ภาษี

9 ค่าลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง

9 ค่าใช้จ่ายที่หักเพิ่มได้ ในแบบ ภ.ง.ด.50

อีกไม่กี่เดือน จะถึงกำหนดยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลกันแล้ว มีค่าใช้จ่ายตัวไหนบ้างที่มีสิทธิหักภาษีได้เพิ่มในแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเสียภาษีประจำปีน้อยลงบ้าง ลองไปสำรวจกันสักนิดในบทความนี้ค่ะ

1. ค่าลดหย่อน คืออะไร

ค่าลดหย่อน หรือ ค่าใช้จ่ายที่หักได้เพิ่ม เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุุคคลที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากกำไรสุทธิทางบัญชี ส่งผลให้กิจการได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี พูดง่ายๆ ว่าเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปีลดลงนั่นเองค่ะ

ภ.ง.ด.50 จะระบุค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไว้ในส่วนค่าใช้จ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มค่ะ

สำหรับปี 2566 ทุกคนสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.50 เพื่อยื่นภาษีกันได้ที่นี่

ตัวอย่างแบบภ.ง.ด.50
ตัวอย่างแบบภ.ง.ด.50

2. ทั้ง 9 ค่าลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง

ลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง
ลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง

2.1 รายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา

รายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป สำหรับโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการหรือคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเป็น จำนวน 2 เท่า ของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นรายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา

อ่านกฎหมายเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยค่ะ
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420)
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 655)
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 428)

2.2 รายจ่ายเพื่อสนับสนุนด้านการเรียนรู้และนันทนาการ 

รายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างและการบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของเอกชนที่เปิดให้ประชาชนใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เก็บค่าบริการใดๆ หรือสนามเด็กเล่นสวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของทางราชการ เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นรายจ่ายเพื่อสนับสนุนด้านการเรียนรู้และนันทนาการ

อ่านกฎหมายเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยค่ะ
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 428)

2.3 รายจ่ายในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสถานศึกษา

รายจ่ายเป็นค่าจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่านเป็น จำนวน 2 เท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป


อ่านกฎหมายเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยค่ะ
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 515)

2.4 รายจ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์

รายจ่ายเป็นค่าจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์เป็น จำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป

อ่านกฎหมายเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยค่ะ

พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 519)

2.5 รายจ่ายเพื่อโครงการฝึกอบรมอาชีพฯ

รายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายบริจาคเพื่อโครงการฝึกอบรมอาชีพฯกระทรวงยุติธรรมเป็น จำนวน 2 เท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นเงินบริจาคดังกล่าว

อ่านกฎหมายเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยค่ะ
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 541)

2.6 รายจ่ายบริจาคให้แก่สถานศึกษา

เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ร่วมบริจาคเพื่อส่งเสริมการศึกษา ในลักษณะ บริจาคเป็นเงินหรือทรัพย์สินก็ได้ บริจาคเป็นเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนด้านสันทนาการก็ได้

สิทธิประโยชน์ หักรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายไป แต่ต้องไม่เกินร้อยละ10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์และเพื่อการศึกษาหรือการกีฬา

อ่านกฎหมายเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยค่ะ

พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420)
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 476)
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 655)
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 428)

รายจ่ายการบริจาคเพื่อการศึกษานั้นกรมสรรพากรมีการออกพระราชกฤษฎีกาให้หักเป็นรายจ่ายได้สองเท่ามาเป็นระยะ ๆ ในเดือนกันยายน 2563 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 713) พ.ศ. 2563 บัญญัติให้การบริจาคเพื่อการศึกษาของนิติบุคคลสามารถหักเป็นรายจ่ายได้สองเท่าสำหรับการบริจาคในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 และการบริจาคต้องเป็นไปตามเงื่อนไข

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 713) พ.ศ. 2563

2.7 บริจาคให้แก่สภากาชาดไทย

การบริจาคให้แก่สภากาชาดไทย ก็ถือเป็นสถานพยาบาลแห่งหนึ่ง เงินบริจาคใช้เป็นรายจ่ายจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป แต่สภากาชาดก็มีเว็บไซต์ที่สามารถบริจาคได้โดยตรง ตามที่ลิงค์นี้เลย REDCROSS365

อ่านกฎหมายเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยค่ะ

พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 655) พ.ศ. 2561

2.8 รายจ่ายในการจ้างงานผู้สูงอายุ

การจ้างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปสามารถนำค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้ผู้สูงอายุมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ 2 เท่าตามมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ

อ่านกฎหมายเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยค่ะ

พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560

2.9 รายจ่ายบริจาคให้แก่สถานพยาบาลราชการ

รายจ่ายเป็นรายจ่ายบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลของทางราชการที่ หักลดหย่อนเงินบริจาคได้ 2 เท่า ได้ที่ ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลของทางราชการที่ หักลดหย่อนเงินบริจาคได้ 2 เท่า

อ่านกฎหมายเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยค่ะ

พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 655) พ.ศ. 2561

เป็นอย่างไรบ้างคะสำหรับหัวข้อ 9 ค่าลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง นี่ยังไม่หมดนะคะ ยังมีให้เราได้เรียนรู้เพิ่มเติมอีกเยอะเลยค่ะ แต่รายจ่ายเหล่านี้ที่หยิบมากล่าวถึง คือที่ถูกพูดถึงบ่อยๆและใช้งานบ่อยๆ ถึงแม้ว่าจะหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้เพิ่มเติม แต่หากผู้ประกอบการต้องการใช้สิทธิประโยชน์จะต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนนะคะ เพราะหากทำผิดเงื่อนไขแล้ว นอกจากจะนำมาเป็นรายจ่ายเพิ่มเติมไม่ได้ อาจจะโดนค่าปรับทางภาษีแถมเข้าไปอีกก็เป็นได้ค่ะ

3. ตัวอย่างการคำนวณในแบบ ภ.ง.ด.50

และสำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า เราจะเอารายการค่าใช้จ่ายที่หักได้เพิ่มไปหักออกจากกำไรสุทธิทางบัญชีตอนกรอกแบบ ภ.ง.ด. 50 อย่างไร ลองไปดูวิธีการในนี้ค่ะ

เราจะรวมยอดรายการค่าใช้จ่ายที่หักได้เพิ่มใส่ใน รายการที่ 2 ของแบบภาษี

ตัวอย่างรายการแบบภ.ง.ด.50
ตัวอย่างรายการแบบภ.ง.ด.50
ตัวอย่างใบแนบรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม (1)
ตัวอย่างใบแนบรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม (1)
ตัวอย่างใบแนบรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม (2)
ตัวอย่างใบแนบรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม (2)

และรายละเอียดของรายการที่หักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มเติมนั้น จะต้องแจกแจงลงไปใน ใบแนบรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มค่ะ

นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่สำคัญนอกจากการรู้จักค่าลดหย่อนและการกรอกแบบภาษีแล้ว อย่าลืมจดจำ Deadline การยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลดีๆ นะ เดดไลน์ยื่นภาษีวันไหนวันสุดท้ายวันไหน ถ้าติดวันหยุดนับยังไง เข้าดูง่ายได้ที่: รู้จักปฏิทินภาษี เดดไลน์ไม่มีพลาดแน่นอน

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า