ภาษี

ภ.พ.20 คืออะไร ถ้าจด VAT ต้องรู้สิ่งนี้

ภ.พ.20 คืออะไร ถ้าจด VAT ต้องรู้สิ่งนี้

ผู้ประกอบการที่กำลังจด VAT สงสัยกันไหมคะว่า ภ.พ.20 คืออะไร? เจ้าเอกสารตัวนี้มันสำคัญอย่างไร ทำไมธุรกิจต้องสิ่งนี้ด้วย เราขอที่ไหน? ใช้เวลานานเท่าไรกว่าจะได้เอกสาร

บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้น พร้อมกับมีข้อมูลดี ๆ ที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ภ.พ.20 ที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ

ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.20 คืออะไร?

ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภ.พ.20 คือ ใบที่กรมสรรพากรออกให้แก่ผู้ประกอบการ หลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 เสร็จสมบูรณ์ค่ะ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าผู้ประกอบการได้จดทะเบียนตามกฎหมาย และมีชื่อในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว (VAT)

เมื่อได้รับ ภ.พ.20 แล้ว กิจการจะต้องนำไปแสดงไว้ตรงจุดที่มองเห็นได้ง่าย อย่างเช่น ร้านอาหาร ร้านค้า ที่แขวนไว้ตามผนัง หรือวางไว้ตามเคาน์เตอร์คิดเงินค่ะ

แล้วถ้าผู้ประกอบการมีร้านหลายสาขาต้องทำยังไงดี? 

จากที่ทราบกันไปแล้วว่าเราต้องแสดง ภ.พ. 20 ไว้ที่ร้านค้าสถานประกอบการให้เห็นเด่นชัด

ในกรณีที่กิจการมีสถานประกอบการหลายแห่ง สามารถยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสำนักงานใหญ่แค่ที่เดียวได้เลยค่ะ และทางกรมสรรพากรจะออกใบ ภ.พ.20 ให้สถานประกอบการทุกแห่ง และสามารถนำมาวางไว้ในสถานประกอบการได้เลย

ทำไมผู้ประกอบการที่จด VAT ต้องมี ภ.พ.20?

การมี ภ.พ.20 หรือ ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นการแสดงให้เห็นว่ากิจการได้เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วค่ะ ซึ่งทำให้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกิจการอื่น ๆ ที่จะมาทำติดต่อซื้อขายอีกด้วย

ยกตัวอย่าง บริษัท A เป็นกิจการขายส่งเสื้อผ้าออนไลน์ และลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเจ้าของร้านค้าปลีก ซึ่งการซื้อในแต่ละครั้งลูกค้าต้องการใบกำกับภาษีเพื่อนำไปหักภาษีซื้อ ดังนั้นหากเราไม่มี ภ.พ.20 เราจะไม่สามารถออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าได้

มี ภ.พ.20 แล้วต้องทำอะไรบ้าง
มี ภ.พ.20 แล้วต้องทำอะไรบ้าง

หน้าตาแบบ ภ.พ.20 เป็นอย่างไร?

หน้าตาของแบบ ภ.พ.20 จะเป็นกระดาษขนาดประมาณ A4 แนวนอน ภายในจะมีลายน้ำสีชมพู และประกอบไปด้วยรายละเอียดข้อมูลดังนี้ค่ะ

ภ.พ.20 คืออะไร
ภ.พ.20 คืออะไร ตัวอย่าง ภ.พ. 20

1. ชื่อกรมสรรพากร พิมพ์อยู่ด้านบนของใบใต้ตราครุฑ

2. เลขทะเบียนผู้เสียภาษี พิมพ์อยู่ด้านขวาบนของใบ

3. ชื่อผู้ประกอบการ

4. ชื่อสถานประกอบการ และประเภทของสถานที่ตั้ง

5. ที่อยู่สถานประกอบการโดยละเอียด พร้อมเบอร์โทรศัพท์

6. ประเภทการประกอบกิจการ พิมพ์อยู่ด้านบนของใบ

7. วันที่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน

8. วันที่ออกใบ ภ.พ.20

9. ลายเซ็นผู้มีอำนาจ พิมพ์อยู่ด้านล่างของใบ

10. ตราประทับของกรมสรรพากร พิมพ์อยู่ด้านล่างของใบ

ภ.พ.20 ขอที่ไหน?

