ความรู้บัญชี

รูปแบบงบกำไรขาดทุนมีอะไรบ้าง ก่อนยื่นงบต้องรู้เรื่องนี้

รูปแบบงบกำไรขาดทุนมีอะไรบ้าง ก่อนยื่นงบต้องรู้เรื่องนี้

กำลังจะยื่นงบการเงิน DBD E-Filing มีรูปแบบงบกำไรขาดทุนมาให้เลือกหลายแบบเลย กิจการของเราต้องเลือกแบบไหนกันนะ บทความนี้จะมาช่วยเพื่อนๆไขความสงสัย และเลือกประเภทงบกำไรขาดทุนให้ถูกต้องก่อนยื่นงบการเงิน DBD E-Filing

ขอเกริ่นเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน DBD E-Filing ให้เพื่อนๆนักบัญชีที่ยังไม่เคยยื่นเลย มารู้ขั้นตอนคร่าวๆกันก่อนนะคะ มี 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้ค่ะ

1. ตอนยื่นงบเลือกรูปแบบงบกำไรขาดทุนยังไง

1.1 ขั้นตอนการจัดเตรียมข้อมูล

เป็นการเตรียมข้อมูลงบการเงิน Download ไฟล์ Excel XBRL เพื่อกรอกข้อมูลในงบการเงิน เราก็ต้องทราบข้อมูลที่ถูกต้องของกิจการเรา อยู่ 2 เรื่องนะคะ เรื่องแรกกิจการเราใช้มาตรฐานแบบไหน เรื่องที่สองกิจการเราแสดงข้อมูลงบกำไรขาดทุนประเภทใด เพื่อที่เราจะได้เลือกไฟล์ที่ถูกต้องมากรอก ถ้าเราเลือกผิดนี่แย่เลยนะคะ ก็ต้องมานั่งทำใหม่หลายรอบเลยค่ะ ซึ่งหัวข้อของบทความของเรา ก็จะอยู่ในส่วนนี้ที่จะพาเพื่อนๆเริ่มต้นการเลือกประเภทงบกำไรขาดทุนให้ถูกต้องค่ะ

1.2 การนำส่งข้อมูล

หลังจากที่เราทำการเตรียมข้อมูลในไฟล์ที่ได้ Download มา แล้วกรอกข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถัดไปก็นำส่งจริงจะเป็นการอัพโหลดไฟล์ที่เราได้จัดเตรียม อัพโหลดเข้าไปในระบบค่ะ

1.3 ตรวจสอบผล

เมื่ออัพโหลดผ่านเรียบร้อยแล้ว เราก็อาจจะไม่แน่ใจว่าผ่านหรือยัง และต้องการเก็บหลักฐานการนำส่งงบการเงินไว้ ให้คลิกไปที่ ตรวจสอบประวัติและพิมพ์แบบ สบช.3 หน้าจอก็จะแสดงมานะคะว่า เราได้ยื่นไปแล้ว วันที่ทำการวันที่เท่าไหร่ อยู่สถานะใดแล้ว

สามขั้นตอนนี้เป็นแค่ภาพรวมนะคะ ยังมีขั้นตอนละเอียดยิบย่อยมากกว่านี้ในการยื่นจริง เพื่อนๆสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลยค่ะ

2. รูปแบบงบกำไรขาดทุน มีอะไรบ้าง

ในขั้นตอนการจัดเตรียมข้อมูลจะต้องเลือกแบบฟอร์มงบกำไรขาดทุนแบบไหน ประเภทงบกำไรขาดทุนมีแบบไหนบ้าง ไปดูกันค่ะ

1 - CPD Academy

ในตัวเลือกของบริษัทจำกัด จะมีอยู่ 3 ประเภท

2 - CPD Academy

220000 : งบกําไรขาดทุน แบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย / งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ แบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามลักษณะของค่าใช้จ่าย แสดงแบบงบเดียว”

รูปแบบนี้มีการใช้ร่วมกับงบที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์นะคะ จึงมี “ / งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ “ มาด้วย

เรามาขยายความคำว่า จำแนกตามลักษณะค่าใช้จ่ายกันค่ะ หมายถึง การนําเสนอบัญชีค่าใช้จ่ายตามลักษณะค่าใช้จ่าย เช่น การเปลี่ยนแปลงในงานสําเร็จรูป งานระหว่างทําและถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน วัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย เงินเดือนและค่าแรง เป็นต้น

3 - CPD Academy

240000 : งบกําไรขาดทุน แบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบขั้นเดียว / งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบขั้นเดียว แสดงแบบงบเดียว”

จําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบขั้นเดียว นําเสนอบัญชีค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ ตัวอย่างเช่น ต้นทุนขาย ต้นทุนการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

