ความรู้บัญชี

มาตรฐานการบัญชี NPAEs เกี่ยวข้องกับใคร มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง

มาตรฐานการบัญชี NPAEs เกี่ยวข้องกับใคร มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง

ในประเทศไทย มีกิจการมากถึงกว่า 90%  ที่เป็นกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือที่เรียกว่า NPAEs และกฎหมายกำหนดว่า การทำบัญชีต้องใช้มาตรฐานการรายงานการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) หรือที่นักบัญชีมักเรียกติดปากว่า มาตรฐานการบัญชี NPAEs ซึ่งมาตรฐานชุดนี้เป็น a-must ที่นักบัญชีทุกท่านต้องรู้ และทำความเข้าใจให้ดีก่อนที่จะทำงานเลยค่ะ

ถ้าตอนนี้ใครยังสงสัยข้องใจกับมาตรฐานตัวนี้ ว่าเกี่ยวข้องกับใครบ้างนะ และมีอะไรที่นักบัญชีอย่างเราต้องรู้บ้าง ลองไปศึกษารายละเอียดกันได้ที่นี่เลย

กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) คืออะไร ?

กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities – NPAEs)  ก็คือ กิจการที่ไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการ ซึ่งมีการซื้อขายต่อประชาชน
  2. กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลสินทรัพย์ของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง เช่นสถาบันการเงิน
  3. บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน

ถ้าสังเกตุกันดีๆ เราจะพบว่า กิจการ 1 ใน 3 ข้อที่กล่าวข้างบน มีความเกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก ดังนั้น ถ้าเป็นกิจการหนึ่งใน 3 ที่ว่านี้ เราจะเรียกว่า กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities – PAEs) ค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ SET ในประเทศไทย หรือบริษัท AIA จำกัด ที่แม้ว่าไม่ได้มีหุ้นซื้อขายในตลาด แต่ว่าดูแลเงินและกรมธรรม์ของคนหมู่มาก แบบนี้ก็ถือว่าเป็นกิจการมีส่วนได้เสียสาธารณะค่ะ

แต่ถ้าเราไม่ได้เข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อนี้แล้ว จะถือว่าเราเป็นกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ และมีสิทธิใช้มาตรฐานการบัญชี NPAEs นั่นเองค่ะ

กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) คืออะไร ?
กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) คืออะไร ?

งบไหนใช้มาตรฐานการบัญชี NPAEs บ้างสังเกตยังไง?

ทีนี้หลายคนน่าจะสงสัยว่า ถ้าเราดูงบการเงินของบริษัท เราจะสังเกตยังไงว่างบนี้ใช้มาตรฐานฉบับไหนกันแน่

วิธีสังเกตง่ายๆ ก็คือ การอ่านจากหมายเหตุประกอบงบการเงินค่ะ ซึ่งข้อแรกๆ จะกล่าวถึงมาตรฐานรายงานทางการเงินที่ใช้ในการทำบัญชีและจัดทำงบการเงินนั่นเอง

ลองมาดูตัวอย่างหมายเหตุประกอบงบการเงินนี้กัน สังเกตุ หมายเหตุข้อ 2 เกณฑ์การจัดทำและนำเสนองบการเงิน และนโยบายการบัญชีที่สำคัญ ให้ดีๆ นะคะ

งบไหนใช้มาตรฐานการบัญชี NPAEs บ้างสังเกตยังไง?
งบไหนใช้มาตรฐานการบัญชี NPAEs บ้างสังเกตยังไง?

3 คำถาม ที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเลือกใช้ NPAEs หรือ PAEs

ถึงแม้ว่ามาตรฐานการบัญชีชุดเล็กนี้ จะไม่ยุ่งยากเท่ามาตรฐานการบัญชีชุดใหญ่ (TFRS for PAEs) แต่ก็ยังมีประเด็นข้อสงสัย หรือคำถามที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ เกี่ยวกับการเลือกใช้งาน NPAEs หรือ PAEs

เราลองมาดูคำถามและคำตอบที่น่าสนใจกันเลยค่ะ

คำถามที่ 1 บริษัทเป็น NPAEs อยู่แล้วอยากเลือกทำบัญชีชุดใหญ่ TFRS for PAEs ได้หรือไม่ ?

คำตอบ ก็คือ หากบริษัทเป็นกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือ NPAEs อยู่แล้ว แต่ไม่อยากทำตามมาตรฐานการบัญชีชุดเล็ก ก็สามารถเลือกทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีชุดใหญ่ (TFRS for PAEs) ได้ค่ะ

ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทที่เป็นบริษัทย่อยของบริษัทใหญ่ที่ใช้ PAEs บางครั้งบริษัทแม่อาจจะมีนโยบายให้ใช้มาตรฐานการบัญชีชุดใหญ่ไปเลย เพราะว่าจะได้ไม่มี Gap หรือข้อแตกต่างระหว่าง PAEs และ NPAEs เวลาที่จัดทำงบการเงินรวมจะได้ไม่ต้องปรับปรุงรายการให้มันยุ่งยาก เป็นต้น

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดีของการเปลี่ยนจากมาตรฐานชุดเล็กเป็นชุดใหญ่สำหรับบริษัทย่อยเหล่านี้ คือประหยัดทรัพยากรในการจัดทำงบการเงินรวมหรือทำงบ Consolidation นั่นเอง

คำถามที่ 2 บริษัทเป็น NPAEs อยู่แล้ว อยู่แล้วอยากเลือกใช้ TFRS for PAEs บางฉบับได้หรือไม่ ?

