ความรู้บัญชี

Red Flag สุดฮิตส่อแววทุจริตในองค์กร

Red Flag สุดฮิตส่อแววทุจริตในองค์กร

“ทุจริต” คำๆ นี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำบัญชีหรือผู้สอบบัญชีก็คงไม่อยากพบเจอ เพราะว่าหากลูกค้ารายใดมีการทุจริตเกิดขึ้นภายในองค์กรแล้ว ก็เรียกได้ว่า มันคือ ฝันร้ายของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีอย่างแน่นอน

ฝันร้ายที่ว่านั้นอาจจะมาในหลากหลายรูปแบบ เช่น ภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อต้องตรวจสอบ หรือการถูกสอบสวน กล่าวหาว่ามีความเกี่ยวข้อกับการทุจริต

การทุจริตแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ

1. การคอร์รัปชั่น (Corruption)

คำๆ นี้มักได้ยินบ่อยๆ ในแวดวงราชการ ยกตัวอย่างเช่น การจัดซื้อจัดจ้าง  การจ่ายค่าธรรมเนียม เพื่อสิทธิพิเศษ หรือ การเรียกร้องผลประโยชน์

2. การยักยอกสินทรัพย์ (Asset Misappropriation)

ตัวอย่างที่มักจะเห็นได้บ่อย เช่น การยักยอกเงินสดในมือ ยักยอกเงินสดที่ต้องนำเข้าธนาคาร ยักยอกเงินสดที่ยังไม่บันทึกบัญชีขององค์กร ยักยอกเงินสดจากการเบิกจ่ายเงินสด หรือยักยอกสินทรัพย์ที่อยู่ในบัญชีขององค์กร

3. การตกแต่งงบการเงิน (Financial Statement Fraud)

การทุจริตประเภทนี้เป็นการทุจริตที่เกี่ยวพันกับพวกเราชาวบัญชีโดยตรง ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการบันทึกสินทรัพย์ หรือรายรับมากเกินไปหรือน้อยเกินไป การเปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วน การตกแต่งข้อมูลคุณสมบัติของ พนักงาน หรือ การตกแต่งเอกสารภายในและภายนอก

ทุกวันนี้วิวัฒนาการของการทุจริตนั้นพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง…จากการสำรวจโดย Association of Certified Fraud Examiners (ACFE) องค์กรต่อต้านการทุจริต ได้รายงานใน “2018 Global Study on Occupational Fraud and Abuse” ว่า จากการศึกษาเกี่ยวกับการทุจริตกว่า 125 ประเทศ ใน 23 อุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน พวกเขาพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นกว่า 2,690 เคส ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 7.1 Billion USD และการทุจริตนั้นเกิดจากลูกจ้างไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง องค์กรที่ตกเป็นเหยื่อของการทุจริตก็มีตั้งแต่องค์ระดับเล็กๆ ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่

เห็นแบบนี้แล้วหลายท่านคงหนักใจว่า แล้วจะสังเกตุได้อย่างไรว่าองค์กรของเรามีการทุจริตเกิดขึ้นรึป่าว

ในบทความนี้เราจึงรวบรวม Red Flag สุดฮิตที่อาจจะเป็นสัญญาณบอกเหตุการณ์ทุจริตมาให้ทุกท่านลองสำรวจดูค่ะ Red Flag หรือธงแดงบอกเหตุนี้ อาจจะทำให้เราสามารถตรวจจับความผิดปกติได้เร็วขึ้นและรับมือแก้ไขได้ทันท่วงที จากรายงาน “2018 Global Study on Occupational Fraud and Abuse” ของ ACFE พบว่า

6 พฤติกรรมส่อสัญญาณทุจริตที่พบบ่อย

1. พฤติกรรมการใช้จ่าย – ไม่สอดคล้องกับรายได้  ตำแหน่งหน้าที่ ข้อนี้มาแรงแซงทางโค้งเป็นอันดับหนึ่งและเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น พนักงานแผนกจัดซื้อเงินเดือน 30,000 บาท ทำงานมา 4-5 ปี มีเงินซื้อรถหรูราคาแพงและมีบ้านหลังใหญ่โตในช่วงปีที่ผ่านมา 

2. มีปัญหาด้านการเงิน คนที่มีปัญหาด้านการเงิน อาจจะชอบยืมเงินเพื่อนฝูงบ่อยๆ หรือว่าติดหนี้บัตรเครดิต อันนี้ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษว่าบุคคลนี้จะมีโอกาสทุจริตในองค์กรหรือไม่ เพราะว่าเขามีความต้องการที่จะใช้เงินจำนวนมาก อาจจะเป็นแรงจูงใจของการทุจริต

