ไลฟ์สไตล์, นักบัญชีมือใหม่

8 อาชีพบัญชี มีอะไรบ้าง งานแบบไหนเหมาะสมกับเราสุด

อาชีพบัญชี มีอะไรบ้าง งานแบบไหนเหมาะสมกับเรา

น้องๆ ที่จบสายตรงด้านบัญชีมา อาจจะสงสัยว่างานที่เราทำได้นั้นจำกัดอยู่แค่การทำบัญชี บันทึกบัญชี หรือว่าไปเป็นผู้สอบบัญชีเท่านั้นหรือไม่

จริงๆแล้วงานในสายบัญชีนั้นสามารถแตกแขนงไปเป็นอาชีพอื่นๆ ได้อีกมากมายค่ะ โดยไม่จำกัดอยู่แค่การบันทึกบัญชีหรือตรวจสอบบัญชีเพียงอย่างเดียว เหตุผลก็เพราะว่า ในธุรกิจต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีที่หลากหลาย เพื่อให้คำปรึกษา แก้ปัญหา เพื่อให้ธุรกิจดำเนินงานไปได้อย่างลุล่วงนั่นเอง แล้วอาชีพของนักบัญชี มีอะไรบ้าง งานแบบไหนมีลักษณะอย่างไร เราลองไปดูกัน

การบัญชีคืออะไร

การบัญชี คือ กระบวนการบันทึกและการรายงานข้อมูลทางการเงินขององค์กรหรือบุคคล ช่วยให้เราสามารถติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน แล้วเอาไปตัดสินใจทางธุรกิจได้

กระบวนการของการบัญชีประกอบด้วยหลายขั้นตอน ซึ่งประกอบไปด้วยการบันทึกข้อมูลทางการเงิน การจัดเก็บข้อมูลทางการเงิน การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปข้อมูลทางการเงิน เพื่อให้เกิดรายงานทางการเงินที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ

กระบวนการทำงานบัญชี
กระบวนการทำงานบัญชี

ความสำคัญของอาชีพบัญชี

การบัญชีมีความสำคัญมากในธุรกิจ เพราะมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการและการตัดสินใจทางธุรกิจ ดังนี้

1. ติดตามและวิเคราะห์สถานะการเงิน

การบัญชีช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามและวิเคราะห์สถานะการเงินได้อย่างถูกต้อง จากข้อมูลทางการเงิน เช่น งบการเงิน รายงานการเงิน และส่วนอื่น ๆ ธุรกิจสามารถรู้เกี่ยวกับรายได้ รายจ่าย ส่วนต่าง ๆ และภาพรวมทางการเงินของธุรกิจ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนธุรกิจและการพัฒนาในอนาคตได้อย่างมั่นคง

2. การบัญชีเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความถูกต้อง

การบันทึกและการรายงานข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบความถูกต้อง สำหรับการตรวจสอบภายในและภายนอก การบัญชีช่วยให้มีการควบคุมที่เข้มงวดในการบันทึกข้อมูลการเงิน ระบบการควบคุมภายใน และการตรวจสอบการเงิน เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือในข้อมูลการเงินของธุรกิจ

3. การตัดสินใจทางธุรกิจ

ข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องและรายงานการเงินที่เป็นระเบียบเรียบร้อยช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการบริหารได้อย่างถูกต้อง

อาชีพบัญชี มีอะไรบ้าง

เรามาดูกันเลยค่ะ ว่า นักบัญชีอย่างเรา อาชีพบัญชี มีอะไรบ้างที่น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับน้องๆ ที่จบใหม่ หรือเพื่อนๆ นักบัญชีที่อยากเปลี่ยนสายงาน

1. การบัญชีการเงิน

บัญชีการเงิน
บัญชีการเงิน

การบัญชีการเงินเกี่ยวข้องกับการบันทึกและแยกประเภทธุรกรรมทางธุรกิจ การนำเสนองบการเงินที่ผู้ใช้ภายในและภายนอกใช้ในตัดสินใจ การบัญชีการเงินนั้นต้องปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือ GAAP อย่างเคร่งครัด การบัญชีการเงินส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลในอดีต

ในปัจจุบันมาตรฐานการบัญชีที่ประเทศไทยใช้กัน ได้แก่

  • TFRS สำหรับกิจการขนาดใหญ่ มีส่วนได้เสียสาธารณะ
  • TFRS for NPAEs สำหรับกิจการขนาดเล็ก ที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ

ดังนั้น ใครที่จะทำงานสายนี้ ต้องแม่นมาตรฐานการบัญชีพอสมควรเลยค่ะ

2. การบัญชีบริหาร

การบัญชีบริหาร
การบัญชีบริหาร

การบัญชีบริหารหรือการบัญชีการจัดการนี้ มุ่งเน้นไปที่การให้ข้อมูลเพื่อใช้งานโดยผู้ใช้ภายใน ซึ่งคือผู้บริหารนั่นเอง การบัญชีบริหารนี้เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้บริหารมากกว่าการปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป การบัญชีบริหารเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทางการเงิน การจัดทำงบประมาณ การพยากรณ์ การวิเคราะห์ต้นทุน และการประเมินการตัดสินใจทางธุรกิจ

แม้ว่าการบัญชีบริหารนั้นจะไม่จำเป็นต้องทำตามมาตรฐานการบัญชีอย่างเคร่งครัด แต่ทว่านักบัญชีต้องมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินของธุรกิจโดยเฉพาะเจาะจงอย่างมาก ซึ่งธุรกิจแต่ละชนิดก็จะมีความแตกต่างกันไปค่ะ

3. การบัญชีต้นทุน

การบัญชีต้นทุน
การบัญชีต้นทุน

ในบางครั้งการบัญชีต้นทุน ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชีบริหาร การบัญชีต้นทุน หมายถึง การบันทึก การนำเสนอและการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การบัญชีต้นทุนมีประโยชน์อย่างมากในธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิตเนื่องจากมีกระบวนการคิดต้นทุนที่ซับซ้อนที่สุด นักบัญชีต้นทุนจะวิเคราะห์ต้นทุนจริงและต้นทุนมาตรฐานเพื่อช่วยให้ผู้บริหารกำหนดแนวทางการดำเนินการในอนาคตเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทได้

ข้อจำกัดของบัญชีต้นทุนก็คือ มักจะต้องทำงานในโรงงานผลิตสินค้าหรือว่าธุรกิจผลิตที่มีความซับซ้อนเท่านั้น แต่นักบัญชีต้นทุนเก่งๆ ถ้าได้อยู่ถูกที่ถูกเวลาล่ะก็ รับรองว่าเส้นทางอาชีพเติบโตได้ไม่ยากเลยค่ะ

4. การตรวจสอบบัญชี

การตรวจสอบบัญชี
การตรวจสอบบัญชี

การตรวจสอบบัญชีแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

การตรวจสอบภายนอก หมายถึง การตรวจสอบงบการเงินโดยบุคคลที่เป็นอิสระจากผู้ทำบัญชี (CPA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องของการนำเสนองบการเงินและการปฏิบัติตาม GAAP

ส่วนการตรวจสอบภายใน มุ่งเน้นที่การประเมินความเพียงพอของโครงสร้างการควบคุมภายในของบริษัท โดยการทดสอบการแบ่งแยกหน้าที่ นโยบายและกระบวนการขั้นตอนการอนุมัติ และการควบคุมอื่น ๆ ที่ฝ่ายบริหารนำมาใช้

ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบบัญชีภายนอกหรือภายใน ผู้ตรวจสอบจะต้องมีความรู้ความสามารถ และมีพื้นฐานความรู้ด้านบัญชีที่แข็งแรงค่ะ

5. การบัญชีภาษีอากร

การบัญชีภาษีอากร
การบัญชีภาษีอากร

การบัญชีภาษีอากร หมายถึง การทำบัญชีและควบคุมให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎภาษีอย่างถูกต้องด้วย รวมถึงการวางแผนภาษีและการเตรียมการคืนภาษี นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการให้คำปรึกษาด้านภาษีต่างๆ เช่น วิธีการลดภาษีให้ถูกกฎหมาย การประเมินผลที่ตามมาของการตัดสินใจด้านภาษีและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษี

การบัญชีภาษีอากรนั้น นอกจากจะต้องรู้เรื่องบัญชีแล้ว ความรู้เพิ่มเติมที่ต้องมีให้พร้อมก็คือ ความรู้ด้านภาษีอากรต่างๆ เพราะหน้าที่ของนักบัญชีภาษีอากรนั้น มีมากกว่าทำบัญชีให้ถูกต้อง แต่ทว่า ต้องช่วยให้เจ้าของธุรกิจประหยัดภาษีให้ได้มากที่สุดด้วย

6. วางระบบสารสนเทศทางการบัญชี

วางระบบสารสนเทศทางการบัญชี
วางระบบสารสนเทศทางการบัญชี

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี หรือ AIS เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ติดตั้ง ใช้งาน และตรวจสอบขั้นตอนการบัญชี และระบบที่ใช้ในกระบวนการบัญชี

