เพื่อนๆ ที่เรียนจบด้านบัญชีมาอาจมีหลายคนที่กำลังใฝ่ฝันอยากเป็นนักบัญชีมืออาชีพอยู่ใช่ไหมคะ แล้วการเป็นนักบัญชีแบบมืออาชีพนั้น นอกจากจะมีความรู้แน่นๆ ติดตัวแล้ว สิ่งนึงที่ขาดไม่ได้ก็คือ การรักษากฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะได้ทำงานอย่างสบายใจ และสร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้าด้วย
ทีนี้สิ่งที่นักบัญชีแบบมืออาชีพในประเทศไทยจะต้องรู้มีอะไรบ้าง เราสรุปมาให้เพื่อนๆ อ่านในบทความนี้แล้วค่ะ
1. นักบัญชีมืออาชีพต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
คำว่า นักบัญชี หรือ ผู้ทำบัญชี เราแบ่งได้เป็น 2 แบบ ก็คือ
- ผู้ทำบัญชีทั่วไปที่เป็นแค่ผู้ปฏิบัติงาน แต่ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับรองการจัดทำงบการเงิน และ
- ผู้ทำบัญชีที่ลงลายมือชื่อรับรองการจัดทำงบการเงิน
แบบที่ 2 นี้ โดยปกติแล้วจะเป็นนักบัญชีระดับหัวหน้างาน หรือว่านักบัญชีที่สามารถปิดงบการเงินได้ด้วยตัวเอง ซึ่งก็จะมีเงินเดือนที่สูงกว่านักบัญชีระดับปฏิบัติการทั่วไปค่ะ
ตามกฎหมายแล้ว นักบัญชีที่จะลงลายมือชื่อในการจัดทำงบการเงินได้นั้นต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี นะคะ ซึ่งก็จะสามารถรับรองงบการเงินได้สูงสุดไม่เกิน 100 งบการเงิน
นักบัญชีนั้นแตกต่างกับผู้สอบบัญชีตรงที่ นักบัญชีมีหน้าที่ในการจัดทำบัญชี ส่วนผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ในการตรวจสอบ on-top อีกทีนึงค่ะ
2. วุฒิการศึกษาต่างกัน รับรองงบการเงินได้แตกต่างกัน
ในประเทศไทย เราแบ่งประเภทการรับรองงบของนักบัญชีออกเป็น 2 ระดับ ตามวุฒิการศึกษา ได้แก่
สำเร็จการศึกษา วุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือ ปวส.ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการได้ดังนี้
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
- บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท
วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการได้ดังนี้
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท
- บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
- นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
3. ผู้ทำบัญชีมีข้อปฎิบัติอะไรบ้าง
ถัดมาจะเป็นเรื่องของการปฎิบัติตามกฎหมายสำหรับผู้ทำบัญชี แบ่งเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้
- แจ้งชื่อกิจการที่รับทำบัญชี กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบบ E-Accountant ภายใน 30 วัน นับจากวันที่รับทำบัญชี
- แจ้งการรับทำบัญชีรอบปีบัญชีแรกของแต่ละกิจการ หากมีกรณีเปลี่ยนแปลง ให้แจ้งภายใน 30 วัน
- ยืนยันรายชื่อรับทำบัญชีประจำปี ภายใน 30 มกราคม ของปีถัดไป
- การเก็บชั่วโมง CPD 12 ชั่วโมงต่อปี ต้องมีเนื้อหาวิชาบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ต้องแจ้งชั่วโมง CPD ภายใน 30 มกราคมของทุกปี
เห็นมั้ยคะว่า นักบัญชีมีเรื่องที่ต้องทำนอกเหนือจากการมีความรู้ทางบัญชีและภาษี ถ้าทำความเข้าใจเรื่องกฎระเบียบเหล่านี้แล้ว อย่าลืมปฏิบัติตามให้ถูกต้อง และเช็คความเรียบร้อยทุกๆ สิ้นปีด้วยนะคะ
หากใครสงสัยว่าแล้วมีเรื่องอะไรที่ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีต้องรู้อีกบ้าง เพื่อนๆ สามารถลองเลือกชมคอร์สอบรมกับทางเราที่สามารถเก็บชั่วโมงอบรม CPD ได้ตามลิงค์นี้เลยค่า
อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน สอบถามได้ที่นี่
Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y