ในปี 2566 นี้เป็นปีแรกที่ TFRS for NPAEs ฉบับปรับปรุง 2565 จะเริ่มต้นบังคับใช้ แต่เชื่อไหมคะว่านักบัญชีหลายคน ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า TFRS for NPAEs คืออะไรกันแน่ แล้วมันจะมีความเกี่ยวข้องกับการทำบัญชีของเราหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ยังมีคำถามที่นักบัญชีมักถามอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับการใช้มาตรฐานชุดนี้ได้อย่างถูกต้อง
ถ้าเพื่อนๆ เป็นอีกคนที่สงสัยเรื่องเหล่านี้เหมือนกัน CPD Academy จะชวนทุกคนมาทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลยค่ะ
TFRS for NPAEs คืออะไร?
TFRS for NPAEs ย่อมาจากคำว่า Thai Financial Reporting Standards for Non-Publicly Accountable Entities (มาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ)
โหว ชื่อยาวเชียว ไม่น่าล่ะทำไมเรามักเรียกย่อๆ กันว่ามาตรฐานบัญชีชุดเล็ก หรือ N-เป้ เพราะถ้ารอพูดให้ครบทั้งประโยคสงสัยหลับก่อนแน่นอน
มาตรฐานชุดนี้ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 2554 ค่ะ เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติในการทำบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ
กิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ คือใคร?
ถ้าเราไปดูที่ขอบเขตของมาตรฐานชุดนี้ เค้าระบุไว้ชัดเจนค่ะว่า กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะหมายถึงใครกันแน่
กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities) หมายถึง กิจการที่ไม่ใช่กิจการดังต่อไปนี้้
1. กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการ ซึ่งมีการซื้อขายต่อประชาชน
2. กิจการที่ดําเนินธุรกิจหลักในการดูแลสินทรัพย์ของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง เช่น สถาบันการเงิน บริษัท ประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม ตลาด สินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้้น เป็นต้น
3. บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วย บริษัทมหาชน
4. กิจการอื่นที่จะกำหนดเพิ่มเติม
ถ้าลองอ่านดูดีๆ ก็จะพบว่ากิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ อาจจะตีความง่ายๆ ว่าเป็นกิจการที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวกับคนจำนวนมาก หรือไม่ต้องรับผิดชอบต่อคนภายนอกเยอะแยะ
ดังนั้น ถ้าจะทำบัญชีก็ไม่ควรจะเสียต้นทุนมาก กฎหมายเลยบอกว่าให้ใช้มาตรฐานชุดเล็กอย่าง NPAEs ไปเลยจ้า
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ TFRS for NPAEs
นอกจากคำถามที่ว่า TFRS for NPAEs คืออะไร หรือว่าใครคือกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะแล้ว ยังมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการใช้มาตรฐาน TFRS for NPAEs สภาวิชาชีพไขข้อข้องในไว้ให้ ในวันนี้เราจะคัดคำถามที่พบบ่อยๆ มาตอบให้ทุกคนหายสงสัยกันค่ะ
คำถาม 1 ถ้าปัจจุบันใช้มาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการมีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs) แต่ว่าอยากเปลี่ยนแปลงเป็น NPAEs แล้ว สามารถทำได้หรือไม่
ตอบ: เริ่มต้นจะต้องดูเรื่องเงื่อนไขของการใช้มาตรฐาน NPAEs เสียก่อนว่าเข้าเงื่อนไข 4 ข้อที่เราอธิบายไปข้างต้นหรือไม่ เช่น บริษัทจำกัดที่่เคยมีวัตถุประสงค์ที่่จะออกขายหลักทรัพย์ ต่อประชาชน แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกแผนการดังกล่าวแล้ว
หลังจากนั้นให้พิจารณา 2 ข้อต่อไปนี้
1. การเปิดเผยเหตุผลว่าทำไมจึงเลือกใช้ TFRSfor NPAEs
อ้างอิงจาก TFRS for NPAEs บทที่ 5 และ TAS 8 ที่กำหนดว่าการเปลี่่ยนแปลงนโยบายการบัญชีทำได้ถ้าการเปลี่่ยนแปลงนั้้นเข้าเงื่อนไข ข้อใดข้อหนึ่งดัังนี้้
- เกิดจากข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
- ทำให้งบการเงินให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมากขึ้้นในส่วนที่เกี่ยวกับผลกระทบของรายการค้าเหตุการณ์และสถานการณ์อื่่นที่่มีต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ
2. ปรับปรุงงบการเงิน
การเปลี่ยนแปลงการใช้มาตรฐานรายงานทางการเงิน ต้องปรับปรุงงบด้วยวิธีปรับปรุงย้อนหลัง เสมือนว่าในอดีตเคยใช้ TFRS for NPAEs มาก่อน ทีนี้นักบัญชีก็ว้าวุ่น และแน่นอนว่ามีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงงบย้อนหลังเกิดขึ้นแน่นอน
คำถาม 2 กรณีที่กิจการได้จดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนและเปลี่ยนความตั้้งใจที่จะไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วแต่ยังคงสภาพเป็นบริษัทมหาชนอยู่ กิจการจะสามารถเปลี่่ยนมาใช้มาตรฐานการ TFRS for NPAEs ได้หรือไม่
ตอบ: ไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานการ TFRS for NPAEs ได้เพราะแม้จะไม่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่กิจการยังคงเข้านิยามตามบทที่ 2 ขอบเขต ย่อหน้าที่ 2.2.3 ของ TFRS for NPAEs ซึ่งระบุว่าเป็น “บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน”
ดังนั้น กิจการจึงยังคงต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (TFRS for PAEs) ต่อไปเช่นเดิม
คำถาม 3 กิจการที่ใช้มาตรฐาน TFRS for NPAEs ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน TFRS 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่่ทำกับลูกค้าหรือ TFRS 16 เรื่อง สัญญาเช่า หรือไม่
ตอบ: มาตรฐานไม่ได้บังคับให้นำ TFRS15 หรือTFRS16 มาถือปฏิบัติ เพราะ TFRS15 หรือTFRS16 มีผลบังคับใช้กับกิจการใช้ TFRS for PAEs
ดังนั้น กิจการที่ใช้มาตรฐาน TFRS for NPAEs ยังคงต้องรับรู้รายได้ตามข้อกำหนดในบทที่ 18 เรื่อง รายได้ และยังคงต้องแบ่งประเภทสัญญาเช่า เป็นสัญญาเช่าการเงินและสัญญาเช่าดำเนินงาน ตามบทที่ 14 เรื่อง สัญญาเช่าค่ะ
คำถาม 4 กิจการที่ใช้มาตรฐาน TFRS for NPAEs และมีรายการอนุพันธ์ที่ใช้ในการป้องกันความเสี่ยงกิจการ NPAEs จะต้องทำบัญชีอย่างไร?
