ภาษี

สรุป! สิ่งต้องรู้เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี พร้อมตัวอย่างประกอบ

สรุปสิ่งต้องรู้เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี พร้อมตัวอย่างประกอบ

ภาษีเป็นสิ่งที่ไม่ว่าเราจะหันไปทางไหน เราก็ต้องเจออยู่ดี และภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็ต้องวนมาในทุกปี นักบัญชีอย่างเราก็ต้องคอยอัพเดตข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในข้อกฎหมายอะไรบ้าง บทความนี้จะรวมรวมเรื่องต้องรู้ ค่าลดหย่อนภาษี ลองมาดูกันค่ะ

1. ลดหย่อนภาษีคืออะไร

การลดหย่อนภาษี คือ ค่าลดหย่อน หรือ ค่าใช้จ่ายที่หักได้เพิ่ม ที่กฎหมายกำหนดรายการสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่สามารถนำไปหักออกจากเงินได้สุทธิทางภาษี ตามเงื่อนไขของแต่ละประเภท เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษี ซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้นั้น ทำให้เสียภาษีน้อยลง หรืออาจจะได้คืนภาษีอีกด้วย

2. วัตถุประสงค์ของการลดหย่อนภาษี

การลดหย่อนนั้นมีหลายอย่างนะคะ แต่ว่าก็จะมีวัตถุประสงค์แฝงอยู่แต่ละในค่าใช้จ่ายที่ได้รับการส่งเสริมนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น

ค่าใช้จ่าย ATK ออกข้อกฎหมายมา เพื่อช่วยเหลือหรือแบ่งเบาภาระผู้ประกอบการที่สนับสนุนการตรวจโควิดให้หนักงาน เหมือนเป็นการส่งเสริมในช่วยกันก้าวผ่านสถานการณ์โควิดไปด้วยกันค่ะ

ค่าใช้จ่ายในการอบรม เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสร้างบุคคลากรที่มีคุณภาพ ถ้าได้รับการการช่วยเหลือแบบนี้ ผู้ประกอบการก็อยากจะจัดอบรมไปทุกปีเลยใช่ไหมคะ

เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา ที่ได้ 2 เท่า ผ่านช่องทาง e – Donation โดยที่ไม่ต้องใช้เอกสารหลักฐานแล้ว ข้อนี้ทั้งส่งเสริมและทั้งอำนวยความสะดวก เพื่อที่ให้พัฒนาเกี่ยวกับระบบการศึกษาของประเทศ

ซึ่งแต่ละค่าลดหย่อนก็จะมีวัตถุประสงค์ของตัวเองอย่างชัดเจนค่ะ

3. สรุปรวมค่าลดหย่อน 2565

ค่าลดหย่อน 2565
ค่าลดหย่อน 2565
ค่าลดหย่อน 2565ข้อกฏหมายใช้สิทธิได้เท่าไหร่ข้อมูลเพิ่มเติม
รายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา

รายจ่ายเพื่อสนับสนุนด้านการเรียนรู้และนันทนาการ

รายจ่ายบริจาคให้แก่สถานศึกษา
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420) พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 476) และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 655)
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 428)
2 เท่า ของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นรายจ่าย– บริจาคในโครงการที่ได้รับความเห็นชอบ
บริจาคให้แก่สถานศึกษาตามรายชื่อที่กระทรวงศึกษากำหนด
– มีใบเสร็จของสถานศึกษา
จัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 519)ร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป– คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย
– จ้างงานเกินกว่า 180 วัน
บริจาคเพื่อโครงการฝึกอบรมอาชีพ การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบำบัด แก้ไข ฟื้นฟู และสงเคราะห์เด็กและเยาวชนพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 541)2 เท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป– จ่ายเป็นเงินหรือทรัพย์สินก็ได้
บริจาคให้แก่สถานสงเคราะห์ สถานพักฟื้นบำบัดและฟื้นฟูเด็ก คนชรา คนพิการตามรายชื่อที่กรมสรรพากรกำหนด
ค่าซื้อชุดตรวจโควิด ATKพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 733 พ.ศ.2564
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 752 พ.ศ.2565
50%ของรายจ่าย ที่จ่ายไป– มีใบเสร็จครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ภาษี
– ต้องเป็น Antigen Test Kit
การจ้างงานผู้สูงอายุพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 25602 เท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป– มีใบเสร็จครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ภาษี เช่น หลักฐานการจ่ายเงินเดือน
บริจาคให้แก่สถานพยาบาลราชการพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 655) พ.ศ. 25612 เท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป– บริจาคสนับสนุนโรงพยาบาลรัฐ
รายชื่อสถานพยาบาลของทางราชการ
ห้องสมุด ซื้อหนังสือพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 515 (2554)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 201)
ร้อยละหนึ่งร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป เฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท– มีใบเสร็จครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ภาษี
– ระบุจำนวนและมูลค่าได้
ซื้อประกันชีวิต Keymanไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากรเป็นรายจ่ายทางภาษีได้– ระเบียบมติที่ประชุมของบริษัท
– มีใบเสร็จครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ภาษี
– หลักฐานการจ่ายภาษีแทนกรรมการ (ถ้ามี)