จะเห็นว่าความแตกต่างจากงบกำไรขาดทุนจำแนกตามลักษณะ คือไม่มีบัญชีที่เป็นการแสดงการเปลี่ยนแปลงของสินค้า ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน งบกำไรขาดทุนแบบจำแนกตามหน้าที่ จะแสดงที่บัญชีต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย และค่าใช้จ่ายในการบริหารไปเลยค่ะ

4 - CPD Academy

260000 : งบกําไรขาดทุน แบบจําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบหลายขั้น / งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแบบค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบหลายขั้น แสดงแบบงบเดียว

จําแนกค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ – แบบหลายขั้น นําเสนอบัญชีค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ ตัวอย่างเช่น ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร แต่เป็นการนําเสนอรายได้ สลับกับการหักค่าใช้จ่าย ไม่ได้แยกตามประเภทหรือหมวดหมู่ของชื่อบัญชี โดยที่เราจะรู้กำไร(ขาดทุน)ขั้นต้น ที่แตกต่างจากงบกำไรขาดทุนอื่นๆนั่นเอง

ถ้าหากเพื่อนๆ เจอว่างบกำไรขาดทุนใด มีคำว่า “กำไร(ขาดทุน)ขั้นต้น” ที่หน้างบ ก็ตอบได้ทันทีเลยค่ะ ว่าเป็นงบกำไรขาดทุน จำแนกตามหน้าที่ – แบบหลายขั้น

3. ตอนยื่นงบการเงินต้องเลือกรูปแบบยังไงบ้าง

การยื่นงบการเงินเรายื่นในรูปแบบของ DBD E-Filing กันเป็นส่วนใหญ่ เพราะว่าสะดวกสบายไม่ต้องเดินทาง
แต่ก็ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีกานกันนิดหน่อยนะคะ

เริ่มต้นโดยการเข้าสู่ระบบด้วย Username และ Password ก่อนเลยค่ะ
จากนั้นให้คลิกที่ หมายเลข 1 ตามภาพ

ถัดมา เราจะทำการเอาไฟล์ออกมากรอกข้อมูลแล้วทำการอัปโหลดใหม่ เราก็เลือก เตรียมข้อมูลแบบ Offine แล้วก็กด Download ไฟล์ Execel งบการเงิน V.2.0 ตามหมายเลข 2 เลยค่ะ

เตรียมไฟล์ยื่นงบการเงิน (1)
เตรียมไฟล์ยื่นงบการเงิน (1)

หน้าจอจะแสดงผลเป็นหน้านี้ ต่อไปกดดาวน์โหลดไฟล์ที่หมายเลข 3 เลยค่ะ

เตรียมไฟล์ยื่นงบการเงิน (2)
เตรียมไฟล์ยื่นงบการเงิน (2)

เลือกปีที่เราต้องการยื่นงบการเงิน
และในช่องกรอบสี่เหลี่ยมนี่แหละค่ะ ที่เราต้องทราบถึง Taxonomy ว่างบการเงินของเราต้องเลือกรูปแบบไหน
หากเพื่อนๆต้องการทราบ Taxonomy เรามีลิงค์บทความแนบให้อยู่ช่วงท้ายของบทความนี้นะคะ

เตรียมไฟล์ยื่นงบการเงิน (3)
เตรียมไฟล์ยื่นงบการเงิน (3)

และสุดท้ายที่เกี่ยวกับบทความนี้ เราต้องเลือกรูปแบบของงบกำไรขาดทุน ว่าเราจะแสดงรูปแบบใดค่ะ ตามกรอบสี่เหลี่ยม
หลังจากนั้น กดดาวน์โหลดได้เลย

เตรียมไฟล์ยื่นงบการเงิน (4)
เตรียมไฟล์ยื่นงบการเงิน (4)

เพื่อนๆพอจะมองความแตกต่างของแต่ละประเภทออกแล้วใช่ไหมคะ ทีนี้ก็กลับไปดูรูปแบบงบการเงินของกิจการตนเอง เพื่อที่จะเลือกประเภทของงบการเงิน จัดเตรียมข้อมูลยื่นงบการเงิน DBD E-Filing อย่างถูกต้องกันเลยค่ะ

นอกจากที่จะทำการเลือกรูปแบบงบการเงินแล้ว แนะนำให้ทุกท่านทำความเข้าใจเพิ่มเติมเรื่อง รหัสรายการทางบัญชี Taxonomy เพราะ ผลต่อรูปแบบงบการเงินที่ท่านกำลังจะกรอกข้อมูลลงไป จะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มาดูกันที่ลิงค์นี้ได้เลย
รหัสรายการทางบัญชี (Taxonomy) คืออะไร ทำไมต้องรู้ก่อนยื่นงบการเงิน

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th

อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า