ความรู้บัญชี

รายการย่อในงบการเงิน Update ต้องเตรียมตัวทำงบปี 2567 อย่างไรบ้าง?

เตรียมตัวทำงบปี 2567 อย่างไรบ้าง สำหรับรายการย่อในงบการเงินแบบใหม่

หลายคนคงจะพอทราบกันมาบ้างแล้ว เรื่องที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกประกาศฉบับใหม่ สำหรับรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน ซึ่งมีความสำคัญมากเลยล่ะ โดยเฉพาะกับนักบัญชี เนื่องจากว่ารูปแบบของงบการเงินในปีนี้จะเปลี่ยน เนื่องจากรายการย่อที่อัปเดตดังกล่าวค่ะ

เอ…แล้วเจ้ารายการย่อในงบการเงินนั้นคืออะไร มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ตรงจุดไหนบ้าง วันนี้ CPD Academy จะชวนเพื่อนๆ มาทำความเข้าใจพร้อมกันค่ะ

รายการย่อในงบการเงินคืออะไร?

หากจะให้เล่าก็คงต้องย้อนไปในอดีต ในสมัยที่การจัดทำบัญชีไม่ได้มีข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินเหมือนปัจจุบันค่ะ ทำให้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ทำงานด้วยกันลำบาก จะใช้ข้อมูลจากงบการเงินทีก็เกิดความสับสนว่าจะเปรียบเทียบกันยังไงดีนะ

รายการย่อในงบ จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนได้มีจุดร่วมเดียวกัน ในการจัดทำงบการเงิน และหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร  จะได้นำข้อมูลไปใช้ได้อย่างไม่ยากนัก

รายการย่อในงบการเงิน หมายถึง รายการในงบการเงินแต่ละบรรทัด ซึ่งแต่ละบรรทัดก็จะมีความหมาย ที่ทำให้คนอ่านรู้ได้โดยทั่วกัน เป็นจุดร่วมเดียวกันว่าในแต่ละบรรทัดต้องแสดงข้อมูลอะไรบ้าง

ยกตัวอย่างเช่น ในงบฐานะการเงินของบริษัท ต้องแสดงข้อมูลแต่บรรทัด ตามรูปแบบต่อไปนี้

ตัวอย่างรายการย่อในงบฐานะการเงิน
ตัวอย่างรายการย่อในงบฐานะการเงิน

ทำไมต้องมีการเปลี่ยนแปลง?

สาระสำคัญตามประกาศ คือ ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 (ฉบับเดิม) ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 รวมทั้งหมด 3 ฉบับ และให้บังคับใช้ฉบับใหม่ ปี 2566 แทน

เหตุที่ต้องยกเลิกทั้ง 3 ฉบับ รายการอย่างย่อที่แก้ไขครั้งนี้ เป็นการปรับปรุงให้สอดรับกับ TFRS for NPAEs ฉบับใหม่ จึงทำให้กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 จึงถูกยกเลิกไปด้วยนั่นเอง

นักบัญชีต้องรู้ รายการย่อในงบการเงิน 2566 เริ่มใช้เมื่อไหร่?

สำหรับรายการย่ออัปเดตนี้ ประกาศใช้ ณ วันที่  27 ตุลาคม พ.ศ. 2566  และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  1 มกราคม พ.ศ. 2567 นะคะ นั่นหมายความว่า เราต้องปรับงบปี 2567 นี้ให้เป็นไปตามประกาศฉบับใหม่แล้ว

วิธีเตรียมตัวสำหรับการออกงบปี 2567 ต้องทำยังไงบ้าง?