4. มีค่าลดหย่อนแล้วดียังไง

การมีค่าลดหย่อนและค่าลดหย่อนที่มีสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ก็ถือว่า เป็นการลดภาษีที่ต้องจ่ายชำระเงิน เนื่องจากค่าลดหย่อนตามความหมาย ก็หมายถึงว่า ค่าใช้จ่ายที่สามารถเป็นค่าใช้จ่ายได้ หรือเป็นค่าใช้จ่ายได้เพิ่ม ยิ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ก็ทำให้กำไรสุทธิทางภาษีของเราน้องลง ภาษีที่ต้องชำระก็น้อยลงเช่นกันค่ะ

5. ตัวอย่างประกอบการคำนวณภาษี

บริษัท CPD จำกัด มีค่าลดหย่อนภาษีดังนี้

  • ซื้อหนังสือเพื่อจัดทำหอสมุดให้พนักงานศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จำนวนเงิน 200,000 บาท
  • บริจาคเงินค่าน้ำค่าไฟ ให้แก่วัด จำนวนเงิน 10,000 บาท และได้ใบอนุโมทนาบัตรจากวัดมาเป็นที่เรียบร้อย ปี 2565
  • บริษัทจัดอบรมสัมมนาขึ้นให้พนักงาน และปฏิบัติตามเงื่อนไขการขออนุมัติหลักสูตรจาก จากกระทรวงแรงงาน แล้ว 300,000 บาท
  • บริจาคอาหารสัตว์ โดยซื้ออาหารสัตว์ให้คุณป้าคนดูแลจำนวน 5,000 บาท

การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลวิเคราะห์รายการ
รายได้ทางภาษี5,000,000
ค่าใช้จ่ายทางภาษี2,000,000
รายจ่ายต้องห้าม5,000บริจาคอาหารสัตว์ ไม่มีเอกสารหลักฐาน และไม่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ
บริจาคการกุศล10,000
กำไรสุทธิทางภาษี3,015,000
ใช้สิทธิหักเพิ่มได้จากหนังสือหรือสื่ออิเลคทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน(50,000)ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 100% ของรายจ่าย แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
*** เท่ากับว่า 200,000 x 100% = 200,000 บาท ใช้สิทธิได้ไม่เกิน 50,000 บาท ***
หักเพิ่ม บริจาคการกุศล ค่าน้ำค่าไฟ ให้แก่วัด (10,000)บริจาคการกุศล 10,000 = 3,015,000 x 2/102 = ใช้สิทธิได้ไม่เกิน 59,117.65
หักเพิ่ม จัดอบรมสัมมนาขึ้นให้พนักงาน(300,000)1 เท่า บันทึกค่าใช้จ่ายทางบัญชี
1 เท่า หักค่าใช้จ่ายได้เพิ่ม
กำไรสุทธิทางภาษีหลังปรับปรุงรายการ2,655,000
อัตราภาษี20%
ภาษีที่ต้องชำระ531,000

บริจาคอาหารสัตว์ โดยซื้ออาหารสัตว์ให้คุณป้าคนดูแลจำนวน 5,000 บาท ไม่นำมาใช้สิทธิทางภาษีเนื่องจากไม่มีเอกสารหลักฐาน และไม่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ ต้องบวกกลับค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน

6. กรอกแบบ ภงด 50 ต้องเช็กตรงไหนบ้าง

ตัวอย่างรายการแบบภงด.50
ตัวอย่างรายการแบบภงด.50
ตัวอย่างใบแนบรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม (1)
ตัวอย่างใบแนบรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม (1)
ตัวอย่างใบแนบรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม (2)
ตัวอย่างใบแนบรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม (2)

ภ.ง.ด.50 รายการที่ 2 รายได้ รายจ่าย กำไรขาดทุนสุทธิและการคำนวณภาษี และรายได้ที่ได้รับการยกเว้น และรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น ในข้อ 13 จะแสดงถึงยอดรวมของรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น ที่มาของบรรทัดนี้ก็คือ ใบแนบรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น ในค่าลดหย่อนต่างๆที่เราเรียนรู้มานั้น ก็เอามากรอกในใบแนบเลยจ้า แล้วรวมยอดมาเป็นตัวเลขที่จะไปแสดงใน ภ.ง.ด.50 นั่นเอง

สิ่งต้องรู้เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี ที่เราต้องรู้มีเยอะพอสมควรเลยใช่ไหมคะ แต่ว่าเรื่องพวกนี้ เป็นสิทธิประโยชนร์ของเรา จริงๆ เราควรต้องอัปเดตอยู่ตลอด และสม่ำเสมอทุกปี ในบทความนี้เป็นพียงการยกตัวอย่างที่เราพบเจอกันบ่อยๆนะคะ หวังว่าหากเพื่อนๆได้ทราบแล้ว จะเป็นประโยชน์ในการคำนวณภาษีของกิจการที่เพื่อนๆนักบัญชีทำงานกันอยู่นะคะ หากมีข้อกฏหมายอะไรมาใหม่ ทาง CPD Academy จะมาอัปเดตให้เพิ่มเติมค่า

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

Line: @cpdacademy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า