ความรู้บัญชี

เปิดวิธี…ขอแก้ไขงบการเงิน ที่ยื่นไปแล้ว DBD E-Filling

เปิดวิธี...ขอแก้ไขงบการเงิน ที่ยื่นไปแล้ว DBD E-Filling

การยื่นงบการเงินในแต่ละปีช่างเป็นงานที่กดดันสุดๆ เพราะเราต้องทำงานแข่งกับเวลา ยิ่งถ้าไม่มีใครช่วยตรวจสอบด้วยแล้วเนี่ย ข้อผิดพลาดก็อาจจะเกิดขึ้นได้เยอะ
การขอแก้ไขงบการเงินเองก็จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และต้องใช้เวลาเช่นเดียวกันค่ะ ถ้าวันนี้นักบัญชีท่านไหนยื่นงบผิดไปแล้ว อยากรู้ว่าอยากแก้ไขอย่างไร เราสรุปมาให้ในบทความนี้ ลองมาศึกษาวิธีการกัน่ั

1. สิ่งที่ต้องรู้เบื้องต้น การยื่นงบคืออะไร

การยื่นงบการเงิน คือ การนำส่งงบให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) สามารถยื่นได้ 2 ช่องทาง

สำหรับการยื่นงบการเงินนั้น มักจะต้องทำเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็นอย่างช้าค่ะ กรณีที่กิจการปิดงวดบัญชี 31 ธค.

ข้อมูลที่เรานำส่งภาครัฐไปนั้นก็จะถูกนำไปตรวจสอบ วิเคราะห์ และเผยแพร่ เราจึงต้องมั่นใจว่าข้อมูลเหล่านี้ถูกต้อง 100% ค่ะ

2. จะรู้ได้ยังไง ว่าต้องแก้ไขงบการเงิน ที่ยื่นไปแล้ว

สำหรับคนที่ยื่นงบการเงินไปแล้ว สามารถพบข้อบกพร่องหลังจากนั้น ได้ 2 วิธีค่ะ

พบข้อบกพร่องและขอแก้ไข
พบข้อบกพร่องและขอแก้ไข

การพบข้อบกพร่องของงบการเงิน

1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตรวจสอบเจอโดยระบบตรวจสอบและพนักงานตรวจสอบ เราจะได้รับแจ้งทางอีเมล์ค่ะ

2. นิติบุคคลตรวจสอบเจอ และขอแก้ไขเอง วิธีนี้เราต้องทำยื่นเรื่องขอแก้ไขโดยการเข้าระบบแก้ไขข้อมูลการนำส่งงบการเงิน และส่งหนังสือชี้แจง พร้อมระบุสาเหตุว่าต้องการแก้ไขเนื่องจากอะไรค่ะ จากนั้นก็รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ก็จะได้รับการแจ้งเตือนให้แก้ไขงบการเงินผ่านทางอีเมล์เช่นเดียวกับข้อแรกเลยค่ะ

แล้วเพื่อนๆรู้ไหมคะ สาเหตุที่ต้องยื่นงบการเงินฉบับใหม่และงบการเงินบกพร่อง มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

งบการเงินที่ถูกตรวจสอบโดยระบบ

  • แก้ไขตัวเลขในงบที่ส่งผลต่อยอดรวม ให้เราลองมาทดสอบบวกเลขงบการเงินของเรานะคะ ว่ายอดคงเหลือรายบัญชีกับยอดรวม ถูกต้องตรงกันหรือไม่
  • ผู้สอบบัญชีใบอนุญาตสิ้นผล ให้สอบถามกับผู้สอบบัญชีที่เราได้แต่งตั้งเป็นผู้สอบประจำปี เพื่อเช้คข้อมูลค่ะ
  • ผู้สอบบัญชีไม่ลงลายมือชื่อหรือไม่ลงวันที่รับรองงบการเงิน เช็คลายเซ็นและปรับปรุงเพื่อยื่นใหม่ให้เรียบร้อยค่ะ

งบการเงินที่ถูกตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่

  • รอบบัญชีผิดรอบ
  • รายงานผู้สอบบัญชี
  • วันที่ประชุมผิด หรือไม่ได้อยู่ในช่วงการประชุมและอนุมัติงบการเงินที่ได้ยื่นไว้กับทางกรมพัฒน์
  • หมายเหตุประกอบงบการเงิน

สรุปสาเหตุที่ผิดพลาดของงบการเงิน

ยื่นงบการเงินฉบับใหมยื่นงบการเงินบกพร่อง
– ตัวเลขในงบการเงินผิด
– แก้ไขรอบบัญชีใหม่
– ผู้สอบไม่ลงลายมือชื่อรับรอง หรือ ใบอนุญาตสิ้นผล
– ข้อมูลใน ส.บช.3 ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี รหัสธุรกิจ ประเภทธุรกิจ
– การแก้ไขงบที่ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดรวม
– ไฟล์สแกนที่นำส่งครั้งแรก สแกนขาด/เกิน/ไม่ชัด

3. วิธีการขอแก้ไขงบการเงิน ที่ยื่นไปแล้ว

ต่อไปเรามาเปิดวิธีการยื่นขอแก้ไขโดยการส่งหนังสือชี้แจงและนำส่งงบการเงินฉบับใหม่กันค่ะ ไปดูขั้นตอนตามภาพกันเลย
วิธีการยื่นขอแก้ไขจะแบ่งเป็น 2 อย่างนะคะ

  • การส่งหนังสือชี้แจงเพื่อขอแก้ไขงบการเงิน สำหรับการยื่นงบการเงินฉบับใหม่
  • การส่งหนังสือชี้แจงเพื่อขอแก้ไขงบการเงิน สำหรับการยื่นงบการเงินบกพร่อง

