ภาษี

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตอนไหน? ต้องเตรียมอะไรบ้าง

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตอนไหน ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ผู้ประกอบการมักตั้งคำถามว่า พวกเค้าต้องจด VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อไรและอย่างไร ส่วนใหญ่แล้วคนที่มักถูกถามคำถามนี้ คือ นักบัญชีนั่นเองค่ะ โดยปกติแล้วนักบัญชีมักจะต้องให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจดทะเบียน VAT ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ และบ่อยครั้งที่เราต้องช่วยผู้ประกอบการจด VAT เสียด้วย เพราะผู้ประกอบการไม่เข้าใจว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร เตรียมเอกสารอะไรบ้าง

แล้วเรื่องที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการจด VAT และเอกสารที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง นักบัญชีพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้กันเลย

1. ใครต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มบ้าง?

ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการทั่วไปนั้นอยู่ในบังคับต้องเสีย VAT กันอยู่แล้ว การจดทะเบียน VAT ต้องมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า มีการดำเนินการ และเตรียมการประกอบกิจการตามที่จดแจ้ง

แต่ก็มีบางกิจการที่กฎหมายยกเว้นไม่ต้องจด VAT นะคะ ซึ่งเราจะอธิบายในหัวข้อถัดไป

2. กิจการที่ยกเว้นไม่ต้องจด VAT

ให้พิจารณาอยู่ 2 เรื่องค่ะ ว่าถ้าเข้าข่ายตามนี้ไม่จำเป็นต้องจด VAT

2.1 ประเภทของกิจการ

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม มีดังนี้

  • กิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
  • การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
  • การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
  • ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

ถ้าได้รับยกเว้นแล้ว แต่อยากจด VAT ก็มีสิทธิแจ้งขอจดทะเบียน VAT ได้ด้วยค่ะ

2.2 รายรับของกิจการ

ผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะได้รับยกเว้นการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มค่ะ

เมื่อไหร่จด VAT
เมื่อไหร่จด VAT

แสดงว่า กิจการใดที่ไม่ได้รับยกเว้น และมีรายรับมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ที่ต้องจดทะเบียน VAT จัดทำรายงานตามที่สรรพากรกำหนด และนำส่งาษี

ทีนี้ถ้าใครเข้าข่ายต้อง VAT ชัวร์ๆ ลองไปศึกษากันต่อว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

3. วิธีการจดทะเบียน VAT เตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

จากที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้น การจดทะเบียนเดี๋ยวนี้แสนง่ายค่ะ มีวิธีการจดออนไลน์ที่ www.rd.go.th แล้วผู้ประกอบการสามารถกรอกข้อมูลตามข้อมูลจริงที่เกิดขึ้นได้เลยค่ะ โดยที่ไม่ต้องเดินทางเลยนะ แต่ข้อเสียก็คือ ทางสรรพากรจะดำเนินการให้ช้ากว่าการๆไปยื่นจดที่หน่วยจดทะเบียนค่ะ ที่หน่วยจดทะเบียนก็จะยื่นเอกสารปุ๊ป ถ้าเอกสารเรียบร้อยไม่ต้องเแก้ไข ก็จะเป็นอันยื่นสำเร็จเลยค่ะ

เอกสารจด VAT
เอกสารจด VAT
เอกสารจด VAT
เอกสารจด VAT

เอกสารที่ต้องเตรียมและเอกสารสำคัญ มีดังนี้

  • แบบคำขอจดทะเบียน ภ.พ.01
  • หลักฐานที่ตั้งสถานประกอบการ
  • แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป พร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการที่แสดงให้เห็นบ้านเลขที่
  • หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  • สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมวัตถุประสงค์

แต่ถ้าหากว่า สถานที่ตั้งประกอบกิจการนั้น เป็นพื้นที่ที่ต้องได้รับความยินยิม ต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

  • สัญญาเช่า หรือ หนังสือยินยอมให้เช่าสถานที่
  • สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยินยอนให้เช่าสถานที่
  • สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น การแสดงการเป็นเจ้าบ้าน

4. จด VAT เสร็จ ได้เอกสารอะไร ตัวอย่างเอกสาร

ตัวอย่างใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตัวอย่างใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้รับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.01 พร้อมเอกสาร ที่เราได้ยื่นขอจดไปครบถ้วนแล้ว จะมีการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ให้ ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมายแล้วค่ะ ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้นไป

ขอบคุณรูปภาพตัวอย่าง ภ.พ.20 จาก : กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก

ก่อนอื่นเลยถ้าหากใครสงสัยว่าเราต้องจด VAT หรือยัง ให้สำรวจตัวเองก่อนเลยค่ะว่า เข้าเกณฑ์ของผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าหรือไม่ ถ้าไม่เข้า ขั้นต่อไปดูว่ารายรับของเราเกิน 1.8 หรือไม่ เบื้องต้นก็จะสามารถประเมินได้แล้วว่า เราควรจะจด VAT หรือไม่ค่ะ

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า