เมื่อทราบกันแล้วว่า ภ.พ.20 คืออะไร แล้วทีนี้จะสามารถไปขอได้ที่ไหนได้บ้าง ซึ่งเราจะต้องทำการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.01 ให้เสร็จสมบูรณ์ก่อน โดยสามารถทำได้ 2 ช่องทาง ดังนี้ค่ะ

  1. ยื่นคำขอที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตพื้นที่ที่ตั้งสถานประกอบการ
  2. ยื่นคำขอผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ VAT-SBT online

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารที่ใช้ในการขอจด VAT ได้ที่นี่ เอกสารที่ใช้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

จด VAT แล้วยังไม่ได้รับใบ ภ.พ.20 ต้องทำยังไง?

โดยปกติแล้วจะได้รับใบ ภ.พ.20 จากกรมสรรพากรภายใน 30 วันทำการ สำหรับกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับใบ ภ.พ.20 อาจมีหลายสาเหตุที่เป็นไปได้ ขอแนะนำให้ผู้ประกอบการลองทำตามขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อติดตามสถานะการจดทะเบียน VAT ค่ะ

1. ตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนออนไลน์

  • เข้าสู่ระบบ e-RD ผ่าน เว็บไซต์กรมสรรพากร
  • เลือกเมนู “บริการ”  แล้วเลือก “ตรวจสอบสถานะการจดทะเบียน”
  • ใส่เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลข 13 หลัก) และรหัสผ่าน
  • คลิก “เข้าสู่ระบบ”
  • ตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนของคุณ หากระบบแจ้งว่าคุณจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้รับใบ ภ.พ.20 ให้ไปขั้นตอนถัดไป

2. ติดต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร

  • โทรสายด่วนกรมสรรพากร 1161
  • อธิบายปัญหาให้เจ้าหน้าที่ทราบ
  • เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูล และแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติม
  • สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการจดทะเบียน กำหนดการออกใบ ภ.พ.20 หรือกรณีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้เลยค่ะ

ทั้งนี้ ระหว่างที่ยังไม่ได้ ภ.พ.20 ผู้ประกอบการสามารถใช้แบบ ภ.พ.01 เป็นหลักฐานแสดงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวไปก่อนได้นะคะ จนกว่าจะได้รับ ภ.พ.20 ใบใหม่เรียบร้อยค่ะ

จด VAT แล้วยังไม่ได้รับใบ ภ.พ.20 ต้องทำยังไง
จด VAT แล้วยังไม่ได้รับใบ ภ.พ.20 ต้องทำยังไง

ไม่แสดงใบ ภ.พ.20 หน้าร้านมีปัญหาอะไร

หากไม่แสดง ภ.พ. 20 ในร้าน หรือในที่เปิดเผยอย่างชัดเจน จะถูกปรับตามกฎหมายไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 90/1 ที่ว่าด้วยผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แสดงใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/4 จะต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

กรณีใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด

ผู้ประกอบการต้องยื่นคำขอรับ ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ใบ ภ.พ.20 ชำรุด หรือสูญหาย ซึ่งใบแทนดังกล่าวถือเป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ขั้นตอนยื่นคำร้องขอรับใบแทนใบ ภ.พ.20

  • ดาวน์โหลดแบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) จากเว็บไซต์กรมสรรพากร
  • กรอกข้อมูลในแบบคำขอให้ครบถ้วนถูกต้อง
  • แนบเอกสารที่เตรียมไว้ ดังนี้
    • แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) จำนวน 3 ฉบับ
    • ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ที่ชำรุด
    • ใบแจ้งความกรณีสูญหาย
    • หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทนปิดอากรแสตมป์ 10 บาท
    • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายเอกสาร
  • ยื่นแบบคำขอและเอกสารที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่จดทะเบียนไว้

สรุป

สรุปง่าย ๆ ก็คือ ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภ.พ.20 คือ เอกสารที่กรมสรรพากรออกให้แก่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ประกอบการได้เข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถออกใบกำกับภาษี หักภาษีซื้อ และยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกิจการอีกด้วยค่ะ การขอใบ ภ.พ.20 นั้น ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่เราต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ให้เสร็จสมบูรณ์ก่อน จากนั้นก็รอเอกสารจากกรมสรรพากรส่งมาถึงที่สถานประกอบการเลยค่ะ

สำหรับใครที่อยากเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม มากขึ้นกว่าเดิม เพิ่มเติมเก็บ CPD ได้ด้วย แนะนำลงเรียนคอร์สนี้ได้เลย รู้จักภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทั้งระบบ

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า