ความรู้บัญชี

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีของสัญญาเช่าในด้านผู้เช่าและผู้ให้เช่า

accounting-for-leasing-tfrs13

ในบทความก่อนหน้าเราพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับสัญญาเช่ามีกี่ประเภท จำแนกแต่ละประเภทอย่างไร เชื่อว่าทุกคนน่ากำลังสนใจเกี่ยวกับวิธีการบันทึกบัญชีใช่ไหมคะ ในบทความนี้จะเป็นภาคต่อที่จะพาเพื่อนๆ มาดูตัวอย่างการบันทึกบัญชีของสัญญาเช่าในด้านผู้เช่าและผู้ให้เช่าค่ะ ซึ่งบอกไว้นิดนึงว่าเราเอามาให้ดูครบเลยสำหรับสัญญาเช่าการเงินและสัญญาเช่าดำเนินงานนะคะ

1. สัญญาเช่า คืออะไร

ขอเกริ่นนำสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยได้อ่านในบทความอื่นของเรื่องสัญญาเช่ามาก่อนนะคะ

สัญญาเช่า หมายถึง สัญญาหรือข้อตกลงที่ผู้ให้เช่าสิทธิแก่ผู้เช่าในการใช้สินทรัพย์สำหรับช่วงเวลาที่ตกลงกันเพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทน ซึ่งได้รับชำระในงวดเดียวหรือหลายงวด

TFRS For NPAEs

พูดง่ายๆก็คือ การทำสัญญาเช่าที่ระบุสินทรัพย์ กำหนดช่วงเวลา และค่าตอบแทนอย่างชัดเจน สัญญาจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่านั่นเอง

และสัญญาเช่าทางบัญชี ก็มี 2 ประเภท

1. สัญญาเช่าทางการเงิน หมายถึง สัญญาเช่าที่ทําให้เกิดการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือ

เกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า ไม่ว่าในที่สุดการโอนกรรมสิทธิ์ จะเกิดขึ้นหรือไม่

TFRS For NPAEs

สัญญาเช่าทางการเงิน จะเป็นการเช่าในลักษณะของที่ผู้เช่ามีโอกาสที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ของสินทรัพย์ที่เช่าอยู่ หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ แต่ว่าในสัญญาบ่งบอกถึงโอกาสที่ผู้เช่าจะได้รับสูง ทั้งนี้ สัญญาเช่าทางการเงิน จะเป็นในลักษณะของสัญญาเช่าที่บอกเลิกไม่ได้ หรือ สัญญาเช่าทางการเงินจะเข้าลักษณะเงื่อนไขดังนี้

  • โอนกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ ณ วันสิ้นสุดสัญญาเช่า
  • สิทธิเลือกซื้สินทรัพย์ในราคาถูก
  • อายุสัญญาเช่า ครอบคลุมอายุส่วนใหญ่ของสินทรัพย์
  • มูลค่าปัจจุบันของค่าเช่าขั้นต่ำ ครอบคลุมมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์

2. สัญญาเช่าดำเนินงาน หมายถึง สัญญาเช่าที่มิใช่สัญญาเช่าการเงิน

TFRS For NPAEs
สัญญาเช่า ทางบัญชี
สัญญาเช่า ทางบัญชี

ถ้าพอจะเข้าใจหลักการจำแนกสัญญาเช่าแล้ว เดี๋ยวเราไปดูต่อเรื่องการบันทึกบัญชีที่นักบัญชีต้องท่องจำให้ขึ้นใจเลยค่ะ

2. ตัวอย่างการบันทึกบัญชีด้านผู้เช่า

2.1  การบันทึกบัญชีสัญญาเช่าทางการเงิน – ด้านผู้เช่า

ณ วันที่ทำสัญญาเช่า ในด้านของผู้เช่า เสมือนว่า การทำสัญญานี้เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อที่ได้สินทรัพย์เพิ่มขึ้นมา จึงทำให้บัญชีสินทรัพย์และหนี้สินถูกบันทึกขึ้นมาพร้อมๆ กันนั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น นายเอ ทำสัญญาลิสซิ่งรถยนต์ กับธนาคารแห่งหนึ่ง มีข้อมูลในสัญญาดังนี้

