ภาษี

ประเด็นสำคัญ ต้องรู้ก่อนยื่น “ภาษีเงินได้นิติบุคคล”

ประเด็นสำคัญ ต้องรู้ก่อนยื่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล

การยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือเป็นงานสุดท้ายของขั้นตอนการทำบัญชีประจำปีเลยค่ะ เพราะว่าเราจะต้องคำนวณภาษีให้ถูกต้องและนำส่งให้ครบถ้วน จากนั้นจึงจะเรียกได้ว่า การปิดงบการเงินนั้นสมบูรณ์แล้ว แต่นักบัญชีหลายท่านอาจจะยังไม่มั่นใจว่าเราเข้าใจเรื่องภาษีเงินได้ของธุรกิจเพียงพอไหม หรือว่ามีเรื่องอะไรที่เราต้องทำความเข้าใจบ้าง

คงจะดีไม่น้อยถ้าเราเข้าใจภาพรวมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับภาษีนิติบุคคลประจำปี เพื่อที่จะสามารถทำงานปิดบัญชีได้อย่างสมบูรณ์ สุดท้ายส่งมอบงานให้กับลูกค้าได้อย่างทันเวลา

ในวันนี้ CPD Academy จะชวนทุกคนมาทำความเข้าใจภาษีเงินได้นี้ไปพร้อมๆ กันตั้งแต่ต้นจนจบ รับรองว่าเอาไปปรับใช้ในการทำงานได้แน่นอนค่ะ

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล คืออะไร

ภาษีเงินได้นิติบุคคล หมายถึง ภาษีที่นิติบุคคลตามกฎหมายประมวลแพ่งและพาณิชย์ และนิติบุคคลอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดจำเป็นต้องเสีย กรณีที่ทำมาหาได้ มีรายได้หรือกำไรจากในธุรกิจรูปแบบนิติบุคคล

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างนิติบุคคลที่เราเจอกันบ่อยๆ ก็คือ ห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัด ที่จดจัดตั้งเพื่อทำธุรกิจบางอย่าง เมื่อทำธุรกิจแล้วมีกำไรก็จำเป็นต้องเสียภาษีเงินได้ในนามนิติบุคคล ซึ่งจะมีความแตกต่างจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพราะนิติบุคคลนั้นถูกแยกออกมาจากบุคคลธรรมดาตามกฎหมายนั่นเอง

ความแตกต่างภาษีบุคคลและนิติบุคคล
ความแตกต่างภาษีบุคคลและนิติบุคคล

แล้วภาษีของนิติบุคคลตัวนี้สำคัญยังไงบ้าง พี่หนอมอธิบายให้เราฟังเพิ่มเติมในคลิปนี้

2. ภาษีเงินได้ประจำปีต้องใช้แบบอะไร และยื่นเมื่อไร

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องยื่น 2 รอบ คือ

  • ภาษีเงินได้ครึ่งปี ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ยื่นภายใน 2 เดือนนับจากวันครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
  • ภาษีเงินได้ประจำปี แบบที่เรียกกันสั้นๆว่า ภ.ง.ด.50 ยื่นภายใน ยื่น ภ.ง.ด. 50 ภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

ถ้าใครสงสัยว่าเดดไลน์ต่างๆ นับอย่างไร ทำความเข้าใจเพิ่มเรื่อง Timeline การยื่นภาษีจากคลิปนี้

3. ยื่นภาษีไม่ทัน โดนปรับเท่าไร

ค่าปรับของการยื่นภาษีโดยเฉพาะแบบภาษีเงินได้สำหรับนิติบุคคลไม่ทันนั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

3.1 ค่าปรับของการยื่นแบบภาษีเกินกำหนด

  • ไม่เกิน 7 วัน ( 1-7 วัน)  ค่าปรับ 1,000 บาท
  • เกิน 7 วัน ค่าปรับ 2,000 บาท

ถ้าหากมีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่ต้องชำระเงิน มีเงินเพิ่มที่ต้องชำระ 1.5% ต่อเดือนด้วยนะคะ

