นักบัญชีมือใหม่

เริ่มต้นรับทำบัญชี นักบัญชีต้องทำอะไรบ้าง

เริ่มต้นรับทำบัญชีต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

การเริ่มต้นรับทำบัญชีเป็นขั้นตอนสำคัญมาก สำหรับนักบัญชีมือใหม่ที่ยังไม่เคยรับงานอาจจะเจอปัญหาเช่น ลูกค้าบอกรายละเอียดไม่หมด มีประเด็นกับกรมสรรพากร มีคดีฟ้องร้อง หรือข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สามที่ไม่ยอมบอกนักบัญชีคนใหม่ แต่ว่าเราก็ต้องมาเจอภายหลังจากที่รับงาน ทำให้ต้องแก้ไขปัญหาของปีก่อนจนเงินที่ได้ไม่คุ้มกับเวลาที่เสียไปค่ะ

เพื่อช่วยให้เพื่อนๆ กำจัดปัญหาเหล่านี้ CPD Academy มีแนวทางในการคัดกรองลูกค้าก่อนที่จะรับทำบัญชีมาฝากในบทความนี้

1. คัดกรองลูกค้า ก่อนรับทําบัญชี ยื่นภาษีดีทำยังไง

การเริ่มต้นคัดกรองลูกค้า

การคัดกรองลูกค้าก่อนที่จะรับงานทำบัญชีและยื่นภาษีเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากหากรับลูกค้ามาแล้วเราไม่สามารถจัดการปัญหาหรือทำบัญชีให้ลูกค้าได้ จะส่งผลต่อบริษัทของเรา หรือตัวเราเอง ทั้งด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการเงินที่ไม่คุ้มค่ากับเวลาที่ต้องใช้จัดการปัญหาค่ะ

1.1 ข้อมูลพื้นฐานที่ต้องการจากลูกค้า

  • ข้อมูลส่วนบุคคลผู้ที่ติดต่อ

ก่อนที่จะเสนอราคา เราต้องทราบถึงบุคคลที่มาสอบถามเราว่ามีตัวตนจริงไหม ทำหน้าที่อะไร เพื่อที่่เราจะได้เรียบเรียงข้อมูลเพื่อสอบถามพูดคุยข้อมูลเพิ่มเติม เช่น หากผู้ติดต่อเป็นฝ่ายบัญชีโดนตรง เราจะสามารถสื่อสารเป็นภาษาบัญชีได้เลย สามารถขอเอกสารทางบัญชีเพื่อขอดูข้อมูลเเบื้องต้นได้ แต่ถ้าเป็นผู้ประกอบการติดต่อมา เราอาจจะต้องใช้ภาษากลางๆ สำหรับธุรกิจ และอธิบายผู้ประกอบว่าเอกสารสำคัญที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง และอธิบายลักษณะเอกสารเพิ่มเติม เป็นต้น

  • ข้อมูลธุรกิจหรือองค์กร

เมื่อทราบข้อมูลของผู้ติดต่อแล้ว ต่อมาก็ต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่เราจะรับงานทำบัญชี

ข้อมูลเบื้องต้นที่สามารถสอบถามลูกค้าได้ ยกตัวอย่าง เช่น ชื่อกิจการ รายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีปัจจุบันต่อเดือน เอกสารบิลซื้อ บิลขายต่อเดือน ประมาณกี่รายการ จดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ มีพนักงานกี่คน ปัจจุบันใช้โปรแกรมบัญชีอะไร

  • ข้อมูลการเงินเบื้องต้น

หากเป็นบริษัทที่เพิ่งเปิดใหม่ ผู้รับทำบัญชีจะต้องสอบถามเกี่ยวประมาณการตัวเลขที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากเปิดเป็นปีแรก ยังไม่มีข้อมูลให้ประมาณการ

หากเป็นบริษัทเปิดดำเนินการมานานแล้ว และเราทราบชื่อบริษัทแล้ว สามารถหาข้อมูลงบการเงินย้อนหลังได้ที่ คลังข้อมูลธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ตามลิงค์นี้เลยค่ะ สามารถพิมพ์ชื่อกิจการที่เราทราบเข้าไปได้เล้ย

ก่อนรับทำบัญชี เช็กอะไรบ้าง
ก่อนรับทำบัญชี เช็กอะไรบ้าง

ข้อมูลที่เราจะทราบจากการค้นหาจากคลังข้อมูลธุรกิจ มีดังนี้

  • ข้อมูลนิติบุคคล
  • รายชื่อกรรมการ
  • ข้อมูลงบการเงิน (งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน อัตราส่วนทางการเงิน)
  • การลงทุนจำแนกตามสัญชาติ
  • ประวัติการเปลี่ยนแปลงข้อมูล

