เพื่อนๆบางท่านที่กำลังฝึกคำนวณแบบ ภ.งด.50 หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือว่าเป็นการคำนวณส่งหัวหน้าครั้งแรก อาจจะมีความงง เกี่ยวกับขั้นตอนของการคำนวณ ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ต้องทำอะไรก่อนหลัง และต้องดูข้อกฎหมายใดบ้าง เรามาเรียนรู้กันเพื่อให้นำส่งภาษีได้อย่างมั่นใจ พร้อมทั้งตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในบทความนี้กันค่ะ
1. กำไรทางบัญชี VS กำไรทางภาษี
กำไรทางบัญชี
กำไรทางบัญชี หมายถึง กิจการรับรู้รายการทางบัญชีตามมาตรฐานที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด โดยที่ยังไม่ได้กระทบรายการปรับปรุงทางภาษี
กำไรทางภาษี
กำไรทางภาษี หมายถึง กิจการรับรู้รายการทางบัญชีตามมาตรฐานที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด โดยที่ยังกระทบรายการปรับปรุงทางภาษีแล้ว ตามเงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ และเงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม)
2. หลักการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี เราจะเริ่มต้นโดยการใช้งบทดลอง เพื่อคำนวณหากำไรสุทธิทางบัญชีให้ได้
ต่อไปนำไปปรับปรุงรายการทางภาษี ตามกฏหมาย
ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นกำไรสุทธิทางภาษี
ต่อไปให้นำกำไรสุทธิทางภาษี ไปคำนวณ กับอัตราภาษีของกิจการ ก็จะได้เป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลค่ะ
3. ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ลองมาดูตัวอย่างการคำนวณภาษีนิติบุคคลแบบง่ายกันในคลิปนี้กันค่ะ
ตัวอย่างที่พี่หนอมสรุปให้เป็นตัวอย่างในเคสที่มีค่าใช้จ่ายต้องห้าม ซึ่งเราต้องบวกกลับทางภาษีทั้งหมดนะคะ
เรามาดูรายการปรับปรุงกันเลย
- รายการที่เป็นรายได้ทางภาษี
รายได้ทางบัญชีอาจจะไม่มี แต่ว่าถือเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีค่ะ เช่น ดอกเบี้ยรับที่เกิดจากการให้เงินกู้ยืมแก่กรรมการ - ค่าใช้จ่ายต้องห้าม
ค่าใช้จ่ายที่กิจการบันทึก แต่ไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ค่ะ เช่น ค่าใช้จ่ายไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ค่าใช้จ่ายไม่มีเอกสารระบุตัวคนรับเงิน - รายการที่ไม่ใช่รายได้ทางภาษี
สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นเงินได้ให้กับกิจการตามที่กฏหมายประกาศและบังคับใช้แล้วค่ะ รายการนี้เพื่อนๆต้องติดตามอยู่สม่ำเสมอ เพราะว่าเป็นสิทธิประโยชน์กับกิจการค่ะ - ค่าใช้จ่ายที่หักได้เพิ่ม
รายจ่ายที่เราหักเพิ่มกันเป็นประจำก็คือ เงินบริจาค ค่าจ้างแรงงาน และก็ยังมีอื่นๆอีกเยอะเลยค่ะ แต่ว่าในแต่ละปีก็จะมีประกาศเพิ่มว่าสามารถใช้สิทธิอะไรเพิ่มได้บ้าง อย่างเช่น ค่าซื้อชุดตรวจ ATK ของกิจการ เป็นต้น
หากเพื่อนๆอยากรู้อย่างละเอียดว่ามีอะไรบ้าง ในแบบภงด.50 มีระบุไว้ค่ะว่าเป็นค่าอะไรบ้างใช้สิทธิอะไรบ้าง แต่ก็จะมีบางรายการที่เราต้องศึกษาข้อปฏิบัติเพิ่มเติม ว่ากิจการของเราต้องทำอย่างไรถึงจะได้สิทธิทางภาษีนั้นๆค่ะ
พอเราได้ทำความรู้จัก 4 รายการปรับปรุงไปแล้วเรามาดูผลกระทบที่มีต่อภาษีที่ต้องชำระกันค่ะ
- รายการที่เป็นรายได้ทางภาษี ที่ไม่ได้บันทึกในทางบัญชี แต่ว่าเป็นรายได้ทางภาษี เมื่อกำไรทางภาษีเพิ่มขึ้น จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีก็ต้องเพิ่มขึ้นค่ะ
- ค่าใช้จ่ายต้องห้าม ทางบัญชีลงรายจ่ายไว้ แต่ว่าทางภาษีไม่ให้เป็นรายจ่าย ก็เสมือนว่า กำไรทางภาษีเพิ่มขึ้น จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีก็ต้องเพิ่มขึ้นค่ะ
- รายการที่ไม่ใช่รายได้ทางภาษี ทางบัญชีลงรายได้ไว้ แต่ทางภาษีไม่ถือให้เป็นรายได้ เท่ากับว่า รายได้ลดลง ก็เท่ากับ กำไรลดลง จำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีก็ลดลงค่ะ
- ค่าใช้จ่ายที่หักได้เพิ่ม ทางบัญชีลงค่าใช้จ่ายไว้ และทางภาษีก็ยังเป็นค่าใช้จ่ายได้เพิ่มอีก เท่ากับว่า กำไรสุทธิทางภาษีลดลง ทำให้ภาษีที่ต้องเสียลดลงเช่นกันค่ะ
และสำหรับใครที่อยากเรียนรู้วิธีการคำนวณแบบ Step-by-Step ให้ครบถ้วน เราลองมาดูตัวอย่างนี้กัน
บริษัท CPD Academy จำกัด มีรายละเอียดข้อมูลทางบัญชีดังต่อไปนี้
บัญชี | จำนวน | |
รายได้จากการขาย | 300,000 | |
ต้นทุนขาย | 100,000 | |
รายการปรับปรุง | จำนวน | |
ค่าใช้จ่ายส่วนตัว (บวกกลับ) | 25,000 | ค่าใช้จ่ายต้องห้าม |
ค่าปรับยื่นภาษีล่าช้า (บวกกลับ) | 1,000 | ค่าใช้จ่ายต้องห้าม |
นำสินค้าที่ขายไปใช้ส่วนตัว (หักออก) | 10,000 | รายได้ทางภาษี |
เพื่อนๆเห็นไหมคะ ว่ากำไรสุทธิทางบัญชีและกำไรสุทธิทางภาษี มียอดไม่เท่ากัน ผลต่างก็คือ รายการที่ถูกบวกกลับ และ หักออกตาม เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ และ เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม) นั่นเองค่ะ
และถ้าหากใครอยากทบทวนเกี่ยวกับเรื่องต้องรู้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ลองดูสรุปสิ่งต้องรู้ในคลิปนี้ได้เลยจ้า
อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน สอบถามได้ที่นี่
Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y