ความรู้บัญชี

ค่าใช้จ่ายหรือสินทรัพย์ รายการที่มักเข้าใจผิด

ค่าใช้จ่ายหรือสินทรัพย์ รายการที่มักเข้าใจผิด

ในการทำงาน นักบัญชีมักเจอปัญหาเรื่องความเข้าใจไม่ตรงกับกับผู้ประกอบการอยู่เสมอ ตัวอย่างของรายการที่เรามักจะเข้าใจไม่ตรงกับผู้ประกอบการที่พบเจออยู่บ่อยๆ ก็คือ การจำแนกประเภทรายการ ระหว่างค่าใช้จ่ายกับสินทรัพย์นั่นเอง

ค่าใช้จ่ายหรือสินทรัพย์ รายการที่มักเข้าใจผิด

อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือค่าโสหุ้ย (Manufacturing Overhead )  ควรจะแสดงเป็น สินค้าคงเหลือ (สินทรัพย์) หรือ ค่าใช้จ่าย ในงบการเงินกันแน่

ถ้าจะมองให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ลองมาดูตัวอย่างนี้กันค่ะ

ค่าใช้จ่ายหรือสินทรัพย์ รายการที่มักเข้าใจผิด
ค่าใช้จ่ายหรือสินทรัพย์ รายการที่มักเข้าใจผิด

ตัวอย่าง

เมื่อต้น 25×1 บริษัทได้จ่ายชำระค่าเช่าโรงงานผลิตสินค้าไปแล้วจำนวน 1 ล้านบาท ในระหว่างปีได้มีการดำเนินการผลิตตามปกติ ได้สินค้าคงเหลือจำนวนหนึ่ง แต่สินค้าเหล่านี้ยังขายไม่ออกจนกระทั่งปลายปี คำถามคือ ณ สิ้นปีค่าเช่าโรงงานจำนวน 1 ล้านบาท ควรจะแสดงเป็นค่าใช้จ่ายหรือสินค้าคงเหลือ (สินทรัพย์) ในงบการเงินกันแน่

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

มุมมองที่แตกต่างของผู้ประกอบการ ที่คิดว่าเมื่อจ่ายค่าเช่าไป 1 ล้านบาท ย่อมเกิดค่าใช้จ่ายแน่นอนในระหว่างปี แต่ลืมคิดไปว่า 1 ล้านบาทนี้เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตแบบโสหุ้ย ที่จริงๆ แล้วควรเป็นต้นทุนสินค้าคงเหลือ และรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อขายสินค้านั้นได้ ทำให้ผู้ประกอบการ เข้าใจผิดว่าปีนี้ขาดทุนแน่นอน 1 ล้านบาท ส่งผลให้ตัดสินใจทางธุรกิจบางอย่างผิดพลาดก็เป็นได้

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ

หากทำความเข้าใจเกี่ยวกับนิยามของต้นทุนสินค้าทางบัญชีกันสักนิด ผู้ประกอบการก็จะอ๋อขึ้นมาทันที ตามหลักการบัญชีแล้ว “ต้นทุนของสินค้าคงเหลือ” นั้นประกอบด้วย

  • ต้นทุนทั้งหมดในการซื้อ
  • ต้นทุนแปลงสภาพ
  • และต้นทุนอื่นๆ

เกิดขึ้นเพื่อให้สินค้าคงเหลือนั้นอยู่ในสถานที่และอยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันสำนักงาน

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ
สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ

จากภาพข้างบน เมื่อมีต้นทุนในการผลิตอื่นๆ อย่างเช่น ค่าเช่าโรงงานเกิดขึ้นเราต้องบันทึกอยู่ในรูปของ ค่าใช้จ่ายการผลิต เพราะเวลาเราจะผลิตสินค้าชิ้นนึงได้ นอกจากตัววัตถุดิบแล้วเรายังต้องรวมค่าแรง แล้วก็รวมตัวค่าใช้จ่ายการผลิตต่าง ๆ หรือบางคนจะเรียกว่า ค่าโสหุ้ย

เมื่อนำพวกนี้เข้าสู่กระบวนการผลิต เราก็รับรู้เป็นรายการงานระหว่างทำ ซึ่งอยู่ในการควบคุมของกิจการ ดังนั้นแสดงว่า 1 ล้านบาทนี้เป็นค่าใช้จ่ายการผลิตนี้ ต้นทุนจะถูกฝังหรือถูกสะสมอยู่ในรูปแบบของสินค้าสำเร็จรูปหรือว่าสินค้าคงเหลือในที่สุด

จากนั้นเมื่อเราขายสินค้าได้ จึงค่อยเปลี่ยนสภาพตัวสินค้าสำเร็จรูปที่เป็นสินทรัพย์ออกมาเป็นต้นทุนขาย หรือค่าใช่จ่ายในงบกำไรขาดทุนนั่นเอง

สรุป

จากตัวอย่างค่าเช่าโรงงาน ทำให้เรามองเห็นปัญหาความเข้าใจผิดเรื่องบัญชีที่เกิดขึ้นบ่อย และผลกระทบที่น่าสนใจเลยทีเดียว

นี่แหละค่ะ จึงเป็นเหตุผลและที่มาที่ไป ว่าทำไมผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีนักบัญชีไว้คอยให้คำแนะนำปรึกษา เพราะพวกเราช่วยให้ผู้ประกอบการได้มีข้อมูลในการตัดสินใจ ที่ถูกต้องและแม่นยำขึ้นนั่นเอง

นอกจากตัวอย่างความเข้าใจผิด เครื่องค่าใช้จ่ายในการผลิต ว่าควรจำแนกเป็นค่าใช้จ่าย หรือสินทรัพย์ ก็ยังมีตัวอย่างอื่นๆ อีกมากมายที่ควรทำความเข้าใจ ลองไปศึกษากันใน คอร์สสินค้าคงเหลือกับประเด็นที่มักเข้าใจผิด กันได้ค่ะ

ค่ารับรองเป็นรายจ่ายต้องห้ามทางภาษีชนิดหนึ่ง แต่ว่าค่ารับรองก็สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ส่วนตามกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ต่างๆ ไปดูแต่ละหัวข้อกันได้ที่ ค่ารับรองเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้อย่างไร?

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า