ปี 2567 งบการเงินของเราต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน เราลองมาดูว่า เราต้องเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร

1) ชื่องบ

สำหรับชื่องบการเงิน สำหรับนักบัญชีแล้วถือว่ามีความสำคัญมากที่สุดเลยล่ะ เพราะว่าชื่องบการเงินคือบรรทัดแรกในหน้ารายงาน ของงบการเงิน ที่ผู้ใช้งบการเงินต้องดู

ดังนั้น ถ้าชื่อผิด ก็อาจจะทำให้ ผู้ใช้งบพลานเข้าใจผิดว่าเราไม่ได้อัปเดตความรู้ (แม้ว่าตอนนี้ทางสภายังอนุโลมให้ใช้ชื่อเดิมได้อยู่ก็ตาม)

โดยชื่องบการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้

ชื่องบการเงินแบบเดิมชื่องบการเงินแบบใหม่ 
งบแสดงฐานะการเงินงบฐานะการเงิน
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของงบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
งบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่ายงบกำไรขาดทุนจำแนกค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติของค่าใช้จ่าย 
ชื่องบการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลง
ชื่องบการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลง

2) รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน

สำหรับบรรทัดเพิ่มเติม หรือรายการย่อยๆ ที่ต้องมีในงบการเงินในแต่ละบรรทัด ตามตารางนี้ เราจะเห็นได้ชัดว่า ส่วนใหญ่แล้วรายการที่เยอะขึ้น และอัปเดตมากยิ่งขึ้น

เหตุผลนั้นเพราะว่า มาตรฐานการบัญชีมีการปรับปรุงใหม่เมื่อปี 2565 รายการย่อในงบก็ควรจะต้องปรับให้เข้ากับมาตรฐานรายงานทางการเงินมากขึ้น จึงมีการเปลี่ยนแปลงรายการย่อเยอะแยะมากมาย โดยสรุปดังนี้

ตามประกาศเดิม ปี 2554ตามประกาศใหม่ ปี 2566หมายเหตุ
งบแสดงฐานะการเงินงบฐานะการเงิน
ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นลูกหนี้การค้าและลูกหนี้หมุนเวียนอื่นปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับ TFRS for NPAEs
มูลค่าของงานส่วนที่เสร็จแต่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงิน – หมุนเวียน ของเดิมไม่มี
สินทรัพย์ภาษีเงินได้ของงวดปัจจุบันของเดิมไม่มี
สินทรัพย์ชีวภาพหมุนเวียน ของเดิมไม่มี
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนถือไว้เพื่อขาย – หมุนเวียนปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับ TFRS for NPAEs
เงินฝากที่มีภาระค้ำประกันปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับ TFRS for NPAEs
ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ไม่หมุนเวียนอื่นปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับ TFRS for NPAEs
มูลค่าของงานส่วนที่เสร็จแต่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงิน – ไม่หมุนเวียนของเดิมไม่มี
ค่าความนิยมของเดิมไม่มี
สินทรัพย์ชีวภาพไม่หมุนเวียนของเดิมไม่มี
เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้หมุนเวียนอื่นปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับ TFRS for NPAEs
เงินรับล่วงหน้าส่วนที่เกินกว่างานส่วนที่เสร็จ – หมุนเวียนของเดิมไม่มี
ส่วนของหนี้สินตามสัญญาเช่าเงินทุนที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปีของเดิมไม่มี
ภาษีเงินได้ค้างจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่ายเพิ่มถ้อยคำเพื่อความชัดเจนขึ้น
ประมาณการหนี้สินหมุนเวียนสำหรับผลประโยชน์พนักงานปรับปรุงเพื่อให้ชัดเจนขึ้นตาม TFRS for NPAEs
หนี้สินตามสัญญาเช่าเงินทุนปรับปรุงเพื่อให้ชัดเจนขึ้นตาม TFRS for NPAEs
เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้ไม่หมุนเวียนอื่นปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับ TFRS for NPAEs
เงินรับล่วงหน้าส่วนที่เกินกว่างานส่วนที่เสร็จ – ไม่หมุนเวียนของเดิมไม่มี
ภาระผูกพันผลประโยชน์
พนักงาน
ประมาณการหนี้สินไม่หมุนเวียนสำหรับผลประโยชน์พนักงานปรับปรุงเพื่อให้ชัดเจนขึ้นตาม TFRS for NPAEs
ส่วนเกิน (ต่ำกว่า) ทุนอื่นกรณีกิจการมีการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน
ส่วนได้เสีย – ทุนอื่นกรณีรับชำระค่าหุ้นล่วงหน้าตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่ไม่ได้จดทะเบียนเพิ่มทุน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ ค่าใช้จ่ายตามธรรมชาติ เปลี่ยนชื่อให้สอดคล้องกับ TAS 1
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของงบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ เปลี่ยนชื่อให้สอดคล้องกับ TAS 1