เมื่อเราทราบข้อมูลในอดีตแล้ว ก็อย่าลืมถามถึงข้อมูลในปีปัจจุบันด้วยนะคะ
ว่ายังเป็นโครงสร้างการดำเนินงานแบบเดิมเหมือนปีที่ผ่านมาหรือไม่ และคาดว่ารายได้ในปีปัจจุบันจะเป็นเท่าไหร่ เพื่อนำมาประกอบการประเมินราคาค่ะ

1.2 การประเมินความเหมาะสม

การประเมินความเหมาะสม คือการประเมินเกี่ยวลักษณะธุรกิจและข้อมูลที่เราได้ค้นคว้ามา

  • ประเมินขนาดธุรกิจและการทำธุรกิจ

การประเมินขนาดธุรกิจ สามารถดูได้จากคลังข้อมูลธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่บอกถึงงบการเงินปีล่าสุดที่ได้รับการอนุมัติจากกรมพัฒน์แล้ว ว่ามีขนาดธุรกิจเท่าไหร่ ดูได้จากสินทรัพย์มีมูลค่าเท่าไหร่ หรือ รายได้ต่อปีมีมูลค่าเท่าไหร่

การทำธุรกิจ สามาถดูวัตถุประสงค์ของกิจการได้จาก ข้อมูลนิติบุคคล จากคลังข้อมูลธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เช่นกันค่ะ

  • ประเมินรูปแบบการจัดทำบัญชี

รูปแบบของการจัดทำบัญชี เราจะยกตัวอย่าง 2 รูปแบบนะคะ คือ รูปแบบออฟไลน์ และรูปแบบออนไลน์

รูปแบบออฟไลน์ คือ นักบัญชีใช้โปรแกรมบัญชีในการบันทึกข้อมูลด้วยโปรแกรมออฟไลน์ เช่น โปรแกรม Experss หรือ ไฟล์ Excel ในการจัดทำบัญชี เป็นต้น

รูปแบบออนไลน์ คือ นักบัญชีใช้โปรแกรมบัญชีในการบันทึกข้อมูลด้วยโปรแกรมออนไลน์ เช่น Flowaccount หรือ PEAK ที่สามารถเรียกดูข้อมูลออนไลน์ได้ตลอดเวลา

นักบัญชีต้องประเมินความต้องการของลูกค้า ว่าต้องการรูปแบบการทำบัญชีแบบไหน เพื่อสอดคล้องกับนักบัญชีที่จะมีความเชี่ยวชาญในการทำงานแต่ละโปรแกรมด้วยค่ะ

2. คำถามที่สำคัญก่อนรับทำบัญชีและยื่นภาษี

2.1 ข้อมูลกรองลูกค้า

ข้อมูลทั่วไปของกิจการ

ข้อมูลงบการเงินของกิจการ

ความต้องการของลูกค้าที่อยากได้จากนักบัญชี

โปรแกรมบัญชีที่ลูกค้าใช้งานมาก่อน

ทำไมลูกค้าถึงอยากเปลี่ยนผู้จัดทำบัญชีเพราะเหตุใด

2.2 การตกลงในการปฏิบัติงานและการชำระเงิน

  • การตกลงราคาและการเสนอบริการ

การตกลงราคาและการเสนอราคาข้อมูลที่สำคัญ ต้องเน้นเกี่ยวรายละเอียดดังนี้

  • ค่าบริการรายเดือนหรือรายปี
  • ค่าบริการรวม VAT หรือยัง
  • ค่าบริการจ่ายชำระทุกวันที่เท่าไหร่
  • ลูกค้าต้องส่งข้อมูลให้ตามกำหนดภายในวันที่เท่าไหร่
  • หากเกิดความล่าช้าส่งข้อมูลและเอกสารไม่ตรงตามที่กำหนรด ค่าเบี้ยปรับเงินเพิ่ม เป็นความรับผิดชอบของใคร
  • จ่ายชำระเงินภายในเมื่อไหร่

2.3 การสอบถามเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจน

หลังจากที่เราได้ส่งใบเสนอราคาให้ลูกค้าแล้ว ทางลูกค้าต้องมีคำถามเพื่อสอบถามเพิ่มเติม รายละเอียดที่ชี้แจงเพิ่มเติม หรือแก้ไข ให้อัพเดตในใบเสนอราคาด้วย

2.4 ตอบตกลงใช้บริการ

เมื่อลูกค้าตอบตกลงใช้บริการแล้ว ให้เก็บเอกสารที่ลูกค้าเซ็นตกลงใบเสนอราคาเก็บไว้เพื่อเป็นการคำนวณราคาค่าบริการจัดทำบัญชีให้เรียบร้อย และเตรียมตัวตั้งค่าระบบ ขอข้อมูลเพื่อมาจัดทำบัญชีให้ลูกค้าได้เลย

คำถามที่พบบ่อย

Q : เอกสารหรือข้อมูลต้องสอบถามก่อนรับทำบัญชีและยื่นภาษี?

