ความรู้บัญชี

การวางแผนกำไร ด้วยการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ช่วยธุรกิจได้ยังไงบ้าง

การวางแผนกำไร ด้วยการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

สำหรับการวางแผนกำไรเป็นกลยุทธ์วิธีบริหารเงินธุรกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ถ้าธุรกิจมีกำไรเยอะ เงินสดที่กลับเข้ามาในธุรกิจก็ยิ่งเยอะเช่นเดียวกัน วิธีการในการวางแผนกำไรทำได้ไม่ยากค่ะ นุชจะพามาทำความรู้จักกับ “การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน” ค่ะ ซึ่งจะช่วยให้นักบัญชีทุกท่านได้มีข้อมูลสำหรับการวางแผนกำไร เพื่อช่วยเป็นแนวทางในการบริหารงานของกิจการต่อไปนั่นเองค่ะ

การวางแผนกำไร ด้วยการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
การวางแผนกำไร ด้วยการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

ก่อนอื่นเรามีดูความหมายของเจ้า จุดคุ้มทุนกันก่อนเลยนะคะ ว่าคืออะไร

จุดคุ้มทุน (Break-Event Point) คืออะไร

จุดคุ้มทุน หมายถึง จุดที่ปริมาณขายสินค้าหรือยอดขายรวมที่ทำให้กำไรเท่ากับศูนย์เป๊ะ

สูตรในการคำนวน คือ รายได้รวม (Total Revenue)   =  ต้นทุนรวม (Total Cost)  

ซึ่งจุดนี้เรียกง่ายๆ ได้ว่า เราจะไม่มีกำไรหรือขาดทุนเลย

ต้นทุนแบ่งเป็น 2 ประเภท

ก่อนจะไปคำนวณหาจุดคุ้มทุนได้ ต้องทำความรู้จักประเภทต้นทุนก่อน

ต้นทุนแบ่งเป็น 2 ประเภท
ต้นทุนแบ่งเป็น 2 ประเภท

1. ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost: FC)

ต้นทุนที่มีจำนวนคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต

2. ต้นทุนผันแปร (Variable Cost: VC) 

ต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณการขายหรือผลิต ต้นทุนผันแปรจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามระดับปริมาณการขายหรือผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง

วิธีคำนวณหาจุดคุ้มทุน

การคำนวณจุดคุ้มทุน จะใช้สูตร 2 สูตรนี้นะคะ

  • Q = ปริมาณที่ขาย/ผลิต ณ จุดคุ้มทุน
  • FC = ต้นทุนคงที่
  • VC = ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
  • P = ราคาขายต่อหน่วย
  • TR = รายรับรวม ณ จุดคุ้มทุน
สูตร 1 หาปริมาณ (Q) ณ จุดคุ้มทุน
Q ปริมาณที่ขาย/ผลิต ณ จุดคุ้มทุน =FC / P – VC
สูตร 2 หารายได้รวม (TR) ณ จุดคุ้มทุน
TR รายรับรวม ณ จุดคุ้มทุน = P x Q

ตัวอย่างวิธีคำนวณหาจุดคุ้มทุน

บริษัท CPD Academy จำกัด มีต้นทุนคงที่ 60,000 บาท ขายสินค้าราคาหน่วยละ 11 บาท มีต้นทุนผันแปรหน่วยละ 5 บาท บริษัท CPD Academy จำกัด ต้องขายสินค้าจำนวนกี่ชิ้นจึงจะไม่ขาดทุน  และมีรายรับรวม ณ จุดคุ้มทุนกี่บาท

สูตรการคำนวณผลลัพธ์
Q ปริมาณที่ขาย/ผลิต ณ จุดคุ้มทุนFC / P – VC
(60,000 )/(11 −5)10,000  ชิ้น
TR รายรับรวม ณ จุดคุ้มทุนP x Q
11 x 10,000110,000 บาท

หากนักบัญชีท่านไหนอยากอธิบายเจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับจุดคุ้มทุนได้ดียิ่งขึ้น แนะนำตัวอย่างนี้เลยค่ะ: วิธีคำนวณจุดคุ้มทุน

การวางแผนกำไร ด้วยการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

จากจุดคุ้มทุนที่เราคำนวณเป็นแล้ว ต่อมาลองมาวางแผนกำไรกันค่ะ ถ้าอยากได้กำไรเท่านี้ ต้องขายให้ได้เท่าไรนะ

