ความรู้บัญชี

Disclosure Form คืออะไร? ใครต้องทำบ้าง?

disclosure-form

Disclosure Form” อาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับ ผู้ประกอบการโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นแบบรายงานที่กฎหมายบังคับใช้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ที่มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป และไม่ใช่ว่า ผู้ประกอบการนิติบุคคลที่มีรอบระยะเวลาบัญชี ดังกล่าวต้องยื่น Disclosure Form ทุกราย ดังนั้น เรามาดูกันว่า Disclosure Form คือแบบรายงานอะไร ใครเป็นผู้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบรายงานนี้บ้าง


Disclosure Form คืออะไร ?

Disclosure Form หรือแบบรายงานประจําปีสําหรับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กันตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร คือ แบบรายงานที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องจัดทําตามแบบที่อธิบดีกําหนด และยื่นพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 69 คือ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี เป็นแบบรายงานที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ

1. รายชื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันที่ประกอบกิจการ ในประเทศไทยและไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย

2. มูลค่าธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี

3. ข้อมูลอื่น ๆ เช่น

  • ผู้มีหน้าที่จัดทำงบการเงินรวม
  • มีการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจ (Business Restructuring) ระหว่างบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งผลกระทบอย่างไรต่อรายได้ต้นทุนหรือกำไร
  • ในรอบระยะเวลาบัญชี มีการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนไปยังบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่

ใครมีหน้าที่ยื่น Disclosure Form

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องยื่น Disclosure Form คือ

1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ตามมาตรา 71 ทวิ วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง นิติบุคคล ตั้งแต่ 2 นิติบุคคลขึ้นไปที่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะต่อไปนี้

  • นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุน ทั้งหมด
  • ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ของทุน ทั้งหมด ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วน ในอีกนิติบุคคลหนึงไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด หรือ
  • นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านทุน การจัดการ หรือการควบคุมในลักษณะ ที่นิติบุคคลหนึ่ง ไม่อาจดำ เนินการโดยอิสระจากอีกนิติบุคคลหนึ่ งตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

2. มีรายได้ทั้งหมด มากกว่า 200 ล้านบาท


ช่องทางการยื่น Disclosure Form

1. การยื่น Disclosure Form ให้ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ได้โดยตรงหรือผ่านทางระบบบริการ Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Website) ของกระทรวงการคลัง เนื่องจากเป็นการยื่นออนไลน์ (e-Filing) กรมสรรพากร ได้ขยายเวลาการยื่นเพิ่มอีก 8 วัน เป็นภายใน 158 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

2. หากมีเหตุจำเป็นที่ทำ ให้ไม่สามารถยื่น e-Filing ได้ผู้ประกอบการสามารถพิมพ์ Disclosure Form จากระบบเพื่อนำแบบรายงานที่เป็นกระดาษไปยื่นพร้อมกับทำหนังสือแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรถึงเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถ ยื่น e-Filing ได้ โดยยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี


หากไม่ยื่น Disclosure Form จะมีโทษอย่างไร

มาตรา 35 ตรี ตามประมวลรัษฎากรกำหนดโทษสำหรับนิติบุคคลที่ไม่ยื่นรายงานหรือเอกสารหรือหลักฐานตามแบบที่อธิบดีกำหนดหรือแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่ยื่นภายในกำหนดเวลาต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

อย่างไรก็ตามกรมสรรพากรได้กำหนดอัตราที่ควรเปรียบเทียบปรับไว้สำหรับการยื่นรายงานเกินกำหนดเวลาสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ดังนี้

  • ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ปรับ 50,000 บาท
  • เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา ปรับ 100,000 บาท
  • เจ้าหน้าที่ตรวจพบ ปรับ 200,000 บาท

หากต้องการรับข่าวสารดีๆ อัพเดทความรู้บัญชี-ภาษี และโปรโมชั่นจากเรา สมัครรับข่าวสารได้ ที่นี่

ขอบคุณที่มา https://rd.go.th/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า