A : เอกสารหรือข้อมูลที่ต้องสอบถามลูกค้าก่อนรับงาน มีดังนี้
ข้อมูลทั่วไปของกิจการ ,ข้อมูลงบการเงินของกิจการ ,ความต้องการของลูกค้าที่อยากได้จากนักบัญชี โปรแกรมบัญชีที่ลูกค้าใช้งานมาก่อน ,ทำไมลูกค้าถึงอยากเปลี่ยนผู้จัดทำบัญชีเพราะเหตุใด

Q : ในขั้นตอนการคัดกรอง ควรได้รับเอกสารอะไรบ้าง ?

A : เอกสารที่ต้องใช้ในการประเมินราคา คือ ใบทะเบียนการค้าหรือภ.พ.20 ข้อมูลนี้เราจะสามารถนำไปค้นหาข้อมูลในระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ และได้ทราบด้วยว่ากิจการจดภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว

งบการเงิน ปีปัจจุบัน (ถ้ายังไม่มี ขอเป็นปีล่าสุดที่ลูกค้ามี) งบการเงินฉบับจริงจะสามารถบอกได้ว่า งบการเงินของลูกค้าสถานะปกติหรือไม่ ดูจากหน้ารายงานผู้สอบบัญชีต้องลงลายมือชื่อ แบบไม่มีเงื่อนไข และทราบรายละเอียดเพื่อทำการประเมินราคาได้ดียิ่งขึ้น

แบบรายการคำนวณภาษีเงินได้ครึ่งปี และประจำปี ในส่วนนี้จะแสดงถึงกิจการได้ยื่นภาษีครบถ้วยแล้ว แล้วยังบอกถึงว่า รายการคำนวณในแบบมีรายละเอียดใดบ้างที่นักบัญชีอย่างเราต้องระวังในการจัดทำบัญชีในอนาคต เช่น
กำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษีของลูกค้า ต่างกันมาก แสดงว่าต้องมีรายการปรับปรุงทางภาษีบางอย่างในงบการเงิน เป็นต้น

Q : ควรกำหนดเวลาในการจัดทำบัญชีและยื่นภาษีอย่างไร?

A : เนื่องจากการทำบัญชีและยื่นภาษี ถูกบังคับและกำหนดเวลาในการยื่นภาษีโดยสรรพากรอยู่แล้ว โดยแต่ละแบบภาษีก็จะมีกำหนดว่าแต่ละแบบภาษี ต้องยื่นไม่เกินภายในวันที่เท่าไหร่

แต่ทาง CPD Academy จะขอยกตัวอย่างการกำหนดเวลาดังนี้
1. ลูกค้าส่งข้อมูลและเอกสารให้ผู้ทำบัญชีภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน
2. นักบัญชีปิดบัญชีและยื่นภาษีภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน
3. เรียกเก็บค่าบริการและชำระเงินไม่เกินวันที่ 15 ของทุกเดือน
4. ลูกค้าจ่ายชำระภาษีไม่เกินวันที่ 15 ของทุกเดือน

แต่การบริหารเวลาก็ขึ้นอยู่กับ จำนวนงานและจำนวนของผู้ทำบัญชีด้วยนะคะ ว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนยังไงให้ทันเวลาที่กำหนด เราขอแนะนำอีกบทความที่จะสามารถช่วยในการบริหารงานบัญชีและภาษีให้ทันเวลาได้
รู้จักปฏิทินภาษี ตัวช่วยวางแผนงานบัญชี เดดไลน์ไหนก็ไม่พลาด

หากเพื่อนๆนักบัญชี คัดกรองลูกค้าตามบทความนี้แล้ว ทางเราคิดว่าสามารถช่วยเรื่องการพิจารณาเนื้อหางาน ให้เหมาะสมกับค่าบริการ และการทำงานก็จะสามารถทำได้อย่างราบรื่น ไม่พบเจอปัญหาที่แอบซ่อนอยู่ในอนาคต หากงานบัญชีที่เรารับมา เหมาะสมกับเราในรูปแบบของการจัดทำ ก็จะทำให้ผลงานของเราออกมาดีค่ะ

ใครที่อยากเพิ่มสกิลการปิดงบการเงิน หรือเพิ่มความรู้เกี่ยวกับภาษีต่างๆให้แม่นยำขึ้น
ลองทักมาคุยกันที่ช่องทางนี้ได้นะคะ
Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า