ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทำให้คนจ่ายเงินต้อง หักภาษีเอาไว้ จำนวนนึงก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับผู้รับเงินค่ะ แต่ปัญหาที่เรามักพบกันบ่อยๆ ก็คือ เราไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องหัก ณ ที่ จ่าย และต้องหัก ณ ที่ จ่าย กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรื่องนี้ทำให้นักบัญชีหลายคนสับสน และอาจนำมาซึ่งความหายนะกับธุรกิจได้ค่ะ
เอาล่ะ ถ้าใครที่กำลังสับสนเรื่องนี้อยู่ ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ CPD Academy ขออาสาสรุปให้เพื่อนๆ ในบทความนี้เลย
หากเพื่อนๆอยากลงลึกเกี่ยวกับกระบวนการการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทำงานยังไง ดูเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้เลยค่ะ
Withholding tax คิดยังไงบ้าง และคำถามที่พบบ่อย
ประเภทของเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย
ประเภทของเงินได้ที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เราสามารถแบ่งได้ตามผู้รับเงินค่ะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่
- บุคคลธรรมดา
บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้รับเงิน ต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายดังนี้ค่ะ
- เงินเดือน
- ค่าตำแหน่ง ค่านายหน้า
- เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
- เงินได้จากการให้เช่าเรือ
- เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
- เงินได้จากค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเงินได้พึงประเมิน 40(7)(8)
- เงินรางวัลในการประกวด แข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
- เงินได้จากการเป็นนักแสดงสาธารณะ
- เงินได้จากการโฆษณา
- เงินได้จากการให้บริการอื่นๆ
- เงินได้จากค่าขนส่ง ที่ไม่ใช่การจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่ง
- เงินรางวัล ส่วนลด หรือ ประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
- นิติบุคคล
นิติบุคคลที่เป็นผู้รับเงิน ต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายดังนี้ค่ะ
- เงินได้พึงประเมิน 40(2)(3) เช่น เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ ค่านายหน้า ค่าแห่ง กู๊ดวิลล์ ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น
- เงินได้จากดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เป็นต้น
- เงินได้จากเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไร
- เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ค่าเช่าเรือ
- เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
- เงินได้จากค่าจ้างทำของ เช่น การรับเหมา การรับจ้างทำของ
- เงินรางวัลในการประกวด แข่งขัน การชิงโชค หรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
- เงินได้จากการโฆษณา
- เงินได้จากการให้บริการอื่นๆ
- เงินได้จากค่าขนส่ง ที่ไม่ใช่การจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่ง
- เงินรางวัล ส่วนลด หรือ ประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
- เงินได้ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
- เงินได้ตามมาตรา 40(8) เฉพาะในส่วนที่เป็นการให้บริการอื่นๆ นอกเหนือจาก ข้อ 1
เงินได้แต่ละประเภท หัก ณ ที่จ่ายเท่าไหร่
ต่อมามาดูกันค่ะ ว่าเงินได้แต่ละประเภทที่เราจ่ายไปนั้นจะต้องหัก ณ ที่จ่าย กี่เปอร์เซ็นต์นะ ในภาพนี้ CPD Academy สรุปมาให้สำหรับผู้รับเงินแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลค่ะ




อัตราภาษีจากภาพ ทุกท่านจะเห็นว่ามีอยู่ 2 แบบ
1. อัตราภาษีแบบคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง ก็จะมีช่องอัตราภาษี 2 ส่วนด้วยกันนะคะ เลือกตามประเภทของผู้เสียภาษี คือ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลเท่านั้นเองค่า
2. อัตราภาษีแบบก้าวหน้า คือ ใช้ฐานเงินได้สุทธิเป็นขั้น แบ่งเป็นช่วง เพื่อคิดอัตราภาษีในอัตราที่แตกต่างกันแต่ละช่วงของเงินได้ค่ะ ใช้สำหรับเงินได้ประเภท 40 (1) (2) ที่จ่ายให้กับบุคคลธรรมดานั่นเอง
เช็กก่อนจ่าย หัก ณ ที่ จ่าย กี่เปอร์เซ็นต์
ก่อนที่เราจะจ่ายเงินไป เราจะต้องพิจารณาว่า มีภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ต้องนำส่งไหม ต้องหัก ณ ที่ จ่าย กี่เปอร์เซ็นต์และต้องเตรียมเอกสารหลักฐานอะไรบ้าง CPD Academy แนะนำเทคนิคขั้นตอนในการตรวจเช็กก่อนทำหัก ณ ที่จ่ายดังต่อไปนี้ค่ะ
ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมใบแจ้งหนี้ที่ครบกำหนดในการชำระเงินให้ครบถ้วน
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมทำการจ่ายเงินตามระบบบัญชี
ขั้นตอนที่ 3 พิจารณาค่าใช้จ่ายดังกล่าว เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ (ยอดจ่ายเกิน 1,000 บาท)
ขั้นตอนที่ 4 พิจารณาอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่ายว่า จ่ายให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และต้องหัก ณ ที่ จ่าย กี่เปอร์เซ็นต์ (ดูตามตารางที่เราสรุปให้เลย)
ขั้นตอนที่ 5 สรุปยอดเพื่อชำระเงิน
ตัวอย่างการหัก ณ ที่จ่าย
เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น เราลองมาดูเคสตัวอย่าง สำหรับบริษัท A ที่กำลังจะจ่ายเงินค่าเช่าให้นายขยัน หมั่นเพียรกันค่ะ
บริษัท A จำกัด (ผู้จ่ายเงิน) | จ่ายค่าเช่าเดือนละ จำนวน 10,000 บาท |
นาย ขยัน หมั่นเพียร | ได้รับเงินจำนวน 9,500 บาท |
วิธีการคำนวณ | เงินได้พึงประเมิน 40(5) = ต้องหัก ณ ที่จ่าย |
อัตราภาษีที่ต้อง หัก ณ ที่จ่าย = 5% | |
10,000 x 5% = 500 บาท >> บริษัท A นำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย | |
10,000 – 500 = 9,500 บาท = เงินที่นายขยันได้รับ |
เมื่อเราหัก ณ ที่จ่ายเรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องดำเนินการนำส่งภาษีต่อไปค่ะ โดยดูตัวอย่างการกรอกแบบตามภาพนี้ได้เลยค่า


FAQ : คำถามที่พบบ่อย
หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายคืออะไรและเหตุใดจึงสำคัญต่อธุรกิจ
หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายสำคัญต่อธุรกิจอย่างมาก ทั้งสำหรับฝ่ายที่รับเงินและฝ่ายที่จ่ายเงินดังนี้ค่ะ
- สำหรับฝ่ายที่รับเงิน หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายช่วยในการยืนยันว่ามีการหัก ณ ที่จ่ายเกิดขึ้นจริง ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันถึงรายได้ของตนเองได้ค่ะ และยังนำไปเพื่อใช้ในการสมัครสินเชื่อหรือการจัดทำเอกสารทางการเงินอื่นๆ ที่ต้องการหลักฐานการได้รับเงินแน่นอนซึ่งเป็นที่น่าเชื่อถือ ว่าเรามีรายได้ที่เข้ามาจริงๆนั่งเอง
- สำหรับฝ่ายที่จ่ายเงิน หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายเป็นหลักฐานที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับว่ามีการหักเงินเกิดขึ้นจากเงินได้พึงประเมินของผู้รับเงิน ซึ่งช่วยให้ฝ่ายที่จ่ายเงินมั่นใจได้ว่าการหักเงินนั้นถูกต้องและเป็นไปตามข้อตกลงทางการเงินที่กำหนดไว้ค่ะ
ถ้าลืมหัก ณ ที่จ่าย แก้ไขยังไง
หากมีความผิดพลาดหรือลืมหักเงิน ณ ที่จ่าย สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ
- ตรวจสอบข้อผิดพลาด
ทำการตรวจสอบเอกสารและบันทึกข้อมูล เพื่อค้นหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เช่น การละเว้นหรือลืมหักเงินจากเงินเดือนหรือรายได้ของลูกจ้างหรือพนักงานคนไหน อย่างไร - ติดต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายบริหารงานบุคคลหรือฝ่ายการเงิน เพื่อแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นและขอความช่วยเหลือในการแก้ไข
- ตรวจสอบนโยบายและกฎระเบียบ
ตรวจสอบนโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขข้อผิดพลาด อาจมีขั้นตอนหรือกระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อการปรับปรุงและการแก้ไขข้อผิดพลาดในระบบการเงิน - แก้ไขปัญหา
ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาด อาจมีวิธีการแก้ไขที่แตกต่างกันไปตามนโยบายขององค์กร แต่ต้องยื่นภาษี หัก ณ ที่จ่ายให้ถูกต้องตามเดือนที่รายจ่ายนั้นเกิดขึ้น ในส่วนของเบี้ยประบเงินเพิ่ม อาจขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละองค์กร ว่าใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ก่อนจ่ายเงิน เราพอรู้ขั้นตอนที่ต้องพิจารณาข้อมูลกันไปแล้ว ใครที่อยากมีตัวช่วยในการจัดการเรื่อง ภาษี หัก ณ ที่จ่ายให้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ลองดูบทความนี้กันเล้ย E-withholding tax คืออะไร ข้อควรรู้ก่อนใช้งาน
หรือหากใครอยากอบรมเพิ่มความรู้เรื่องของภาษีในการทำงาน แถมยังเก็บชั่วโมง CPD ได้ด้วย ลองทักกันเข้ามาเลยนะคะ
อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน
สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks