ความรู้บัญชี

มัดรวมคำถามสกรีนลูกค้า ก่อนรับทําบัญชี ยื่นภาษี

6-questions-help-screen-accounting-client

เคยไหมรับทำบัญชี ยื่นภาษีมาแล้วงานไม่เคยราบรื่นสักที เอกสารไม่ครบบ้างหล่ะ ไม่ยอมจ่ายค่าทำบัญชีบ้างล่ะ บังคับนักบัญชีเลี่ยงภาษีให้บ้างล่ะ ถ้าใครเคยเจอปัญหาแบบนี้ อาจจะต้องเริ่มต้นจากการคัดกรองลูกค้าที่ใช่ก่อนรับงานบัญชีค่ะ แล้วเราจะสกรีนลูกค้าก่อนรับงานบัญชีอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ

นักบัญชีอย่างเรามีเวลาจำกัด หากรับงานแบบไม่เลือก เจอลูกค้าดีก็ดีไป แต่ถ้าโชคร้ายเจอลูกค้าแย่ นอกจากจะเสียเวลาทำบัญชีให้พวกเค้า ยังเสียสุขภาพจิตต้องมาหวาดระแวงว่าใบประกอบวิชาชีพจะถูกยึดหรือไม่อีก

เอ..แล้วเราจะสกรีนลูกค้าก่อนรับงานบัญชีอย่างไร ให้มั่นใจว่าคนนี้แหละใช่ และทำงานร่วมกันต่อได้

ก่อนอื่น CPD Academy จะพาไปดูว่ากลุ่มลูกค้าทำบัญชี ยื่นภาษีแบ่งยังไง

กลุ่มลูกค้ารับทําบัญชี ยื่นภาษี

อันดับแรก แนะนำว่าควรแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นกลุ่ม เพื่อความง่ายในการบริหารจัดการ ยกตัวอย่างเช่น

กลุ่ม 1 จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกลุ่ม 2 ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
กลุ่มบุคคลธรรมดา จะเน้นไปที่การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม เวลาที่จะเสนอราคาลูกค้านั่นเองกลุ่มบุคคลธรรมดา ส่วนใหญ่ลูกค้าจะมาขอคำปรึกษาเพื่อยื่นภาษีบุคคลธรรมดา แต่ว่าเราสามารถแนะนำเกี่ยวกับบริการการคำนวณและยื่นแบบแสดงรายการภาษีให้ได้ หากว่ารายได้ของลูกค้านั้นมีความซับซ้อน แต่ถ้าหากซับซ้อนมากๆ และรายได้เกิด 1.8 ล้านบาท อาจจะต้องแนะนำให้ลูกค้าจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมนะ นักบัญชีอย่างเราต้องแนะนำสิ่งที่ถูกต้องและดีที่สุดให้ลูกค้าเสมอ
กลุ่มนิติบุคคล ถ้าเป็นลูกค้าแบบนี้เราต้องเน้นให้คำปรึกษาลูกค้า ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มไปด้วยค่ะกลุ่มนิติบุคคล ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ความซับซ้อนน้อยกว่าและราคาทำบัญชี ยื่นภาษีจะไม่แพงเท่ากลุ่มที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มค่ะ
กลุ่มลูกค้ารับทำบัญชี ยื่นภาษี
กลุ่มลูกค้ารับทําบัญชี ยื่นภาษี

ข้อมูลที่ต้องการจากลูกค้า เพื่อสกรีนลูกค้าก่อนรับงาน

1. ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ

ยกตัวอย่างเช่น ชื่อบุคคล หรือนิติบุคคล ที่เราสามารถไปค้นหาข้อมูลเบื้องต้นตามที่สาธารณะได้ เพื่อเป็นการสกรีนลูกค้าก่อนว่า เป็นใคร ทำธุรกิจอะไร

คำถามภาพรวมที่ห้ามลืมถามลูกค้า เพื่อทราบข้อมูลพื้นฐานของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

  • ใครเป็นนักบัญชีคนเก่า ทำไมถึงอยากเปลี่ยนนักบัญชีใหม่
  • ทำไมถึงเลือกติดต่อเข้ามาหาเรา
  • ปัญหาอะไรที่กังวลสำหรับธุรกิจในตอนนี้

2. ประเภทธุรกิจของลูกค้า

เพื่อเป็นไอเดียในการเริ่มต้นทำบัญชี การเข้าใจลักษณะธุรกิจของลูกค้าเป็นเรื่องที่ดี

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้าบอกว่าเป็นธุรกิจโรงเรียนเอกชน นักบัญชีต้องคิดก่อนว่าเรามีความสามารถหรือประสบการณ์ในการทำงานไหม เพราะธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะอาจต้องอาศัยความเข้าใจด้านกฎหมายอื่นเพิ่มเติมด้วย เช่น พรบ.โรงเรียนเอกชน ถ้าสมมติเรายังไม่พร้อมกับธุรกิจนี้ อย่าลืมโน้ตไว้ในใจก่อน แล้วค่อยตัดสินใจเลือกรับงาน

นอกจากนี้สิ่งที่เราอาจสังเกตได้จากการสอบถามอาจจะเป็นความใส่ใจของลูกค้าในการทำธุรกิจว่าพวกเค้ามีความใส่ใจมากน้อยแค่ไหน หรือแค่อยากได้นักบัญชีทีทำงานให้เสร็จไปตามกฎหมาย (ถ้าเป็นแบบนี้คงรู้แล้วว่า ราคาต้องมาที่ 1 ไม่ใช่คุณภาพงานแน่นอน)

3. ความต้องการของลูกค้า

เมื่อลูกค้าติดต่อมาหาที่เรา แน่นอนว่า ลูกค้ามีความต้องการบางอย่างมาอยู่แล้ว เพียงแค่เราต้องเสนอราคาให้โดนเป้า โดนใจ ก็เพิ่มโอกาสในการรับงานเพิ่มได้แล้ว

คำถามทีเด็ดที่จะช่วยให้เราตัดสินใจว่าจะรับลูกค้าบัญชีรายนี้ดีหรือไม่ หนึ่งในนั้นน่าจะเป็นเรื่องภาษี ที่เราต้องรู้ว่าลูกค้าคิดอย่างไรกับมัน เช่น บางคนอาจคิดว่าภาษีเป็นเรื่องต้องจ่ายแต่พวกเค้าอยากประหยัดภาษีให้ได้มากที่สุด หรือบางคนคิดว่าภาษีไม่ใช่เรื่องของเค้า หน้าที่เราทำอย่างไรก็ได้ให้ภาษีต่ำสุดๆ

ถ้าเป็นแนวคิดในแบบที่ 2 ที่ลูกค้าคิดว่าภาษีไม่ใช่หน้าที่ของพวกเค้า นักบัญชีเตรียมเก็บกระเป๋าเซย์กู้ดบายได้เลย เพราะถ้ารับงานนี้ เราต้องรับหน้าที่ตกแต่งบัญชีเพื่อให้ลูกค้าจ่ายภาษีต่ำสุดๆ อย่างแน่นอน

4. รูปแบบการจัดทำบัญชี

แน่นอนว่าสมัยนี้ มีการจัดทำบัญชีหลากหลายรูปแบบผันแปรตามโปรแกรมบัญชี ข้อนี้ห้ามลืมสอบถามลูกค้าเด็ดขาด เพราะว่าเป็นการทำความเข้าใจให้ตรงกัน ว่าเราเหมาะที่จะดำเนินธุรกิจไปร่วมกันอย่างราบรื่นได้หรือไม่

