ความรู้บัญชี

เช็คงบการเงินจุดเสี่ยงข้อผิดพลาดที่พบบ่อย

เช็คจุดเสี่ยงข้อผิดพลาด ก่อนยื่นงบการเงิน

เพื่อนๆนักบัญชีคงจะพอทราบกันแล้วนะคะ ว่าการยื่นงบการเงินเพื่อนำส่งองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของเรา 2 ที่ก็คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร แต่ก่อนที่จะนำข้อมูลที่รับรองโดยผู้สอบบัญชีไปเปิดเผยนั้น ต้องมีความมั่นใจในข้อมูล ว่าถูกต้อง ครบถ้วนและเรียบร้อยดีแล้ว เพื่อเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ใช้งบอื่นๆต่อไป

ในวิชาชีพของเรา ก็ต้องตรวจสอบความถูกต้องกันมามากพอสมควรแล้ว ก่อนที่จะเปิดเผยข้อมูลออกไป แต่เพื่อนๆเชื่อไหมคะ ก็ยังจะมีจุดเล็กๆน้อยๆที่เราไม่ทันได้ระวัง และก็ผิดกันบ่อยๆ ด้วยสาเหตุที่อย่างเช่น ดูงบอยู่คนเดียวก็เลยชินตา หรือรีบทำเพื่อจะนำส่งให้ทันเวลา แต่ก่อนนำส่งก็ขอให้เพื่อนๆ เสียเวลาในการเช็คข้อมูลตามที่ผู้เขียน ได้เขียนไว้ดังนี้อีกซักรอบนึงนะคะ เพราะว่า ถ้าทำผิดไปเนี่ย ต้องยื่นแก้ไขงบการเงินเลยน้า เสียเวลาซักนิดเพื่อจะได้ไม่ต้องมานั่งแก้ดีกว่าค่ะ

1. งบการเงินคืออะไร

งบการเงิน คือ รายงานทางการเงิน ที่จัดทำขึ้นสำหรับผู้ใช้งบการเงินได้รู้ถึง ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสะเงินสดของกิจการ

ประโยชน์ของงบการเงิน

  • ช่วยให้ข้อมูลแก่ผู้บริหารเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
  • ช่วยให้ข้อมูลแก่นักลงทุนเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจลงทุนในกิจการที่สนใจ
งบการเงินคืออะไร
งบการเงินคืออะไร

2. ต้องยื่นงบการเงินกับใครบ้าง

เพื่อการวางแผนและการจัดการเวลาที่ดี ข้อต่อมาที่เราควรรู้ก็คือ กิจการต้องยื่นงบการเงินกับใครบ้าง

ตามกฎหมายกำหนดให้บริษัทจะต้องประชุมอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับจากวันที่ปิดงบการเงิน และบริษัทจะต้องนำส่งงบการเงินภายในเดือน 1 นับจากวันที่ประชุมอนุมัติงบการเงิน

วิธีการยื่นงบการเงินกับทางกรมพัฒนาธุรการค้า คือ ช่องทาง DBD E-filing หรือ ยื่นแบบกระดาษได้ด้วยตนเองนะคะ

ตามกฎหมายกำหนดให้บริษัทต้องนำส่ง ภงด.50 และยื่นงบการเงินภายใน 150 วันนับจากวันที่สิ้นรอบบัญชี

3. มาเช็คงบการเงินกัน จุดเสี่ยงต้องระวังก่อนยื่น

มาดูกันเลย

การยื่นงบการเงินเพื่อที่จะนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มียื่นได้ 2 วิธี คือ ยื่นแบบกระดาษ กับยื่นแบบออนไลน์ แต่วิธีที่ยอดนิยมและสะดวกที่สุดตอนนี้ก็คือ วิธีการยื่นแบบออนไลน์ DBD E-Filing

3.1 งบการเงินดุลหรือไม่

1 11 - CPD Academy

งบการเงิน ตามสมการบัญชีที่เราได้เรียนมาตั้งแต่บัญชีขั้นต้น คือ สินทรัพย์ เท่ากับ หนี้สิน รวมกับ ส่วนของผู้ถือหุ้น เราถึงจะปิดงบการเงินได้ลงตัว ตามภาพด้านบน

