไขงบการเงินในลักษณะแบบไหน
แบบแบบงบการเงินฉบับใหม่ หรือแบบงบการเงินบกพร่อง และทำตามขั้นตอนให้ถูกต้องค่ะ โดยปกติแล้วระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะช่วยเตือนเราในเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อผิดพลาดค่ะ แต่ถ้าหากเรารู้ตัวก่อนก็สามารถขอยื่นแก้ไขงบการเงินได้เช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เสียเวลา เราแนะนำว่าตรวจเช็คดีๆ ก่อนยื่นงบจะดีกว่า เพราะว่าคงไม่มีใครอยากกลับไปแก้ไขงานเก่าอยู่เรื่อยๆใช่ไหมคะ

ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมก่อนยื่นงบการเงินได้ที่นี่

6 เรื่องที่ต้องเช็ค ยื่นงบการเงิน e-filing ให้ถูกต้อง

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า