รวมถึงสโคปงานบริการด้านบัญชีมีหลายรูปแบบซึ่งสโคปที่แตกต่าง หมายถึง ราคาที่แตกต่างด้วย นอกจากการบันทึกบัญชีและยื่นภาษี ลองถามลูกค้าสักนิดว่าเค้าต้องการสิ่งเหล่านี้หรือไม่

  • วางระบบบัญชี
  • ทำเงินเดือน
  • ยื่นประกันสังคม
  • ทำสต๊อกสินค้า

  เมื่อพูดคุยตกลงสโคปงานได้ชัดเจนแล้วก็จะได้ไม่ต้องกังวลว่าเสนอราคาสูงไปหรือต่ำไป เพราะทั้งสองฝ่ายเข้าใจถึงหน้าที่ตัวเองเป็นอย่างดี

ข้อมูลที่ต้องการจากลูกค้า
ข้อมูลที่ต้องการจากลูกค้า

เมื่อเราได้สอบถามลูกค้าไปแล้ว ก็นำคำตอบของลูกค้ามาประมวลผล และก็ต้องสื่อสารออกไปให้เราได้เข้าใจถูกต้องตรงกัน หากได้มีโอกาสร่วมงานกันจริงๆ

  • ขั้นตอนต่อไป เราสามารถทำตามนี้ เพื่อเสนองานแก่ลูกค้าได้เลยค่ะ
  • แนะนำตนเองและบริษัทของตนเอง ให้มีความน่าเชื่อถือว่าลูกค้าสามารถไว้วางใจกับทางเราได้แน่นอน
  • ใบเสนอราคา คือการตกลงราคา และรวมถึงวิธีการปฏิบัติงานลงไปด้วย
  • เงื่อนไขการชำระเงิน เนื่องจากแต่ละกิจการมีรอบการชำระเงินไม่ตรงกัน อาจจะต้องมาตกลงกันก่อนว่าจะชำระเงินอย่างไร
  • การส่งเอกสารและการจัดเก็บเอกสาร งานบัญชี เอกสารตัวจริงถือว่าเป็นอะไรที่สำคัญมาก เพราะว่าเกี่ยวกับเรื่องของการคำนวณภาษีอีกด้วย
สื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจ
สื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจ

สำหรับการรับงานทำบัญชีแล้ว ถ้าจะให้พูดตรงๆ ก็ยากพอพอกับการทำบัญชีเลยค่ะ เพราะว่าเราต้องถามคำถามลูกค้า คิด วิเคราะห์การทำงานให้รอบคอบ ถ้าพลาดไป นั่นหมายถึง เราอาจจะทำงานไม่คุ้มกับเงินค่าจ้างที่ได้รับ หรือลูกค้าอาจจะไม่พอใจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง เพราะฉะนั้น เราจึงต้องให้ความสำคัญกับการรับงานบัญชีไม่น้อยกว่าการทำบัญชีเลยค่ะ

สุดท้ายแล้วในอาชีพของการทำบัญชี เรามักจะคิดว่าเราเป็นผู้ถูกเลือกเสมอ แต่ในความเป็นจริง นักบัญชีเองก็เป็นฝ่ายเลือกลูกค้าได้ถ้าเราตั้งใจจะเลือก และปฏิเสธลูกค้าได้ถ้าไม่อยากทำงานด้วย เพราะการปฏิเสธคู่ที่ไม่เหมาะตั้งแต่เดทครั้งแรก คงไม่รู้สึกแย่เท่ากับเป็นแฟนแล้วบอกเลิกกันใช่ไหมคะ

และสำหรับใครที่ลูกค้าตกลงใช้บริการแล้ว อย่าลืมศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ควรแนะนำลูกค้าเพื่อบริการที่ดียิ่งขึ้นได้ที่นี่เลย: รับงานบัญชี ยื่นภาษี ต้องทำอะไรบ้าง ควรแนะนำลูกค้าอย่างไรให้เป็นมืออาชีพ

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน สอบถามได้ที่นี่

Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า