สำหรับคนที่อยากศึกษาเพิ่มเติม แนะนำดู ความหมายของรายการย่อในงบการเงิน ที่นี่ค่ะ

3) หมายเหตุ

สำหรับหมายเหตุประกอบงบการเงิน หลายคนอาจจะมองข้ามไป แต่จริงๆ แล้วหมายเหตุงบการเงินนั้น ก็ถือเป็นส่วนนึงที่ทำให้งบการเงินสมบูรณ์ค่ะ

ซึ่งส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักๆ จะอยู่ตรงที่ การบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้รายการย่อในงบการเงิน

แบบเดิม

“งบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด และประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายงานย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2554

แบบใหม่

“งบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด และประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายงานย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ.2566

ดังนั้นอย่าลืมเช็คข้อความในหมายเหตุประกอบงบการเงินให้ดีด้วยล่ะ

รายการย่อในงบการเงิน
รายการย่อในงบการเงิน

สำหรับใครที่กำลังจัดทำงบการเงินบริษัทจำกัดอยู่ เราแนะนำอ่านวิธีการแบบละเอียดเพิ่มเติมที่นี่เลยค่ะ: เปิดขั้นตอน จัดทำงบการเงิน 2567 ตามรายการย่อในงบการเงิน บริษัทจำกัด เปรียบเทียบ 2 ปี

งบการเงินปี 2566 ต้องแก้ไขหรือไม่

แล้วก็มาถึงคำถามสำคัญของเรา ที่หลายคนสงสัย จากที่เราได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ เราต้องแก้ไขงบการเงินปี 2566 หรือไม่ เพราะว่าเราทำงบปี 2566 ไปแล้วน่ะ  ต้องกลับไปแก้ไขไหมน้าา

โดยคำตอบนั้น แสนจะง่ายดาย ให้เราย้อนกลับไปดูที่ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการยอดที่ต้องมีในงบการเงิน  พ.ศ. 2566 ข้อ 9 ระบุเอาไว้ว่า

“ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงิน ซึ่งมีรอบปีบัญชีเริ่มต้นใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ 2567 เป็นต้นไป”

ดังนั้นสำหรับงบการเงิน สำหรับงวดปี สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 จึงไม่ต้องแก้ไขแต่อย่างใด และสามารถใช้รายการย่อแบบเดิม ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่องกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554  ได้เหมือนเดิมจ้า

ที่นี้ก็คงจะหายสงสัยกันแล้วใช่ไหม ถ้าให้กลับไปแก้แบบเดิม ก็คงแย่แน่เลยฮ่าๆ

สรุป

หลังจากที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกประกาศฉบับใหม่นี้ นักบัญชีหลายคนก็ต้องหาความรู้เพิ่มเติมกันบ้างล่ะ เพราะว่านักบัญชีจะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้ สาเหตุหลักมาจากมาตรฐานรายงานทางการเงิน TFRS for NPAEs ที่เปลี่ยนแปลงไป เลยทำให้รูปแบบงบการเงินต้องเปลี่ยนตามค่ะ

อยากเข้าใจ TFRS for NPAEs ฉบับใหม่ แนะนำศึกษาต่อที่นี่: TFRS for NPAEs ฉบับล่าสุด มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากเดิมบ้าง มีบทไหน

หรือถ้าอ่านไม่ไหว อยากเรียนรู้ทั้งหมดในเวลาอันสั้น แนะนำลงเรียนคอร์สนี้ได้เลย สรุปประเด็นสำคัญ TFRS for NPAEs (เริ่มใช้ 2566)

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า