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีสัญญาเช่า
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีสัญญาเช่า
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีสัญญาเช่า
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีสัญญาเช่า

บันทึกบัญชีการรับรู้แรกเริ่ม บันทึกสินทรัพย์ด้วยราคา PVค่าเช่าขั้นต่ำ,มูลค่ายุติธรรม

Dr. สินทรัพย์ตามสัญญาเช่า        2,490,000.00
Dr. ดอกเบี้ยรอตัดจ่าย        423,723
Cr. หนี้สินตามสัญญาเช่า (หนี้สิน+ภาษีซื้อ)         2,160,000.00
Cr. เงินสด (เงินประกันสัญญา)         753,723

บันทึกบัญชีการรับรู้ภายหลัง การจ่ายค่าเช่าทุกครั้งเป็นการลดหนี้สิน

Dr. หนี้สินตามสัญญาเช่า36,000
Cr.เงินสด 36,000

บันทึกบัญชีการรับรู้ภายหลัง

หนี้สินที่ลดลงเป็นเงินต้นส่วนหนึ่งและดอกเบี้ยจ่ายส่วนหนึ่ง คำนวณด้วยวิธี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR)

Dr. ดอกเบี้ยจ่าย9,824
Cr.ดอกเบี้ยรอตัดจ่าย 9,824

บันทึกบัญชีการรับรู้ภายหลัง

ผู้เช่าจะต้องคิดค่าเสื่อมราคาเหมือนเป็นสินทรัพย์ของตนเอง
ยกตัวอย่างวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง
ราคาทุนของสินทรัพย์ 2,490,000
อายุการใช้งาน 5 ปี
2,490,000 / 60 = 41,500 บาท (ค่าเสื่อมราคาที่บันทึกต่อเดือน)

Dr. ค่าเสื่อมราคา41,500
Cr. ค่าเสื่อมราคาสะสม 41,500

2.2  สัญญาเช่าดำเนินงาน – ด้านผู้เช่า

การบันทึกบัญชีสัญญาเช่าดำเนินงาน เมื่อเทียบกับการบันทึกบัญชีสัญญาเช่าทางการเงิน สัญญาเช่าดำเนินงานมีความง่ายกว่ามากๆเลยค่ะ แล้วคิดไม่ซับซ้อน เป็นยังไงมาดูกันค่ะ
เมื่อเกิดค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนตามวิธีเส้นตรงหรือวิธีอื่นที่สะท้อนให้เห็นประโยชน์ที่ผู้เช่าได้รับในช่วงเวลาที่ตกลงกัน

บริษัท A ทำสัญญาเช่ารถผู้บริหาร กับบริษัท C จ่ายค่าเช่าเดือนละ 15,000 บาท สัญญา 3 ปี มูลค่าทั้งสัญญาเท่ากับ 540,000 บาท เมื่อสิ้นสุดสัญญาแล้ว รถยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าเท่านั้น

วิธีการบันทึกบัญชีจะใช้เกณฑ์คงค้างในการบันทึกบัญชี

Dr. ค่าเช่ารถยนต์15,000
Cr. เจ้าหนี้อื่น / ค่าเช่าค้างจ่าย 15,000
Dr. เจ้าหนี้อื่น / ค่าเช่าค้างจ่าย15,000
Cr. เงินสด   15,000

บันทึกแบบนี้ตามงวดของการจ่ายชำระทุกงวดเลยค่ะ

3. ตัวอย่างการบันทึกบัญชีด้านผู้ให้เช่า

3.1 สัญญาเช่าทางการเงิน – ด้านผู้ให้เช่า

ณ วันที่ทำสัญญา  ต้องตั้งผู้เช่าเป็นลูกหนี้ตามเงินลงทุนสุทธิตามสัญญาเช่าและทยอยตัดหนี้เมื่อได้รับเงิน ตลอดอายุสัญญาเช่า

โดยจำนวนเงินลงทุนสุทธิตามสัญญาเช่า ประกอบด้วย

  • จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย
  • ค่าเช่าที่ยกเลิกไม่ได้
  • มูลค่าคงเหลือที่ได้รับประกัน
  • สิทธิที่จะเลือกซื้อสินทรัพย์หากแน่นอนว่าผู้เช่าจะใช้สิทธินั้น
  • สัญญาเช่าภายใต้เงื่อนไขการต่ออายุสัญญาเช่ามูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับประกัน

การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกสำหรับผู้ให้เช่า
ณ วันที่สัญญาเช่าเริ่มมีผลให้ผู้เช่าต้อง ตัดรายการสินทรัพย์ที่เช่าออกจากงบแสดงฐานะการเงิน และรับรู้ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน ด้วยอัตราคิดลดในการคำนวณมูลค่าปัจจุบันคืออัตราดอกเบี้ยตามนัยของสัญญาเช่า โดยจำนวนที่รับรู้ คือ จำนวนที่เท่ากับเงินลงทุนสุทธิในสัญญาเช่า

การรับรู้ภายหลัง เงินค่าเช่ารับรู้เป็นรายได้ตามงวดโดยแยกเป็น

  • ดอกเบี้ยรับ โดยใช้วิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
  • ส่วนที่เหลือ ให้นำไปลดยอดลูกหนี้(ที่เหลือ)

ค่าใช้จ่ายเริ่มแรก เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าทนายความ เป็นต้น ให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายทันทีในงบกำไรขาดทุน

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีสัญญาเช่าทางการเงิน

ณ วันที่ทำสัญญาเช่า

Dr. ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินxx
Cr. สินทรัพย์ให้เช่า xx
Cr. ดอกเบี้ยรับยังไม่ถือเป็นรายได้ xx

การบันทึกบัญชี วันที่รับเงินงวด

Dr. เงินสดxx
Cr. ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน xx
Dr. ดอกเบี้ยรับยังไม่ถือเป็นรายได้xx
Cr. ดอกเบี้ยรับ xx

3.2 สัญญาเช่าดำเนินงาน – ด้านผู้ให้เช่า

สัญญาเช่าดำเนินงานก็จะระบุตามสัญญาเช่าอย่างชัดเจน ตามรอบระยะเวลา ตามจำนวนเงิน ที่ตกลงกันตามสัญญา

Dr. เงินสดxx
Cr. รายได้ xx

ทั้งหมดนี้ คือ ตัวอย่างการบันทึกบัญชีสัญญาเช่า ทั้งสัญญาเช่าทางการเงิน และสัญญาเช่าดำเนินงาน
บันทึกบัญชีการรับรู้แรกเริ่ม และบันทึกบัญชีการรับรู้ภายหลัง ทั้งด้านผู้เช่าและผู้ให้เช่า กิจการของเราก็อาจจะเป็นได้ทั้งสองฝั่งเลยค่ะ เช่น กิจการของเราก็อาจจะไปซื้อรถยนต์แบบกู้เงินและจัดสินเชื่อแบบเงินผ่อน ลักษณะนี้ก็จะเป็นสัญญาเช่าทางการเงิน หรือกิจการมีที่ดินเปล่าจะปล่อยเช่า แบบนี้กิจการก็เป็นด้านผู้ให้เช่าได้ค่ะ แต่ก่อนที่เราจะบันทึกบัญชีได้ถูกต้อง เพื่อนๆนักบัญชีทุกท่านต้องจำแนกประเภทของสัญญาเช่า ให้ถูกต้องก่อนนะคะ และตอนคำนวณภาษีมีข้อแตกต่างทางบัญชีและภาษีของสัญญาเช่า ในด้านใดบ้างก็ลองศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับงบการเงินปีนี้ไว้ด้วยนะคะ

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

Line: @cpdacademy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า