3.2 ค่าปรับไม่ยื่นงบการเงิน

เนื่องจากตามกฎหมายกำหนดให้เรายื่นงบการเงินทั้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร เมื่อไรก็ตามที่เราพลาดยื่นงบการเงินกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วก็จะโดนค่าปรับยื่นงบช้าจากสรรพากรโดยปริยาย

สำหรับกรมสรรพากรเอง ถ้าเกินกำหนดยื่นงบการเงินก็เสียค่าปรับอัตราเดียว จำนวน 2,000 บาท

4. ยื่นภาษีเงินได้แบบออนไลน์ทำอย่างไร

ถ้าไม่อยากโดนค่าปรับการยื่นภาษีล่าช้า เราแนะนำว่าควรทำความเข้าใจวิธีการยื่นภาษีเงินได้แบบออนไลน์ผ่านระบบ RD E-filing เนื่องจากจะทำให้เรายื่นภาษีจากที่ไหนก็ได้ แถมยังได้ขยายเวลาในการยื่นแบบจากการยื่นแบบกระดาษไปอีก ถือว่าเป็นตัวช่วยนักบัญชีที่ดีเลยค่ะ

วิธีการยื่นแบบภาษีเงินได้สำหรับนิติบุคคลแบบออนไลน์ สามารถทำได้ตามขั้นตอนนี้

  1. ลงทะเบียน ยื่นภาษี RD E-filing
  2. ยื่นภาษี RD E-filing ตามกำหนด

และสำหรับใครที่เป็นมือใหม่ยังไม่เคยยื่นแบบออนไลน์สักครั้ง แนะนำว่าทำตามขั้นตอนในบทความนี้ได้เลย: วิธียื่นแบบ ภงด.51 ออนไลน์ในระบบสรรพากร

5. คำนวณภาษีเงินได้ต้องรู้อะไรบ้าง

  • การคำนวณภาษีเงินได้ ก่อนอื่นเลยต้องรู้เกี่ยวกับที่มาของฐานภาษีที่จะนำมาคำนวณ โดยทั่วไปแล้วบริษัทและห้างหุ้นส่วนจะใช้ฐานกำไรสุทธิทางภาษี
ฐานภาษีนิติบุคคล
ฐานภาษีนิติบุคคล
  • ฐานกำไรสุทธิที่ว่า เป็นกำไรสุทธิทางภาษี จึงเป็นเหตุให้ต้องปรับปรุงจากกำไรสุทธิทางบัญชีมาเป็นกำไรสุทธิทางภาษีเสียก่อน รายการปรับปรุงทางภาษีมีอะไรบ้าง อ่านเพิ่มเติมได้เลย

6. วิธีคำนวณภาษีทำอย่างไร

เมื่อเราเข้าใจฐานภาษี รายการปรับปรุง และอัตราภาษีของนิติบุคคลแล้ว สำหรับวิธีการคำนวณภาษีนั้นเราสามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

วิธีการคำนวณภาษีนิติบุคคล
วิธีการคำนวณภาษีนิติบุคคล

ความยากของการคำนวณภาษีเงินได้นี้ก็คือ การปรับปรุงรายการกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษีอย่างถูกต้อง โดยเราต้องรู้ว่าอะไรคือ

  • รายการที่เป็นรายได้ทางภาษี
  • รายการที่ไม่ใช่รายได้ทางภาษี
  • ค่าใช้จ่ายต้องห้าม
  • ค่าใช้จ่ายที่หักได้เพิ่ม

จากนั้นก็ปรับปรุงให้ถูกต้อง และสำหรับคนที่สงสัยว่าการปรับปรุงต้องทำอย่างไร ลองดูตัวอย่างการคำนวณภาษีในบทความนี้ได้เลย: สอนจับมือทำและตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

7. ข้อควรระวังการยื่นแบบภาษีประจำปี

ข้อควรระวังในการยื่นภาษีประจำปีนั้น มีอยู่หลายรายการค่ะ แต่ทว่าส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่เป็นความเสี่ยงเรียกพี่สรรพากรมาตรวจสอบนั้นก็คือ การยื่นภาษีต่ำไป เพราะว่าบวกกลับค่าใช้จ่ายต้องห้ามไม่ครบถ้วน

สิ่งที่ควรระมัดระวังเกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้ามนั้น เราขอยกตัวอย่าง 2 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่

หลักฐานการจ่ายเงินไม่ครบถ้วน เป็นสาเหตุค่าใช้จ่ายบางรายการต้องเป็นรายจ่ายต้องห้ามโดยปริยาย ถ้าเราไม่เข้มงวดกับการจัดทำจัดเก็บเอกสารก็อาจเป็นเหตุให้ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายต้องห้ามเยอะ และถ้าบวกกลับไม่ครบก็จะเป็นปัญหาในอนาคต

วิธีจัดทำหลักฐานการจ่ายเงินให้ครบถ้วนตามที่สรรพากรกำหนด เพื่อให้เป็นรายจ่ายทางภาษีได้ทำอย่างไร ศึกษาเพิ่มเติมที่นี่: หลักฐานการจ่ายเงินที่สำคัญ ใช้เป็นค่าใช้ทางภาษีได้ทำยังไงบ้าง?

ทำตามเงื่อนไขสรรพากรไม่ครบถ้วน ค่าใช้จ่ายบางอย่างสรรพากรยอมให้เป็นรายจ่ายทางภาษีได้ค่ะ แต่ว่าต้องมั่นใจว่าทำตามเงื่อนไขอย่างครบถ้วน ตัวอย่างง่ายๆ คือ ค่ารับรอง

ค่ารับรองลูกค้านั้นจะเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้

“จำนวนเงินค่าเลี้ยงรับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใด ในรอบระยะเวลาบัญชีหรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท”

กฎกระทรวง ฉบับที่ 143

8. ยื่นภาษีผิดแก้ไขได้ไหม

การยื่นภาษีผิดอาจเกิดได้หลายสาเหตุ เมื่อเกิดข้อผิดพลาด ก็สามารถจะแก้ไขได้ แต่ว่าการแก้ไข ก็ต้องรู้สาเหตุให้ชัดเจนเสียก่อนว่าเกิดจากการคำนวณภาษีผิด หรือว่าตัวเลขในงบการเงินผิดกันแน่ และวิธีการแก้ไขการยื่นภาษีก็จะแตกต่างกันไป หากต้องการแก้ไขต้องทำอย่างไรบ้าง อ่านบทความนี้เพิ่มเติมค่ะ: ภ.ง.ด.50 คืออะไร ยื่นผิดแก้ไขได้ไหม?

ทั้งหมดคือ 8 ประเด็นสำคัญที่เพื่อนๆนักบัญชี ถ้าทราบทั้งหมด 8 ประเด็นนี้แล้ว รับรองว่าจะสามารถคำนวณภาษีและยื่นภาษีได้ด้วยตนเองแน่นอน แต่ถ้าหากเพื่อนท่านใดยังไม่มั่นใด

แต่สำหรับใครที่เป็นนักบัญชีมือใหม่ ไม่มั่นใจในการคำนวณและยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล เราขอแนะนำคอร์ส CPD นี้ที่เน้นฝึกปฏิบัติจริง เรียนสดกับพี่หนอม Taxbugnoms


คอร์สเรียน Workshop คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างถูกต้อง

Workshop คำนวณภาษีนิติบุคคล
Workshop คำนวณภาษีนิติบุคคล

สนใจจองสิทธิ์ราคาพิเศษก่อนเต็ม ได้ที่นี่

Line: @cpdacademy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า