วิธี 1 กำหนดปริมาณขาย (Q) : เพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการ

สูตร 3 หาปริมาณขาย (Q)  เพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการ
Q = (FC+ Desired Profit)/ (P −VC) 

วิธี 2 กำหนดราคาขาย (P) : เพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการ

สูตร 4 หารายได้รวม (TR) เพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการ

สูตร 4 หารายได้รวม (TR) เพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการ
TR = (FC+ Desired Profit)/ ((P −VC)/P)

ตัวอย่างวิธีวางแผนกำไร ด้วยการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

บริษัท CPD Academy จำกัด ขายสินค้าราคาหน่วยละ 500 บาท มีต้นทุนคงที่ 100,000 บาท ค่าใช้จ่ายผันแปรหน่วยละ 300 บาท ถ้าบริษัทต้องการกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี 600,000 บาท บริษัทควรขายสินค้าปริมาณกี่หน่วย และบริษัทจะมีรายรับรวมกี่บาท

คำนวณหาปริมาณขาย (Q) เพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการ

Q = (100,000 + 600,000)/ (500 −300) = 3,500

คำนวณหารายได้รวม (TR) เพื่อให้ได้กำไรที่ต้องการ

TR = (100,000 + 600,000)/ ((500 −300)/500) = 1,750,000

ข้อจำกัดการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

เวลาที่เราเอาไปประยุกต์ใช้งานจริง บางครั้งมันอาจต้องปรับสูตร ให้มันเหมาะสมกับธุรกิจด้วยค่ะ เพราะวิธีที่เราอธิบายไปมีข้อจำกัดดังต่อไปนี้

1. ราคาขายกำหนดให้มีราคาเดียว ไม่ว่าจะขายมากหรือน้อย

2. ต้นทุนคงที่จะไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะผลิตเพิ่มขึ้นจำนวนเท่าไร

3. ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยคงที่

4. วิเคราะห์จุดคุ้มทุนใช้ได้ดีในการวางแผนระยะสั้น

5. ใช้วิเคราะห์สินค้าทีละประเภท

สรุป ประโยชน์การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

จุดคุ้มทุนทำให้เรารู้ว่าเราจะต้องขาย ณ ปริมาณเท่าไรถึงจะคุ้มทุน แล้วก็สามารถกำหนดราคาขายได้ด้วยตนเอง ฉะนั้นปริมาณขายที่เปลี่ยนมีผลต่อกำไร ราคาขายที่เปลี่ยนก็มีผลต่อกำไรเช่นเดียวกัน

สิ่งที่เราต้องทำ ก็คือ พยายามหาปริมาณการขายที่เอื้อมถึง และราคาขายไม่สูง ไม่ต่ำเกินไป คำว่าไม่สูงก็คือว่ามันสามารถแข่งขันในตลาดได้ และไม่ต่ำก็คือ ถูกจนเกินไปเลยต้องใช้พลังงานเยอะในการขายกว่าที่จะได้กำไรตามที่เราต้องการ

สรุป ประโยชน์การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
สรุป ประโยชน์การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

และนี่จึงเป็นศาสตร์และศิลป์ในการที่เราจะกำหนดราคาขายอย่างไร จึงอยู่ในจุดที่ลูกค้าก็พอใจและกิจการก็อยู่ได้ และสุดท้ายนักบัญชีและผู้บริหารต้องร่วมกันวางแผนกำไรได้ตามที่เราต้องการนั่นเองค่ะ

นอกจากจุดคุ้มทุนที่ช่วยในการวางแผนการเงิน เรายังมีบทความอื่นๆ ที่ช่วยในวางแผนเงินธุรกิจแนะนำ ลองดูเพิ่มเติมที่นี่เลย

การบริหารเงินสดคืออะไร มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง
การบริหารเงินได้ดีเป็นสร้างความมั่งคั่งให้ธุรกิจได้ยังไงบ้าง

มาทำความเข้าใจวิธีการบริหารเงินในธุรกิจในทุกแง่มุมไปพร้อมๆ กันกับคอร์ส “วิธีบริหารเงินธุรกิจที่นักบัญชีควรรู้

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามได้ที่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า