คำตอบ ของคำถามนี้ค่อนข้างซับซ้อนนิดนึงอยากจะให้พิจารณาเป็นจุด ๆ ไป ซึ่งสิ่งแรกที่เราจะต้องคำนึงก็คือว่ามาตรฐาน PAEs ที่คุณอยากจะเลือกใช้คือ มาตรฐานฉบับไหน

กิจการที่บันทึกบัญชีจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานชุดเล็กสามารถเลือกที่จะใช้มาตรฐานชุดใหญ่ได้เท่าที่มาตรฐานชุดเล็กนั้นยอมให้ใช้ เช่น

  • มาตรฐานการบัญชี TAS 12 Deferred tax
  • มาตรฐานการบัญชี TAS 19 Employee benefit

ทั้ง TAS 12 และ TAS 19 เป็นมาตรฐานที่กระทบเรื่องของการวัดมูลค่าและการรับรู้รายการในบัญชีแต่มาตรฐานบัญชีชุดเล็กยอมได้

ถ้านอกเหนือจากนั้น มาตรฐานชุดอื่นที่กิจการอยากใช้ กิจการต้องมาพิจารณาดูก่อนว่ามันต้องไม่กระทบกับการวัดมูลค่าและการรับรู้รายการ คือ ไม่ได้กระทบการบันทึกเดบิต เครดิตที่เคยบันทึกไว้แล้ว เช่น

  • มาตรฐานการบัญชี TAS 7 งบกระแสเงินสด
  • มาตรฐานการบัญชี TAS 24 เรื่องการเปิดเผยกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

ถ้าสมมติว่าอยากเอามาใช้ผสมกับ NPAEs ก็สามารถทำได้ค่ะ เพราะว่ามาตรฐานการบัญชีเรื่องนี้ไม่ได้ไปกระทบรายการเดบิต เครดิต ที่กิจการเคยบันทึกไว้ แล้ว

แต่สำหรับมาตรฐานการบัญชีฉบับใหญ่บางฉบับ เช่น เรื่องของสินทรัพย์ถาวร ฉบับใหญ่นั้นจะไม่สามารถเอามาผสมกับ NPAEs ได้ เพราะมีเรื่องของการตีมูลค่าสินทรัพย์ ซึ่งมีผลกระทบเกี่ยวกับการวัดมูลค่านั่นเอง

คำถามที่ 3 บริษัทเป็น NPAEs อยู่แล้ว ตัดสินใจใช้ PAEs หลังจากนั้นเปลี่ยนใจอยากกลับมาใช้ NPAEs อีกได้ไหม ?

สำหรับบริษัทที่เป็น NPAEs อยู่แต่ถ้าตัดสินใจจะใช้ PAEs เช่น อยากจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ จึงใช้มาตรฐานการบัญชีชุดใหญ่ (TFRS for PAEs) ไป 2-3 ปี แต่ปรากฎว่า แผนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ล้มเลิกแล้ว สุดท้ายอยากจะเปลี่ยนกลับมาใช้ NPAEs สามารถทำได้หรือไม่

คำตอบ ก็คือ สามารถทำได้ เมื่อคุณไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ PAEs นั้นแล้ว

สำหรับบริษัทที่เรายกตัวอย่างตรงนี้หมดความจำเป็นแล้ว เพราะว่าความตั้งใจในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ไม่มีอยู่แล้ว ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ TFRS for PAEs ต่อไป และสามารถเปลี่ยนกลับมาใช้มาตรฐานการบัญชีชุดเล็กอย่าง TFRS for NPAEs ได้

เหล่านี้คือคำถามหลักๆ 3 คำถามที่หลาย ท่านมักจะมีความสับสน เกี่ยวกับการเลือกใช้มาตรฐารบัญชีชุดเล็ก (TFRS for NPAEs) และชุดใหญ่ (TFRS for PAEs) หวังว่าทุกท่านที่ได้อ่านน่าจะเข้าใจเรื่องการเลือกใช้มาตรฐานได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นนะคะ

3 คำถาม ที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเลือกใช้ NPAEs หรือ PAEs
3 คำถาม ที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเลือกใช้ NPAEs หรือ PAEs

อยากหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี NPAEs เรียนรู้ไปพร้อมๆ กันในคอร์ส “สรุปประเด็นสำคัญ TFRS for NPAEs” ได้เลยค่ะ

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า