ส่วนที่ 1 การส่งหนังสือชี้แจงเพื่อขอแก้ไขงบการเงิน สำหรับการยื่นงบการเงินฉบับใหม่

ขั้นตอนที่ 1 เข้าสู่ระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเหมือนเราจะยื่นงบการเงินปกติ แล้วคลิกในหัวข้อ ดูประวัติการนำส่งและพิมพ์แบบ/เอกสาร


ขั้นตอนที่ 2 ระบบจะแสดงงบการเงินที่มีข้อผิดพลาด เราก็คลิกดูรายละเอียดเลยค่ะ


ขั้นตอนที่ 3 พอเราทราบข้อผิดพลาดแล้ว เราก็ขอแก้ไขในส่วนที่เราผิดพลาดกันค่ะ โดยการส่งหนังสือชี้แจงเพื่อขอนำส่งงบการเงินฉบับใหม่/งบการเงินบกพร่อง

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 1 ถึง 3
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 1 ถึง 3

ขั้นตอนที่ 4 กรอกข้อมูลและคลิกเลือกข้อบกพร่อง

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 4
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนที่ 5 เลือกเอกสารแนบ PDF

การยื่นงบการเงินฉบับใหม่นั้น คือจุดที่ผิดแบบสำคัญมาก ซึ่งเกิดจากข้อมูลต่อไปนี้ผิด

  • ครั้งที่/วันที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
  • แก้ไขตัวเลขงบการเงินที่สงผลกระทบต่อยอดรวมค่ะ

เราจึงจะต้องแนบไฟล์ PDF มากเป็นพิเศษ ได้แก่

  • สำเนารายงานประชุมผู้ถือหุ้น
  • สำเนารายชื่อและลายเซ็นผู้เข้าร่วมประชุม
  • สำเนาประกาศหนังสือพิมพ์
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 5
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 5

ขั้นตอนที่ 6 อัพโหลดไฟล์เอกสารแนบ PDF

ขั้นตอนที่ 7 เมื่อกรอกข้อมูล และอัพโหลดไฟล์ครบถ้วนแล้ว ให้ยืนยันการส่งหนังสือขอแก้ไข

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 6-7
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 6-7

ส่วนที่ 2 การส่งหนังสือชี้แจงเพื่อขอแก้ไขงบการเงิน สำหรับการยื่นงบการเงินบกพร่อง

ขั้นตอนที่ 1 เข้าสู่ระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเหมือนเราจะยื่นงบการเงินปกติ แล้วคลิกในหัวข้อ ดูประวัติการนำส่งและพิมพ์แบบ/เอกสาร

ขั้นตอนที่ 2 ระบบจะแสดงงบการเงินที่มีข้อผิดพลาด เราก็คลิกดูรายละเอียดเลยค่ะ

ขั้นตอนที่ 3 พอเราทราบข้อผิดพลาดแล้ว เราก็ขอแก้ไขในส่วนที่เราผิดพลาดกันค่ะ โดยการส่งหนังสือชี้แจงเพื่อขอนำส่งงบการเงินฉบับใหม่/งบการเงินบกพร่อง

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 1-3
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 1-3

ขั้นตอนที่ 4 เมื่อกรอกข้อมูล และอัพโหลดไฟล์ครบถ้วนแล้ว ให้ยืนยันการส่งหนังสือขอแก้ไข

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 4
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนที่ 5 เมื่อนำส่งหนังสือสำเร็จจะแจ้งเตือนข้อความดังรูปประกอบค่ะ

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 5
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 5

ขั้นตอนที่ 6-7 ยืนยันการส่งหนังสือ ถ้านำส่งสำเร็จจะแจ้งเตือนตามภาพค่ะ

หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 6-7
หนังสือชี้แจง ส่งงบ ขั้นตอนที่ 6-7

จากภาพของการยื่นขอแก้ไขงบการเงิน ที่ยื่นไปแล้ว ของข้อผิดพลาดทั้ง 2 แบบ จะเห็นได้ว่า จะมีข้อแตกต่างกันในขั้นตอนที่ 4 ค่ะ เนื่องจาก สาเหตุของข้อผิดพลาดไม่เหมือนกัน

การยื่นขอแก้ไขงบการเงินฉบับใหม่ จะต้องทำการอัปโหลดไฟล์ด้วย คือ

1.สำเนารายงานประชุมผู้ถือหุ้น
2.สำเนารายชื่อและลายเซ็นผู้เข้าร่วมประชุม
3.สำเนาประกาศหนังสือพิมพ์

อย่าลืมเตรียมไฟล์ให้พร้อมนะคะ

เมื่อเราส่งหนังสือชี้แจงเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็รอการอนุมัติเพื่อที่จะเข้าไปแก้ไขงบการเงิน

เพื่อนๆสามารถเข้าไปดูขั้นตอนการแก้ไขงบการเงินได้ที่บทความนี้เลยค่า แก้ไขงบการเงินที่ยื่นผิด…ต้องทำอย่างไร?

แต่ถ้าการแก้ไขงบของเพื่อนๆเป็นเพียงแค่ การแก้ไขงบบกพร่อง ไม่ต้องทำการอัปโหลดไฟล์นะคะ เนื่องจากข้อผิดพลาดนี้ ไม่ต้องจัดทำรายงานการประชุมใหม่ที่เป็นตัวเลขงบการเงินใหม่นั่นเองค่ะ

เมื่อเพื่อนๆทราบถึงว่าระบบและเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบอะไรบ้างแล้ว ก่อนยื่นงบการเงินก็เอางบมาเช็กกันอีกซักรอบ เพราะว่าถ้ายื่นใหม่อีกรอบนี่ต้องใช้เวลาอีกนะคะ

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน สอบถามได้ที่นี่

Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า