3. ความสนิทสนมกับลูกค้าหรือ Supplier เป็นพิเศษ คงไม่ผิดหากพนักงานจะสนิทสนมกับลูกค้าหรือ Supplier แต่ถ้าเขาสนิทสนมกันจนเกินงาม เช่น นัดพบเจอนอกบริษัท Tag รูป Facebook IG ไปเที่ยวด้วยกันบ่อยๆ ระวังว่าพนักงานคนนั้นจะหาโอกาสทุจริตซิกแซกเพื่อผลประโยชน์ของลูกค้าหรือ Supplier นั้นๆ ในการจัดซื้อหรือขายสินค้าก็เป็นได้

4. อยากควบคุมการทำงานด้วยตนเอง ไม่อยากแชร์ขั้นตอนการทำงานกับใคร ถ้าปีนึงมี 365 วัน แล้วมีพนักงานคนไหนรักออฟฟิศมากไม่ยอมลาหยุดพัก ขอให้เอะใจไว้เลย เพราะว่าเขาคนนั้นอาจจะกุมความลับอะไรบางอย่างไว้ จนไม่กล้าที่จะลาพักร้อนแล้วโอนงานไปให้คนอื่นช่วยดูแลก็เป็นได้

5. มีปัญหาครอบครัว หรือหย่าร้าง จริงๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องค่อนข้างละเอียดอ่อน หลายท่านมีปัญหาครอบครัว ปัญหาชีวิตและแสดงออกแตกต่างกันไป บางครั้งการทุจริตก็อาจจะเกิดขึ้นจากบุคคลเหล่านี้ ตัวอย่างที่เคยเห็นกันในละคร เช่น ลูกเมียน้อยมักจะมีปมในใจ โตขึ้นมาอาจจะมีความทะเยอทะยานสูง และอาจจะหาผลประโยชน์เข้าตัวเองในทางที่ผิดๆ 

6. ทำข้อตกลงต่างๆ ทางธุรกิจแบบไม่ตรงไปตรงมาเท่าไรนัก ข้อนี้ค่อนข้างสังเกตยาก ท่านอาจจะต้องพูดคุยและคลุกคลีกับคนเหล่านี้มาพอสมควร พอที่จะรู้ว่าเค้ามีวิธีเทคนิคในการทำงาน ติดต่อทางธุรกิจอย่างไร เช่น บางคนชอบจ่ายเงินใต้โต๊ะเพื่อให้ได้มาซึ่งงานหรือลูกค้า ดังนั้น หากเค้าไม่ตรงไปตรงมาในการทำงานเล็กๆ แล้ว ก็น่าสงสัยแล้วว่างานใหญ่ๆ ล่ะเค้าจะตรงไปตรงมาหรือไม่

6 ข้อที่เรานำเสนอนี้เป็น Red Flag หรือธงแดงฮิตๆ ที่เป็นสัญญาณการเกิดทุจริต จากการสำรวจพบว่า 85% ของผู้ทุจริตจะมีหนึ่งในพฤติกรรมเหล่านี้ และ 50% ของผู้ก่อทุจริตจะมีพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้น ซึ่งความถี่ที่พบอาจจะแตกต่างกันไป ตามตำแหน่งและเพศ เช่น พนักงานระดับล่างมักพบว่ามีปัญหาทางการเงินจึงก่อทุจริต ส่วนผู้บริหารระดับสูงอาจจะมีสัญญาณทุจริต คือ ความสนิทสนมกับลูกค้าหรือ Supplier เป็นพิเศษ

อ่านมาจนถึงตรงนี้ คิดว่าคงได้ความรู้กันไปไม่น้อยว่าข้อสังเกตง่ายๆ ที่ส่อพฤติกรรมทุจริตมีอะไรบ้าง หากมีข้อสงสัยเกิดขึ้นอย่ารีรอที่จะติดตามค้นหาคำตอบนะคะ บางทีการทุจริตอาจจะอยู่ใกล้ๆ ตัวจนเราคาดไม่ถึง ยิ่งตรวจพบช้าเท่าไรผลเสียหายก็จะยิ่งทวีคูณขึ้นไปทุกๆ วันค่ะ

นักบัญชี อีกอาชีพที่มีความเสี่ยง ถูกใช้ทำงานผิดกฎหมายในองค์กร นักบัญชีเองก็ถูกเป็นที่จับตามอง ในการทำงาน เพราะอย่างที่บอกในข้างต้นว่า มีความใกล้ชิดข้อมูลองค์กรและการเงินมากที่สุด ในฐานะพนักงานบัญชี คือหน้าที่และความรับผิดชอบ  ควรยึดถือเรื่องความถูกต้อง ซื่อสัตย์ สุจริต 

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามได้ที่นี่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า