แม้ว่าชื่อจะดูเหมือนยาก แต่จริงๆ แล้วนักบัญชีที่เก่งเรื่องระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้นเป็นที่ต้องการมากในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เจ้าของธุรกิจทั้งหลายจึงสนใจใช้ระบบบัญชีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบัญชีแบบออนไลน์ ถือว่าเป็นโอกาสทองของนักบัญชีที่ทำงานด้านนี้เลยค่ะ

7. การบัญชีนิติเวช

การบัญชีนิติเวช
การบัญชีนิติเวช

การบัญชีนิติเวช เป็นนักบัญชีที่ต้องหาหลักฐานด้านการเงิน การบัญชี เพื่อสนับสนุนคดีความ การฟ้องร้อง การสืบสวน การฉ้อโกง การเรียกร้อง และการระงับข้อพิพาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย

การบัญชีนิติเวชอาจไม่เป็นที่รู้จักมากนักในประเทศไทย แต่สำหรับต่างชาติแล้ว การบัญชีนิติเวช คือหนึ่งในแนวโน้มที่คนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

อาชีพบัญชีมีอะไรบ้าง
อาชีพบัญชีมีอะไรบ้าง

FAQ : คำถามที่พบบ่อย

ทางเลือกมีหลากหลาย ควรเริ่มทำงานบัญชีด้านไหนก่อนดี

สำหรับนักศึกษาที่จบใหม่ด้านบัญชี อาจจะตัดสินใจลำบากว่าควรสมัครงานบัญชีด้านไหนดีนะ เราแนะนำแบบนี้ค่ะว่าถ้ายังไม่รู้ว่าควรเลือกทำงานบัญชีด้านใด ให้ลองเลือกด้านที่เนื้องานกว้าง และเปิดโอกาสให้เราต่อยอดในสายงานบัญชีแบบลึกๆ อันอื่นได้ เช่น นักบัญชีการเงิน หรือผู้ตรวจสอบบัญชี สายงานนี้ต้องมีความรู้กว้างพอสมควร ถ้ามีประสบการณ์จากงานด้านนี้ อาจจะไปต่อยอดเป็นนักบัญชีภาษีอากร หรือว่านักบัญชีบริหารได้ง่ายขึ้นค่ะ

นักบัญชีต้องทำอะไรบ้าง

นักบัญชีมีหน้าที่ในการจัดการและดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกข้อมูลทางการเงินและการวิเคราะห์ในธุรกิจ นี่คือบางงานที่นักบัญชีต้องทำ:

  1. บันทึกข้อมูลทางการเงิน: นักบัญชีต้องบันทึกข้อมูลทางการเงินอย่างแม่นยำ เช่น บันทึกรายได้ รายจ่าย และธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ เพื่อให้มีการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นระบบ
  2. การจัดทำรายงานการเงิน: นักบัญชีต้องจัดทำรายงานทางการเงินเพื่อให้ผู้บริหารและผู้สนใจสามารถทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการเงินของธุรกิจ เช่น งบการเงิน งบดุล งบกำไรขาดทุน รายงานการวิเคราะห์สภาพการเงิน เป็นต้น
  3. การวิเคราะห์ทางการเงิน: นักบัญชีต้องวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเพื่อให้ผู้บริหารมีข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ เช่น วิเคราะห์สภาพการเงิน เปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างรอบปี วิเคราะห์ต้นทุนและกำไร เป็นต้น
  4. การจัดการภาษี: นักบัญชีมีหน้าที่ในการจัดการเรื่องภาษี เช่น วางแผนภาษี ส่งเอกสารภาษีให้ตรงตามกฎหมาย และตรวจสอบความเป็นไปตามกฎหมายใน

บทสรุป

เพื่อนๆพอจะรู้แล้วใช่ไหมคะ ว่าอาชีพบัญชี มีอะไรบ้าง งานบัญชีมีความสำคัญมากๆ สำหรับธุรกิจ เนื่องจากการทำบัญชีเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถติดตามและวิเคราะห์สถานะการเงินของธุรกิจได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ การวางแผนการเงิน และการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจอีกด้วย

หากเพื่อนๆสามารถเลือกได้แล้ว ว่าจะทำงานบัญชีสายไหน ทาง CPD Academy ก็ยังมีบทความอื่นๆ ที่จะช่วยพัฒนาการทำงานของนักบัญชีในด้านอื่นๆด้วยค่ะ

ทํางานบัญชี ยากไหม มีเทคนิคอะไรต้องใช้บ้าง

หากท่านไหนเริ่มต้นเป็นนักบัญชีแล้ว อยากเก็บชั่วโมงพัฒนาต่อเนื่องหรืออบรม CPD ทักเรามาเพื่อรับคำแนะนำได้ที่นี่นะคะ
Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า