งบการเงินของลูกค้าต้องจ่ายภาษีเงินได้ด้วยอัตราเท่าไหร่กันนะ ถ้าคำนวณผิด ต้องโดนลูกค้าว่าแน่เลย แถมยังจะโดนตรวจสอบด้วยน่ะซิ การศึกษาข้อมูลที่ถูกต้อง อย่างเช่นเรื่องอัตราการเสียภาษีจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากเลยค่ะ เพื่อนๆรู้กันไหมคะ ว่าอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น เป็นเท่าไรบ้าง ธุรกิจของเราต้องใช้อัตราไหน และมีวิธีการคำนวณอย่างไร เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันเลยนะคะ
1.ภาษีเงินได้นิติบุคคลคืออะไร
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ รูปแบบภาษีชนิดหนึ่งของประเทศไทยที่ถูกกำหนดขึ้นตามกฏหมายประมวลรัษฏากร โดยจัดเก็บจาก บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ทำมาหาได้ หรือมีกำไรจากการประกอบธุรกิจนั่นเองค่ะ
2.ที่มาของอัตราภาษี
เพื่อนๆเคยได้ยินคำนี้ไหมคะ “สองสิ่งที่เราหนีไม่ได้ ก็คือ ความตายและภาษี” ลองนึกดูตั้งแต่เราเกิดจนถึงปัจจุบัน เกิดมาเราก็เสียภาษีแล้ว เพราะภาษีอยู่ในๆทุกค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตของเรา แถมยังมีมีตั้งแต่สมัยอดีตกาล เพราะการที่ประชาชนได้เสียภาษี ก็เหมือนเป็นการวางเงินกองกลาง เพื่อที่จะนำเงินไปบริหารในหลายๆด้านของประเทศ เช่น จัดสรรการใช้ทรัพยากร รักษาเสถียรภาพ บริหารประเทศ รักษาความสงบ ระบบสาธารณูปโภค และยังมีด้านอื่นๆ อีกมากมายเลยค่ะ
เราไปดูกันค่ะ ว่าอัตราภาษี ถูกกำหนดมาอย่างไร และมีอะไรบ้าง?
กฏหมายภาษีอากร มีหัวข้อสำคัญที่เป็นโครงสร้างสำคัญ 6 หัวข้อค่ะ ซึ่งอัตราภาษี ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากในโครงสร้างการเสียภาษีค่ะ
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
- ฐานภาษีอากร
- อัตราภาษีอากร
- การประเมินจัดเก็บภาษีอากร
- การอุทรณ์ภาษีอากร
- เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ
และภาษีที่จัดเก็บโดยทั่วไปนั้น ก็จะแบ่งเป็น 3 ประเภทอัตราภาษี
- อัตราคงที่ (Flat Rate หรือ Proportional Rate) เป็นภาษีที่จัดเก็บในอัตราที่เท่ากันโดยไม่คำนึงถึงขนาดของฐานภาษี เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งจัดเก็บในอัตราร้อยละ 20 ของกำไร ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากการซื้อขายสินค้าทั่วไปในอัตราร้อยละ 7 เป็นต้น
- อัตราก้าวหน้า (Progressive Tax Rate) เป็นอัตราภาษีที่จัดเก็บหลายอัตราโดยจัดเก็บจะสูงขึ้นเมื่อฐานภาษีสูงขึ้น เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า ภาษีเงินได้นิติบุคคลประเภทธุรกิจ SMEs ในอัตราก้าวหน้า เป็นต้น
- อัตราถอยหลัง (Regressive Tax Rate) เป็นอัตราภาษีที่จัดเก็บหลายอัตราแต่จะจัดเก็บต่ำลง เมื่อฐานภาษีสูงขึ้นตรงข้ามกับการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ปัจจุบันมีการเก็บจัดเก็บภาษีลักษณะนี้น้อยเพราะขัดกับหลักความยุติธรรม
พอรู้จักเกี่ยวกับอัตราภาษีแบบภาพรวมแล้ว ภาษีเงินได้นิติบุคคล มีอัตราภาษีกี่แบบ อะไรบ้าง? เราไปทำความเข้าใจในหัวข้อถัดไปเลยค่ะ
3.อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกี่อัตรา อะไรบ้าง
อัตราภาษีประเภทเงินได้นิติบุคคลจะมีลักษณะเฉพาะตัวเพราะต้องแยกประเภทกิจการออกมาก่อนว่าเราเป็นกิจการประเภทใด ระหว่างกิจการ SMEs กับ กิจการทั่วไป
ความแตกต่างของประเภทกิจการทำให้มีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน เช็คง่ายๆ แบบนี้
3.1 กิจการ SMEs
กิจการ SMEs ต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อ ดังนี้
- รายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบบัญชี ไม่เกิน 30 ล้านบาท
- ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วของกิจการไม่เกิน 5 ล้านบาท
รายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบบัญชี ไม่เกิน 30 ล้านบาท ในที่นี่ เพื่อนๆหลายคน ยังสับสนว่า รายได้ต้องดูตรงไหนของงบการเงิน
ยังมีเพื่อนๆหลายคนเข้าใจผิดว่าเป็น รายได้สุทธิ ที่หักกับค่าใช้จ่ายแล้วใช่หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ใช่นะคะ
เน้นย้ำอีกรอบนะคะ “รายได้ที่ใช้เป็นเกณฑ์กิจการ SMEs คือรายได้ ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายค่ะ”
ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วของกิจการไม่เกิน 5 ล้านบาท เน้นย้ำว่าเป็นทุนที่ชำระแล้ว
กิจการ SMEs ต้องเข้าเงื่อนไขทั้งสองข้อเลยนะคะ ถ้ามีข้อใดข้อหนึ่งไม่เข้าเกณฑ์ ก็ถือว่าเป็นกิจการทั่วไปเลยค่ะ
การคำนวณภาษีลักษณะนี้ ถือว่าเป็นการคำนวณภาษี ประเภท อัตราก้าวหน้า (Progressive Tax Rate)
3.2 กิจการทั่วไป
กิจการที่ไม่เข้าเงื่อนไขเป็นกิจการ SMEs (กิจการทั่วไป) คือ กิจการที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วเกิน 5 ล้านบาทหรือรายได้ มากกว่า 30 ล้านบาท
เมื่อกิจการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีมาได้เท่าไร ก็นำไปคูณ 20% ได้ทันทีเลยค่ะ
การคำนวณภาษีลักษณะนี้ ถือว่าเป็นการคำนวณภาษี ประเภท อัตราคงที่ (Flat Rate หรือ Proportional Rate)
สรุปชัดๆ อีกครั้ง เรื่องอัตราภาษีนิติบุคคลในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
4. ตัวอย่างธุรกิจ และอัตราภาษีที่ต้องใช้
4.1 บจก.และหจก. ขนาดเล็ก กิจการ SMEs
กิจการ SMEs ที่เข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อ
- รายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบบัญชี ไม่เกิน 30 ล้านบาท
- ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วของกิจการไม่เกิน 5 ล้านบาท
อัตราภาษีเงินได้ที่ต้องใช้เป็นดังต่อไปนี้
กำไรสุทธิทางภาษี | อัตราภาษี |
จำนวน 300,000 บาทแรก | ได้รับการยกเว้น |
ตั้งแต่ 300,001 – 3,000,000 บาท | 15% |
ตั้งแต่ 3,000,001 บาทขึ้นไป | 20% |
ยกตัวอย่างลักษณะของธุรกิจ SMEs ชื่อว่า บริษัท CPD Academy จำกัด
งบแสดงฐานะการเงิน มีรายละเอียด ดังนี้
สินทรัพย์รวม | 5,000,000 | บาท |
หนี้สินรวม | 3,000,000 | บาท |
ทุน | 2,000,000 | บาท |
งบกำไรขาดทุน มีรายละเอียด ดังนี้
รายได้รวม | 5,000,000 | บาท |
ค่าใช้จ่ายรวม | 3,000,000 | บาท |
กำไรสุทธิทางบัญชี | 2,000,000 | บาท |
ธุรกิจลักษณะนี้ เข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อ ของธุรกิจ คือ
ทุน 2,000,000 ในงบแสดงฐานะการเงิน ไม่เกิน 5,000,000 บาท
รายได้รวม 5,000,000 ในงบกำไรขาดทุน ไม่เกิน 30,000,000 บาท
ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นดังนี้
กำไรสุทธิทางภาษี | 1,000,000 บาท | อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล |
จำนวน 300,000 บาทแรก | 300,000 | ได้รับการยกเว้น |
ตั้งแต่ 300,001 – 3,000,000 บาท | 1,000,000 – 300,000 = 700,000 บาท | 15% |
ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระ | 700,000 x 15% = | 105,000 บาท |
4.2 บจก. และหจก. ขนาดใหญ่
กิจการที่ไม่เข้าเงื่อนไขเป็นกิจการ SMEs คือ กิจการที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วเกิน 5 ล้านบาทหรือรายได้ มากกว่า 30 ล้านบาท
อัตราภาษี จะเป็นอัตราเดียว คือ 20%
ยกตัวอย่าง ลักษณะของธุรกิจ ขนาดใหญ่ ชื่อว่า บริษัท ซีพีเอ จำกัด
งบแสดงฐานะการเงิน มีรายละเอียด ดังนี้
สินทรัพย์รวม | 5,000,000 | บาท |
หนี้สินรวม | 3,000,000 | บาท |
ทุน | 2,000,000 | บาท |
งบกำไรขาดทุน มีรายละเอียด ดังนี้
รายได้รวม | 35,000,000 | บาท |
ค่าใช้จ่ายรวม | 25,000,000 | บาท |
กำไรสุทธิทางบัญชี | 10,000,000 | บาท |
ธุรกิจลักษณะนี้ ไม่เข้าเงื่อนไข SMEs 1 ข้อ คือ
มีรายได้รวมเกิน 30,000,000 บาท ทำให้ต้องใช้อัตราภาษี ธุรกิจทั่วไป คือ 20%
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นดังนี้
กำไรสุทธิทางภาษี | อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล | ภาษีเงินได้นิติบุคคล |
1,000,000 | x 20% | = 200,000 บาท |
เท่ากับ ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องจ่าย 200,000 บาท
เพื่อนๆสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ค่ะ
สอนจับมือทำและยกตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
5. รายได้หรือสินทรัพย์เกินกำหนด ใช้อัตราภาษี 20% ปีถัดมารายได้หรือสินทรัพย์ลดลงจะใช้อัตราภาษีแบบ SMEs ได้มั้ย
อยู่ดีดี จากที่เป็นธุรกิจ SMEs แล้วธุรกิจเกิดปังขึ้นมา ทำให้มีรายได้ เกิน 30 ล้านบาท แบบนี้กิจการก็จะต้อง เลื่อนเป็นธุรกิจทั่วไป ที่ไม่ใช่ SMEs แล้ว แต่ปีต่อมา เกิดสถานการณ์โควิท ทำให้ยอดขายตก แบบนี้เราจะสามารถกลับมาใช้ อัตราภาษี ของธุรกิจ SMEs ได้หรือไม่
คำตอบ คือ ไม่ได้นะคะ เนื่องจากเงื่อนไขของธุรกิจ SMEs ต้องมีเงื่อนไข 2 ข้อ คือ ทุนชำระไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี และต้องไม่มีรอบบัญชีไหนที่เกินกว่าเงื่อนไข 2 ข้อนี้ค่ะ สรุปว่า ถ้าหากเกินไป 1 รอบบัญชี ก็ไม่สามารถกลับมาใช้อัตราภาษีธุรกิจ SMEs ได้แล้วค่ะ และตามลักษณะของการทำธุรกิจ การเติบโต ก็คือโตแล้ว โตเลย ไม่มีการทำธุรกิจรูปแบบไหนที่พยายามทำให้ธุรกิจกลับมาขนาดเล็กลงค่ะ
เมื่อเพื่อนๆทราบถึงอัตราภาษีแล้ว ก่อนที่จะคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล อย่าลืมเช็ครายได้และทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว เพียงแค่ 2 ข้อนี้ ก็จะใช้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกต้องแล้วค่ะ
อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน สอบถามได้ที่นี่
Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y