ตอบ: มาตรฐาน TFRS for NPAEs ฉบับปรับปรุง 2565 ได้เพิ่มบทที่เกี่ยวข้องกับอนุพันธ์เข้ามา เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการรับรู้รายการและจัดทำบัญชี
นักบัญชีสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทที่ 24 อนุพันธ์
คำถาม 5 กิจการที่ใช้มาตรฐาน TFRS for NPAEs จะเลือกใช้วิธีการตีราคาใหม่ในการวัดมูลค่าภายหลังของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ได้หรือไม่
ตอบ: สำหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 กิจการสามารถเลือกใช้วิธีการตีราคาใหม่ในการวัดมูลค่าภายหลังของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และ/หรือวิธีการวัดมูลค่ายุติธรรมอสังหาริมทรัพย์ เพื่vการลงทุนได้โดยต้องปฏิบัติตามประกาศสภาวิชาชีพ ที่ 42/2563
และหลังจากที่ มาตรฐาน TFRS for NPAEs ฉบับปรับปรุง 2565 ได้บังคับใช้ เนื้อหาในประกาศสภาวิชาชีพบัญชีดังกล่าว ได้ถูกบรรจุเข้าไปในมาตรฐานชุดนี้แล้ว
โดยสรุป กิจการมีทางเลือกในการใช้วิธีการตีราคาใหม่สำหรับการวัดมูลค่าภายหลังของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ได้ ตามบทที่ 10 ของ TFRS for NPAEs
คำถาม 6 มาตรฐาน TFRS for NPAEs นั้น แตกต่างจาก TFRS for PAEs อย่างไรบ้าง?
ตอบ: ความแตกต่างของ TFRS for NPAEs และ TFRS for PAEs นั้นมีหลายประเด็น ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สรุปความแตกต่างของหลักการ TFRS for NPAEs กับ PAEs
ยกตัวอย่าง ความแตกต่างที่สำคัญ เช่น
1. การวัดมูลค่า
TFRS for NPAEs อ้างอิงบทที่ 3 เรื่องกรอบแนวคิด | TFRS for PAEs |
เกณฑ์ที่ใช้ในการวัดมูลค่า ประกอบด้วย 1. ราคาทุน 2. มูลค่ายุติธรรม 3. มูลค่าปัจจุบัน 4. มูลค่าที่จะได้รับหรือชำระ 5. ราคาทุนปัจจุบัน | ต้นทุนเดิม เพิ่มข้อกำหนด ให้พิจารณาการด้อยค่าและคิดค่าเสื่อมราคา มูลค่าสภาพปัจจุบัน o มูลค่ายุติธรรม คือ ราคาที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์หรือจ่ายเพื่อโอนหนี้สินในสภาพปกติของผู้ร่วมตลาด ณ วันที่วัดมูลค่า o มูลค่าจากการใช้ (สำหรับสินทรัพย์) มูลค่าที่ต้องปฏิบัติตามภาระ (สำหรับหนี้สิน) o ต้นทุนปัจจุบัน |
2. การนำเสนองบการเงิน
TFRS for NPAEs อ้างอิงบทที่ 4 การนำเสนองบการเงิน | TFRS for PAEs |
กิจการต้องนำเสนองบการเงินฉบับสมบูรณ์อย่างน้อยปีละครั้ง โดยต้องแสดง ข้อมูลของงวดก่อนเปรียบเทียบกับทุกรายการที่แสดงในงบการเงินงวดปัจจุบัน งบการเงินฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วย 1. งบแสดงฐานะการเงิน 2. งบกำไรขาดทุนหรืองบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ 3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ 4. หมายเหตุประกอบงบการเงิน | ไม่มีความแตกต่างอย่างเป็นสาระสำคัญ เว้นแต่ งบการเงินฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วย 1. งบแสดงฐานะการเงิน 2. งบกำไรขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 3. งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ 4. งบกระแสเงินสด 5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน 6. ข้อมูลเปรียบเทียบของงวดก่อน 7. งบฐานะการเงิน ณ วันต้นงวดของงวดก่อน (ดูหัวข้อ “งบฐานะการเงิน”) |
และทั้งหมดนี้ก็เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธาณะนะคะ เชื่อว่าทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ น่าจะพอเข้าใจว่า TFRS for NPAEs คืออะไร มีเรื่องอะไรที่ต้องรู้ และคลายสงสัยจากคำถาม-คำตอบที่เรารวบรวมมาให้ค่ะ
สำหรับใครที่อยากทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานชุดนี้ แนะนำเข้าอบรมกับเราได้ที่: สรุปประเด็นสำคัญ TFRS for NPAEs (เริ่มใช้ 2566) นะคะ