ภาษี

ค่าปรับไม่จด VAT รายได้เกิน 1.8 ล้านคิดยังไง มีค่าปรับเท่าไร

ค่าปรับไม่จด VAT รายได้เกิน 1.8 ล้านคิดยังไง มีค่าปรับเท่าไร

หลายคนคงรู้กันแล้วว่า กิจการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่บางคนก็อาจจะยังไม่ทราบว่า ถ้าไม่จดทะเบียน VAT ตามที่กฎหมายกำหนด จะมีค่าปรับที่ต้องจ่ายตามมามากมายจนน่าตกใจค่ะ ซึ่งทำให้เจ้าของกิจการบางรายอาจจะล้มละลายกันไปเลยทีเดียว

บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจ พร้อมกับวิธีคำนวณ ค่าปรับไม่จด VAT เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทแบบเข้าใจง่ายกันค่ะ

รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท คิดยังไง เมื่อไรต้องจด VAT

มาดูกันก่อนว่า รายได้เกิน 1.8 ล้านบาทคิดยังไง แล้วบริษัทของเราเข้าเกณฑ์หรือไม่ ให้แยกรายได้ออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. รายได้ที่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในส่วนนี้จะไม่นำมารวมในการคิดครั้งนี้ ถ้าใครสงสัยว่ารายได้แบบไหนได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยจ้า

2. รายได้ที่คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ส่วนนี้ต้องเอามารวมในการคำนวณทั้งหมด ซึ่งเราจะมาดูในข้อนี้เป็นหลักกันค่ะ

ซึ่งปกติแล้วจะนำรายได้สุทธิจากการขายสินค้าหรือบริการ ทั้งปี (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) มารวมกัน

  • กรณียอดรวมรายได้สุทธิ ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • กรณียอดรวมรายได้สุทธิ เกิน 1.8 ล้านบาท ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ของยอดขาย และต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท

ตัวอย่าง สมมติว่า ธุรกิจของเรามีรายได้รวมจากการขายสินค้าทั้งหมด (ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่าย และยังไม่หากำไร) ดังนี้

  • มกราคม – มีนาคม: 300,000 บาท
  • เมษายน – มิถุนายน: 1,600,000 บาท
  • กรกฎาคม – กันยายน: 400,000 บาท
  • ตุลาคม – ธันวาคม: 700,000 บาท

ยอดรวมรายได้สุทธิทั้งปี: 300,000 + 1,600,000 + 400,000 + 700,000 = 3,000,000 บาท

ค่าปรับไม่จด VAT รายได้เกิน 1.8 ล้านคิดยังไง มีค่าปรับเท่าไร
ค่าปรับไม่จด VAT รายได้เกิน 1.8 ล้านคิดยังไง มีค่าปรับเท่าไร

จะเห็นได้ว่ายอดรวมรายได้สุทธิ (3,000,000 บาท) เกิน 1.8 ล้านบาทแล้ว ดังนั้น ธุรกิจของเราจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ในส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาทของยอดขาย และต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทค่ะ หลังจากวันที่ยื่นขอจดแล้ว เราจะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่นจดทะเบียนเป็นต้นไปค่ะ

แล้วถ้าหากในกรณีที่มารู้ทีหลังว่ารายได้เกิน 1.8 ล้าน แต่ก็เลยเวลาที่จะยื่นขอ 30 วันมาแล้วต้องทำยังไงดี ?

  1. หยุดรับเงินผ่านบัญชีเดิม (ในกรณีที่ยื่นภาษีแบบบุคคลธรรมดาอยู่ และกำลังจะจดเป็นนิติบุคคล)
  2. หาว่าวันไหนคือ วันแรกที่มีรายได้เกิน
  3. คำนวณรายได้ทั้งหมด และแยกออกมาเป็นรายเดือน เพื่อหายอดภาษีที่ต้องจ่าย และค่าปรับที่ต้องยื่น
  4. เข้าขอคำปรึกษา และพูดคุยกับเจ้าหน้าที่สรรพากรตามพื้นที่ธุรกิจ

เมื่อรู้ตัวแล้วจะต้องรีบดำเนินการตามขั้นตอนนี้โดยด่วน เตรียมเอกสารที่จะต้องใช้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องเสียค่าปรับไม่จด VAT ตามที่กำหนดไว้ให้ถูกต้องค่ะ

สรุปภาษีที่ต้องเสียตามกฎหมาย

ในกรณีที่รายได้เกิน 1.8 ล้าน แต่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ต้องเสียค่าปรับไม่จด VAT อะไรบ้าง ตามที่กฎหมายกำหนดแล้วต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้ง

  • จะถูกเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7% นับตั้งวันแรกที่มีรายได้เกิน ไปจนถึงวันที่ยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • กรณีไปมอบตัวเอง ต้องเสียค่าปรับ ตั้งแต่ 2-20% ของภาษีที่จะต้องชำระในแต่ละเดือนภาษี ค่าปรับจะนับตั้งวันแรกที่มีรายได้เกินไปจนถึงวันที่ยื่นขอจด และถ้าแจ๊คพ็อตสรรพากรเป็นคนตรวจเจอค่าปรับดังกล่าวต้องเสียเพิ่มเป็น 2 เท่านะคะ
  • เสียเงินเพิ่ม 1.5 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือนที่ชำระล่าช้า หากนับได้ไม่เต็มเดือน หรือเศษของเดือน จะถูกนับเป็นอีก 1 เดือนไปเลยค่ะ
  • ไม่สามารถนำภาษีซื้อที่เกิดในเดือนนั้นมาหักภาษีขายได้ หมายความว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไม่มีสิทธิ์นำ “ภาษีซื้อ” ที่ชำระจากสินค้าหรือบริการที่ซื้อมาเพื่อใช้ในกิจการ มาหักออกจาก “ภาษีขาย” ที่เรียกเก็บจากลูกค้าในเดือนนั้นได้ค่ะ

พอรู้รายละเอียดทั้งหมดแล้ว ต่อไปมาดูวิธีคำนวณกันเลยค่ะ

สรุปภาษีที่ต้องเสียตามกฎหมาย
สรุปภาษีที่ต้องเสียตามกฎหมาย

ตัวอย่างคำนวณค่าปรับสรรพากร

มาดูตัวอย่างการคำนวณค่าปรับสรรพากร กรณียื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มล่าช้ากันค่ะ

  • สรรพากรตรวจพบว่าธุรกิจมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ในปี 2567
  • ผู้ประกอบการเข้ายื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังในวันที่ 15 เมษายน 2567
  • ยอดขายสินค้าหรือบริการในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2567 อยู่ที่ 3,000,000 บาท

วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าปรับสรรพากร*

  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียย้อนหลัง รายได้ทั้งหมดที่ได้รับ คือ 3,000,000 บาท ส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาท คือ 1,200,000 บาท นำมาคิดภาษีที่ต้องเสีย 7% จะได้ดังนี้ค่ะ (3,000,000 – 1,800,000) x 7% = 1,200,000 x7% = 84,000 บาท
  • ค่าปรับที่ต้องชำระ 2 เท่า = 84,000 x 2  = 168,000 บาท
  • ดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน = 84,000 x 1.5% ต่อเดือน
  • ยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม และเบี้ยปรับที่ต้องชำระทั้งหมด = 84,000 บาท + 168,000 บาท + ต่อเดือน = ค่าปรับไม่จด VAT คร่าว ๆ เป็นเงิน 253,260 บาท (ซึ่งยังไม่รวมดอกเบี้ย 1.5% ตามระยะเวลาที่เลยกำหนด)

*หมายเหตุ สูตรนี้เป็นการคำนวณเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น จำนวนเงินที่ต้องชำระจริงอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของกิจการ ระยะเวลาที่จดล่าช้า เป็นต้น แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีเพิ่มเติม หรือ ดูตัวอย่างได้ที่ ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตัวอย่างคำนวณค่าปรับสรรพากร
ตัวอย่างคำนวณค่าปรับสรรพากร

สรุป ค่าปรับไม่จด VAT รายได้เกิน 1.8 ล้านคิดยังไง มีค่าปรับเท่าไร

การคิดรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท เพียงนำรายได้สุทธิจากการขายสินค้าหรือบริการ ทั้งปีมารวมกัน (โดยไม่ใช่กำไรนะฮะ) จะทำให้ได้เห็นว่าเกินหรือไม่ และเกินตั้งแต่เดือนไหน ซึ่งหากทราบว่าเกิน 1.8 ล้านบาท ต้องรีบไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน หากเกินระยะนี้แล้วไม่ไปจด จะต้องโดนทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ที่เราไม่เคยเรียกเก็บจากลูกค้า) ค่าปรับ และเงินเพิ่มต่างๆ อีกมากมาย

ดังนั้นหากไม่อยากให้เกิดการเสียค่าปรับจด VAT ขึ้น เจ้าของธุรกิจควรตรวจเช็กรายได้เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และรีบดำเนินการให้เรียบร้อยนะคะ

สำหรับใครที่อยากเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม มากขึ้นกว่าเดิม เพิ่มเติมเก็บ CPD ได้ด้วย แนะนำลงเรียนคอร์สนี้ได้เลย รู้จักภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทั้งระบบ

แนะนำบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นภาษี (คลิกที่นี่)

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า