ข้อนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะว่าบางครั้งการปิดงบการเงิน เราใช้ Microsoft Excel มาเป็นตัวช่วยในการปิดงบ หรือว่าโปรแกรมอื่นๆที่เรา Export ไฟล์มา ซึ่งมีทศนิยมไม่เท่ากัน มี 2 ตำแหน่ง หรือ 4 ตำแหน่งบ้าง ทำให้มีการแสดงเลขปัดขึ้นและปัดลง การปัดทศนิยมนี่แหละค่ะ ที่จะทำให้งบการเงินของเรามีผลต่าง อยู่ที่ 1 บาทเป็นประจำเลย แถมยังทำให้เราต้องเสียเวลามานั่งปัดเศษด้วยนะ ว่าต้องปัดที่จุดไหน ถึงจะไม่กระทบกับหมายเหตุประกอบงบการเงิน

แต่อย่าห่วงค่ะ ทาง CPD Academy ก็มีวิธีแก้ไขของเรื่องนี้มาให้ทุกท่านเช่นกัน คือ การทดสอบบวกเลขทั้งงบการเงิน และการชนยอดตัวเลขตามสมการบัญชีที่เราได้เรียนมานั่นเองค่ะ

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น

2. งบการเงินปีก่อน ตรงกับงบการเงินที่เคยยื่นไปหรือไม่

เช็คงบการเงิน
เช็คงบการเงิน

การยื่นงบแบบกระดาษ เราต้องยื่นงบการเงินที่เป็นงบเปรียบเทียบกับปีก่อนไปแล้ว เพราะฉะนั้น ในระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าข้อมูลปีก่อนจะแสดงในเห็นในระบบ DBD Datawarehouse ค่ะ

เพื่อนๆสามารถเข้าไปเช็คได้โดยนำเลขทะเบียนนิติบุคคล เข้าไปค้นหาข้อมูลได้ค่ะ หรือนำงบการเงินฉบับจริงที่มีลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจ และผู้สอบบัญชี มาเช็คความถูกต้องได้ค่ะ

การยื่นงบแบบออนไลน์ DBD E-Filing เรานำส่งข้อมูลเฉพาะแค่ปีปัจจุบันก็จริง แต่ว่ายังมีหมายเหตุประกอบงบการเงินที่ต้องสแกนส่งด้วย หมายเหตุประกอบงบการเงิน ก็ต้องตรงกับงบการเงินค่ะ ทั้งปีก่อนและปีปัจจุบัน เพราฉะนั้น ตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อนยื่นงบนะคะ

ถ้าข้อมูลไม่ตรงกันขึ้นมา ก็ต้องตามหาสาเหตุและแก้ไขในปีปัจจุบันให้ถูกต้องค่ะ
หากเพื่อนๆเจอปัญหานี้อยู่ล่ะก็ ขอแนะนำบทความเกี่ยวกับ วิธีการขอแก้ไขงบการเงิน ที่ยื่นไปแล้ว

3. ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ตรงกับ ภงด.50 หรือไม่

เช็คงบการเงิน
เช็คงบการเงิน

ข้อนี้เป็นที่เราชาวนักบัญชีจะวุ่นวายกับมันมาก เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการคำนวณภาษี เมื่อมีการแก้ไขเกี่ยวภาษีเงินได้ที่ต้องจ่ายชำระ ก็มักจะส่งผลให้ต้องแก้ไขงบการเงินด้วยตลอด ข้อนี้จึงเป็นเรื่องน่าปวดหัวอยู่พอสมควร
แต่จะทำยังไงได้ ยังไงก็ต้องเช็คงบการเงินก่อนยื่นอยู่ดีค่า
เราจะมีภาษีที่เราแก้แล้วแก้อีกหลายเวอร์ชั่นมากๆ บางครั้งแก้ภาษีแต่ลืมแก้งบ หรือเลือกไฟล์ที่จะอัพโหลดผิดบ้างหล่ะ ทีนี้มาเช็คก่อนเลยค่ะ งบกำไรขาดทุน บรรทัดค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ต้องตรงกับแบบยื่น ภงด.50 เป็นยอดภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณได้ค่ะ ข้อนี้ต้องดูดีดีนะคะ ถ้าผิดก็ต้องยื่นเรื่องแก้ยาวเลยค่ะ

ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่เราต้องยื่นงบเข้าระบบกันแบบรัวๆ สิ่งที่ได้จากบทความนี้ก็ขอให้ได้เป็นตัวช่วยเพื่อนๆนักบัญชี ในการรีเช็คก่อนนำส่งงบการเงินอีกทีค่ะ

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า