ภาษี

เรื่องต้องรู้ ภ.พ. 01 คืออะไร? พร้อมวิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

เรื่องต้องรู้ ภ.พ. 01 คืออะไร

ด้วยกฎหมายระบุให้ธุรกิจที่มียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่คุ้นเคยในนาม Vat นั่นเอง ฉะนั้นบางธุรกิจตอนเริ่มต้นยอดขายอาจยังไม่มาก บัญชีก็ทำงานแบบสบาย ๆ เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทว่าเมื่อนานเข้า ยอดขายถึงเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด ก็ต้องมีการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเอกสารที่ชื่อว่า ภ.พ.01 เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นเอกสารตัวแรกเลยค่ะ

สำหรับคนที่กำลังเตรียมตัวเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่ว่าด้วยความเต็มใจหรือไม่ก็แล้วแต่…แฮ่) เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสาร ภพ 01 คืออะไร สำคัญกับการเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มยังไงที่นี่เลย

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ การจดทะเบียนเพื่อเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีที่ขายสินค้าและบริการ แล้วเข้าเงื่อนไข มีรายได้ต่อปีเกิน 1.8 ล้านบาท

เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Vat แล้ว กิจการก็มีหน้าที่นำส่งแบบภาษีให้สรรพากรทุกเดือนค่ะ

จด Vat มีขั้นตอนยังไงบ้าง
จด Vat มีขั้นตอนยังไงบ้าง

ขั้นตอนการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ก่อนจะตัดสินใจจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ควรวิเคราะห์ก่อนว่า ธุรกิจจำเป็นต้องจด Vat หรือไม่ ซึ่งมีเงื่อนไขดังนี้

1. ต้องจดแน่นอน เพราะกฎหมายบังคับ หากยอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ไม่ต้องคิดเยอะ ไปดูขั้นตอนจด VAT ด้านล่างเลย

2. จดก็ได้ ไม่จดก็ได้ ถ้ายอดขายไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ขึ้นอยู่กับพิจารณาว่า หากจด Vat แล้วเกิดผลดีอย่างไรบ้าง มีความจำเป็นต้องติดต่องานกับองค์กรที่ต้องการเฉพาะคู่ค้าที่จดภาษีมูลเพิ่มเท่านั้นหรือไม่ เป็นต้น เพราะการมี Vat เพิ่มภาระการจัดการของฝ่ายบัญชีเพิ่มขึ้นด้วย

หากจะจด Vat มีขั้นตอนดังนี้

  1. เตรียมเอกสาร ภพ 01 โดยดาวน์โหลดได้จากลิงก์นี้ได้เลย
  2. เตรียมเอกสารแนบ
  3. จดทะเบียน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่

ภพ 01 คืออะไร?

ภ.พ.01 คือ แบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อยื่นต่อสรรพากร ขออนุมัติเป็นสถานประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้องตามกฎหมายค่ะ

วิธีการกรอกแบบ ภ.พ.01

ข้อมูลที่ต้องกรอกลงแบบฟอร์ม ภ.พ.01 ที่สำคัญ ประกอบด้วย

1.ชื่อผู้ประกอบการ

– กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ให้กรอกข้อ 1.1

– หากองค์กรจดบริษัทแล้ว ต้องกรอกในข้อ 1.2

2. ชื่อ ที่อยู่สถานประกอบการ และประเภทสถานประกอบการ

  • สาขาของสถานประกอบการ ส่วนนี้ถ้าไม่มีสาขาก็ไม่ต้องระบุ หากมี ก็กรอกให้ครบ สรรพากรระบุว่า ถ้าสถานประกอบการมีหลายสาขา ให้ยื่นทำเรื่องที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ แล้วสรรพากรพื้นที่จะออก ภ.พ.20 ให้กับทุกสาขาเอง
  • ประเภทของการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องกรอกให้ถูกต้องว่า จด Vat ด้วยเหตุผลอะไร
ภพ 01 คืออะไร
ภพ 01 คืออะไร

3.เกณฑ์ที่ขอจดทะเบียน VAT

3.1 กรณีขอจดทะเบียนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการตามข้อ1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่57) คือ มีแผนอยู่แล้วว่าธุรกิจต้องมียอดขายถึงเงื่อนไขจึงยื่นจดเนิ่น ๆ

3.2 วันที่รายรับถึงเกณฑ์จดทะเบียน คือ จดเพราะยอดขายถึงเกณฑ์

3.3 วันที่แจ้งต่ออธิบดีเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้น) คือ จดเพราะสมัครใจ

4. ประเภทของการประกอบกิจการ – ใส่ประเภทให้ถูกต้อง และเจ้าหน้าที่จะกรอกรหัส ISIC-RD ให้

5. เอกสารแนบ (ให้ระบุจำนวนที่แนบมา) มีอะไรบ้าง เราอธิบายไว้ในหัวข้อถัดไป

ภ.พ.01 คืออะไร กรอกยังไงบ้าง
ภ.พ.01 คืออะไร กรอกยังไงบ้าง

เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อยื่นประกอบกับ ภ.พ.01

– สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล หรือใบทะเบียนพานิชย์

– สำเนาบัตรประชาชนกรรมการ หรือผู้ประกอบการ

– สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้จดทะเบียน

– หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่จด Vat เช่น หนังสือการยินยอมจากเจ้าของอาคารกรณีเช่าทำธุรกิจ เป็นต้น

– รูปภาพของสถาานที่ประกอบการ

– แผนที่ของสถานประกอบการ

หมายเหตุ: เอกสารเหล่านี้เป็นเอกสารพื้นฐานที่ใช้ในการจด VAT แนะนำสอบถามสรรพากรแต่ละพื้นที่อีกครั้งว่าต้องการเอกสารอะไรเพิ่มเติม

ภ.พ.01 คืออะไรกรอกยังไงบ้าง
ภ.พ.01 คืออะไรกรอกยังไงบ้าง

จด VAT เสร็จได้รับเอกสารอะไร?

ตามระบียบของสรรพากรระบุว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแบบฟอร์ม ภ.พ.01 พร้อมเอกสารแนบเรียบร้อยแล้ว จะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ให้ เท่ากับว่าเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป ทั้งนี้ต้องนำใบทะเบียนดังกล่าวไปแสดงไว้ในที่ที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการแห่งนั้น ๆ

ข้อควรระวัง เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

– ต้องส่งรายงานภาษีสรรพากรทุกเดือน แม้ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น “ศูนย์” ก็ต้องส่ง หากไม่ส่งจะถูกปรับ

– ต้องทำรายงานภาษีขาย และภาษีซื้อเสมอ

– ต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าเสมอ

– ต้องเก็บสำเนาใบกำกับภาษีที่ออกให้ลูกค้าไว้อย่างน้อย 5 ปี

สรุป

ภ.พ.01 เป็นแบบฟอร์มขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ จะได้ ภ.พ.20 มา เพื่อยืนยันว่าเป็นสถานประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมาย

ทั้งนี้สิ่งที่ต้องพิจารณาให้ถูกต้อง คือ เราทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล เพราะการกรอกข้อมูล และเตรียมเอกสารแตกต่างกัน ส่วนข้อควรระวัง คือ เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งสรรพากรทุกเดือน แม้ภาษีเป็นศูนย์ ก็ต้องรายงาน หากไม่รายงานจะถูกปรับ

และสำหรับใครที่อยากเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม มากขึ้นกว่าเดิม เพิ่มเติมเก็บ CPD ได้ด้วย แนะนำลงเรียนคอร์สนี้ได้เลยค่า: รู้จักภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทั้งระบบ

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า